การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบชุมชนบ้านร่องหมากน้อย ตำบลกลันทา อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • ศรีนวล แตงภู่ สาขาวิชาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • เชาวฤทธิ์ โสภักดี สาขาวิชาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • ขวัญนภา วงศ์ไพศาลสิริกุล สาขาวิชาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การพัฒนา, หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความรู้ ความเข้าใจหลักเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านร่อง- หมากน้อย ตำบลกลันทา อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 2) การมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านร่องหมากน้อย ตำบล กลันทา อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ และ 3) ความสัมพันธ์ ระหว่างความรู้ความเข้าใจหลักเศรษฐกิจพอเพียงกับ การมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านร่องหมากน้อย ตำบล กลันทา อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ประชากรที่ใช้ใน การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ หัวหน้าครอบครัวที่อาศัย ในชุมชนบ้านร่องหมากน้อย ตำบลกลันทา อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 61 ครัวเรือน เป็นการวิจัยเชิง ปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการ วิจัยครั้งนี้ ได้แก่สถิติเชิงพรรณนา เพื่ออธิบายลักษณะ ข้อมูลด้านต่าง ๆ ด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล ของตัวแปรที่ศึกษา และใช้สถิติเชิงอนุมานอธิบาย เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการมีส่วนร่วม ของชุมชนบ้านร่องหมากน้อย ตำบลกลันทา อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง โดยภาพภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนของชุมชนบ้านร่องหมากน้อย ตำบลกลันทา อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับ ค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่าด้านการมีส่วนร่วม ในการรับผลประโยชน์และด้านการมีส่วนร่วมในการ ประเมินผล มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน รองลงมาด้านการมีส่วนร่วม ในการดำเนินงานและด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจหลักเศรษฐกิจ พอเพียงกับการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านร่องหมากน้อย ตำบลกลันทา อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีความสัมพันธ์ เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งเป็นไป ตามสมมติฐาน

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2557). แกนนำกับการขยายผลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบโดยทุนชุมชน. ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ชั้นที่ 5 อาคารรัฐประศาสนภักดี ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร.

จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2548). นานาคำถามเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

ประคอง กรรณสูต. (2542). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระมหาประกาศิต สิริเมโธ (ฐิติปสิทธิกร). (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านคลองใหม่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภัทวุธ ศรีหมอกเมฆ. (2551). การมีส่วนร่วมในการบริหารการปกครองท้องถิ่นของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคา ตำบลทุ่งคา อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

รัฐพงศ์ บุญญานุวัตร. (2552). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของประชาชนเขตดุสิตกรุงเทพมหานคร. รายงานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

วิษณุ หยกจินดา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน หมู่บ้านทุ่งกร่าง ตำบลทับไทร อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี. งานนิพนธ์ตามหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศีลวัต ศรีสวัสดิ์. (2552). ความรู้ความเข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้ที่มีภูมิลำเนาในเขตกรุงเทพมหานคร.วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม) คณะพัฒนาสังคม และสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สมคิด ศรีสิงห์. (2558). ปัจจัยที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนากิจกรรมของประชาชนในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

สิริอร นิยมเดช. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการดำเนินกิจกรรมตามโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบปี 2555 บ้านหนองอ้อ หมู่ 3 ตำบลมะขาม อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี. สาขาวิชาการจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักการพิมพ์ สำนักงานราชเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

Cohen John M. & Uphof, Norman T. (1980). Participation’s Place in Rural Development, Seeking Clarity Through Specificity. World Development, Vol. 213.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-12