การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วย Mind Map
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพการทำงาน, แผนที่ความคิดบทคัดย่อ
แผนที่ความคิด (Mind Map) เป็นแผนผัง ใช้เพื่อแสดงคำหรือแนวความคิดของมนุษย์ที่เชื่อมโยง ความคิดต่าง ๆ จากจุดศูนย์กลางเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ระหว่างความคิดหลัก ความคิดรอง และความคิดย่อย ที่สัมพันธ์กัน การเขียนแผนที่ความคิดสามารถทำได้ 3 รูปแบบ คือ 1) การเขียนแผนที่ความคิดลงในกระดาษ ด้วยมือ 2) การเขียนแผนที่ความคิดด้วยซอฟต์แวร์ สำเร็จรูป และ 3) การเขียนแผนที่ความคิดโดยใช้บริการ ผ่านเครือข่ายแบบกลุ่มเมฆ การพัฒนาประสิทธิภาพ การทำงาน คือ การปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม ความสามารถ และทักษะในการทำงานให้ดีขึ้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ขององค์กร ประสิทธิภาพเป็นการใช้ปัจจัยและกระบวนการ ในการดำเนินงาน โดยแบ่งประเภทของประสิทธิภาพ การทำงานได้ 2 ระดับคือ 1) ประสิทธิภาพของบุคคล และ 2) ประสิทธิภาพขององค์กร ทั้งนี้ค่าของประสิทธิภาพ การทำงานสามารถแสดงในรูปแบบเชิงตัวเลข หรือรูปแบบ การบันทึกถึงลักษณะการใช้เงิน วัสดุ คน และเวลาในการ ปฏิบัติงานอย่างคุ้มค่า ประหยัด ไม่มีการสูญเปล่า เกินความจำเป็น รวมถึงมีการใช้กลยุทธ์หรือเทคนิควิธี การปฏิบัติที่เหมาะสม แผนที่ความคิดถือเป็นเครื่องมือหนึ่ง ที่ช่วยในการจัดระเบียบความคิด ช่วยให้การทำงาน ในด้านต่าง ๆ เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ อีกทั้งเป็น การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบุคคลและ ประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร
References
ธัญญา ผลอนันต์. (2559). Mind Map เครื่องมือช่วยให้คุณเห็นความคิด. ค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2559, จาก http://www.mindmap.in.th/course/course_mm.html.
ธัญญา ผลอนันต์ และขวัญฤดี ผลอนันต์. (2543). แบบฝึกหัดพิชิต มายด์แม็ป สำหรับผู้บริหาร หัวหน้างานและพนักงาน. กรุงเทพฯ: ขวัญข้าว.
ปัทมาพร ท่อชู. (2559). การพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน. ค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2559, จาก http://www.thailandindustry.com/indust_newweb/onlinemag_preview.php?cid=771.
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2544). เรียนรู้สู่ครูมืออาชีพ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: กมลสมัย.
อาณัติ รัตนถิรกุล. (2559). รู้จักแผนที่ความคิด. ค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2559, จาก http://www.arnut.com/mindmap.
อาณัติ รัตนถิรกุล. (2553). สร้าง Mind Map อย่างชาญฉลาดด้วย MindManager. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
อาณัติ รัตนถิรกุล. (2550). สร้าง Mind Map ด้วย MindManager (ภาคปฏิบัติ). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความวิชาการและบทความวิจัยในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศาส์น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์