ถอดประสบการณ์ของผู้บริหารในการนิเทศการศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • กิตติศักดิ์ อังคะนาวิน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • เจตนิภัทร ชูช่วย นักวิชาการอิสระ
  • วิชิต ชัยเดชะ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค

คำสำคัญ:

ถอดประสบการณ์, การนิเทศการศึกษา

บทคัดย่อ

การนิเทศการสอนผู้นิเทศควรเอาใจใส่ ในการ สำรวจตรวจสอบเพื่อดูแลแนะนำการจัดการเรียน การสอนของบุคลากรในสถานศึกษา ให้มีความสามารถ ในการทำงานอย่างดีมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีความสำคัญ และจำเป็นมาก จึงไม่ควรมองข้ามการนิเทศ เพราะการ นิเทศที่ดีจะทำให้บุคลากรในสถานศึกษาพัฒนาไปใน ทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสมตามความมุ่งหมายที่แท้จริง ของการนิเทศ เพื่อให้บุคลากรมีประสิทธิภาพในการ ทำงาน การนิเทศจึงมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมให้เกิด การพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เพราะการนิเทศเป็นความพยายามที่จะปรับปรุง ส่งเสริม คุณภาพการเรียนการสอนในสถานศึกษาให้ดีขึ้น และ บรรลุตามเกณฑ์ของมาตรฐานการประกันคุณภาพการ ศึกษา โดยลักษณะพื้นฐานของผู้นิเทศ ควรมีอย่างน้อย 3 ประการ ได้แก่ พื้นฐานความรู้ ทักษะปฏิสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลและทักษะเฉพาะ
           กระบวนการในการนิเทศ เป็นแบบแผนของ การนิเทศการศึกษาที่จัดลำดับไว้อย่างต่อเนื่อง เป็น ระเบียบแบบแผนแผน มีลำดับขั้นตอนในการดำเนินงาน ไว้ชัดเจน มีเหตุผลและสามารถดำเนินการได้ กระบวนการนิเทศที่สำคัญ เรียกว่า ”PIDER" ซึ่งเป็น กระบวนการนิเทศที่สอดคล้องกับสภาพสังคมไทย 5 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน (P-Planning) การให้ ความรู้ก่อนดำเนินการนิเทศ (Informing-I) ดำเนินการ นิเทศ (Doing-D) การสร้างเสริมขวัญกำลังใจแก่ ผู้ปฏิบัติงานนิเทศ (Reinforcing-R) และการประเมินผล การนิเทศ (Evaluating-E)
            บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการนิเทศ การศึกษาเป็นการช่วยเหลือทางด้านวิชาการและ ด้านบริการ เช่น การเยี่ยมชั้นเรียน การสาธิต การ ปฐมนิเทศครูใหม่ การนิเทศด้วยการให้คำปรึกษา ไม่ว่าจะเป็นรายบุคคลหรือกลุ่ม การช่วยเหลือทางด้าน ปัญหาส่วนตัว การสร้างขวัญของคณะครูและการ ประเมินผลการปฏิบัติงานในสถานศึกษา สถานศึกษา จัดการอบรม หรือให้การนิเทศด้วยการสอนแก่ครู อย่างสม่ำเสมอแนะนำให้ครูรู้จักดัดแปลงเนื้อหาวิชา ที่สอนให้เหมาะสมแก่สภาพท้องถิ่น ช่วยให้ครูมีความ เชื่อมั่นในความสามารถของตนที่จะแก้ปัญหา และ อุปสรรคในการเรียนการสอน เสนอแนะวิธีสอนที่ เหมาะสมกับเนื้อหาวิชา ส่งครูไปสังเกตการสอนใน สถานศึกษาอื่น ๆ จัดหาหนังสือทางวิชาการ คู่มือครู วารสาร และบริการอื่น ๆ เพื่อช่วยเหลือครูก้าวหน้าทาง วิชาการ และวิชาชีพ รวมไปถึงการจัดให้มีการประกวด การเรียนการสอนระหว่างสถานศึกษาภายในกลุ่ม อีกด้วย บทบาทของผู้บริหารในการนิเทศ ไม่ได้อยู่ที่การ เป็นผู้นิเทศเอง แต่อยู่ที่การสร้างระบบและสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งเสริมการทำงาน ที่สนับสนุนหรือช่วยเหลือให้ ผู้ปฏิบัติสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของตน เพื่อให้ได้ผลงานที่มีมาตรฐานและมีระดับ คุณภาพสูงยิ่งขึ้น ดังนั้น งานนิเทศ จึงต้องเป็น งาน ช่วยเหลือ งานสนับสนุน งานดำเนินการหรือจัดสภาพ ที่ช่วยให้ผู้ปฏิบัติสามารถปฏิบัติงานในความรับผิดชอบ หรืองานที่ได้รับมอบหมาย ให้ประสบผลดีที่สุด หน้าที่ ที่จะต้องกระทำเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษาของผู้บริหาร สถานศึกษา ทำหน้าที่ตรวจสอบความเป็นไปเกี่ยวกับ การเรียนการสอน เช่น ความเข้าใจในการใช้หลักสูตร ความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับเนื้อหาของหลักสูตร การใช้กลวิธีการสอนต่าง ๆ ของครู ตลอดจนการใช้สื่อ การสอน ลักษณะของนักเรียนในแต่ละห้อง ทำหน้าที่ ประเมินผลการเรียนการสอนและทำหน้าที่ช่วยส่งเสริม และปรับปรุงการเรียนการสอน เช่น ความเข้าใจของครู เกี่ยวกับหลักการ จุดหมาย และโครงสร้างของหลักสูตร แนะแนวการทำโครงการสอนทั้งระยะสั้นและระยะยาว จัดหาเครื่องมือประกอบการสอน เป็นต้น
             เทคนิคการนิเทศ เป็นวิธีการนำกิจกรรมต่าง ๆ ทางการนิเทศไปใช้ในการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสมกับ บุคคล สถานที่ เวลาหรือสถานการณ์นั้น ๆ ซึ่งมีเทคนิค ที่ใช้ได้ผลอยู่ 2 วิธี คือ
            1. เทคนิคการสอนแนะ เป็นเทคนิคที่ใช้ใน การพัฒนาบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 
            2. เทคนิคการนิเทศโดยใช้กระบวนการวิจัย เป็นกระบวนการแสวงหาความรู้อย่างเป็นระบบที่เชื่อถือ ได้ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

References

ชโลมใจ ภิงคารวัฒน์. (2539). บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้นิเทศ. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.

นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์. (2534). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

พนัส หันนาคินทร์. (2542). การนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ: พรานนกการพิมพ์.

ภัทรานิษฐ์ สุทธิแสงจัน. (2554). เทคนิคการนิเทศ. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร.

ระย้า คงขาว, มนสิช สิทธิสมบูรณ์ และเอื้อมพร หลินเจริญ. (2559). การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(1), 74-82.

สงัด อุทรานันท์. (2529). กระบวนการในการนิเทศ : หลักการทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุจริต เพียรชอบ. (2529). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัญชลี ธรรมะวิธีกุล. (2552). ความหมายของการนิเทศการศึกษา. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: http://panchalee.wordpress.com/2009/03/30/supervision. 9 เมษายน 2552.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2542). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

อำนวยพร วงษ์ถนอม. (2521). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการนิเทศการศึกษา. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Anchalee Tharmawitigul. (2009). Definition of Educational Supervision. (Online) Source:http://panchalee.wordpress.com/2009/03/30/supervision April 9, 2009

Boonjitradu, N. (1991). The role of school administrators in educational supervision. Bangkok: Print bop. Pakorn Si Don Pai.

Boonprasert, U. (1999). The role of school administrators in educational Supervision. Bangkok:Teacher’s council publishing: Ladprao. (in Thai)

Hunnakin, P. (1999). The duty to act on the supervision of education. Bangkok: Pranok Publishing. (in Thai)

Kongkhao, R.Sitthisomboon, M., & Lincharoen, E. (2016). The development of supervision model to enhance the research competency for learning development of teachers in basic education. Journal of Education Naresuan University, 18(1), 74-82. (in Thai)

Pingcanwut, C. (1996). Role and responsibilities of the supervisor. Bangkok: Prosperity Print. (in Thai)

Pionchop, S. (1986). The role of school administrators in supervising education Was investigated. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)

Sutangsan-Chan, P. (2011). Supervision techniques. Faculty of Management Studies Management: Silpakorn University.

Utranan, S. (1986). The process of supervision. Bangkok: Chulalongkorn University.

Wiles. (1979). The role of school administrators as supervisors. (Online) https://panchalee.wordpress. com/2009/03/30/admin-role.

Wongthanom, A. (1999). The role of school administrators in supervising Education was investigated. Thesis Master of Education: College Chulalongkorn University (copy). (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-12