มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันเด็กและเยาวชนสูบบุหรี่

ผู้แต่ง

  • นำ กรุยรุ่งโรจน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • วัชรินทร์ เหรียญหล่อ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

มาตรการทางกฎหมาย, ป้องกันเด็กและ เยาวชน, สูบบุหรี่

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา เด็กและเยาวชนสูบบุหรี่จำนวนมากขึ้น ทำให้เกิดความ เสียหายในด้านการศึกษาเล่าเรียน ก่อปัญหายาเสพติด ขึ้นได้ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการ รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร กฎหมาย พระราชบัญญัติ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งที่เกี่ยวข้องกับเด็กและ เยาวชนสูบบุหรี่ทั้งของไทยและต่างประเทศ รวมทั้ง การออกแบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อนำข้อมูล มาวิเคราะห์หาข้อสรุปผลการวิจัย
            จากการศึกษาพบว่า กฎหมายที่ใช้เป็น มาตรการในการกำกับควบคุมเด็กและเยาวชนที่ สูบบุหรี่ในปัจจุบันแต่ละฉบับยังไม่มีประสิทธิภาพ เพียงพอ สังเกตได้จากจำนวนเด็กและเยาวชนที่อยู่ในวัย ศึกษาเล่าเรียนมีการสูบบุหรี่กันมากขึ้น ทำให้เกิดความ เสียหายทางเศรษฐกิจแก่ครอบครัวและประเทศชาติ ในอนาคต จึงจำเป็นต้องสร้างมาตรการทางกฎหมาย ขึ้นมากำกับควบคุมมิให้เด็กและเยาวชนสูบบุหรี่
            ข้อเสนอแนะ ให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราช บัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 โดยเพิ่มเติม ”มาตรา 4 / 1 ห้ามมิให้ผู้ซึ่งอายุไม่เกินยี่สิบปีบริบูรณ์ สูบบุหรี่„ และแก้ไขเพิ่มเติมบทกำหนดโทษในมาตรา 17 จากเดิม ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 4 หรือมาตรา 5 ต้องระวัง โทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แก้ไขเป็น ”ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 4 มาตรา 4 / 1 หรือมาตรา 5 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" และ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ในหมวดบทกำหนดโทษ จากเดิม มาตรา 78 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 26 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือ ปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แก้ไขเพิ่มเติม เป็น ”มาตรา 78 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 26 ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ"

References

ชูชัย ศุภวงศ์ และสุภกร บัวสาย. (2539). พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นไทย : การสำรวจแห่งชาติ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: http://www.ashthailand.or.th (4 กรกฎาคม 2557)

ศรณญา เบญจกุล. (2553). พฤติกรรมสูบบุหรี่ของเยาวชนไทย แนวโน้มเพิ่มขึ้น. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: http//www.tnamcot.com/content (5 สิงหาคม 2557)

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2555). พฤติกรรมการสูบบุหรี่ และการดื่มสุราของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป. สำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2549 - 2554.

ยุวลักษณ ขันอาสา. (2541). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่ของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และประกาศนียบัตรวิชาชีพ เขตกรุงเทพฯ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.

เยาวเรศ วิสูตรโยธิน. (2548). พฤติกรรมการบริโภคยาสูบของเยาวชนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดพิษณุโลก. รายงานการวิจัย สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี.

วราภรณ์ ภูมิสวัสดิ์. (2533). “ชีวิตจะสั้นเพราะควันบุหรี่ “ วารสารใกล้หมอ. ฉบับที่ 14 (พฤษภาคม 2539): 36-38.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-12