การพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนบนวิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองประเทศไทยระหว่างปี พ. ศ. 2549-2557

ผู้แต่ง

  • อำนวย สุขขี มหาวิทยาลัยปทุมธา

คำสำคัญ:

การพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชน

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง” การพัฒนาการมีส่วนร่วม ของประชาชนบนวิกฤติความขัดแย้งทางการเมือง ประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ.2549-2557” นั้นมี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการพัฒนาการมี ส่วนร่วมของประชาชนบนวิกฤติความขัดแย้งทาง การเมืองประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ.2549-2557 และ 2) อิทธิพลของการมีส่วนร่วมของประชาชนบน วิกฤติความขัดแย้งทางการเมืองประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ.2549-2557 โดยใช้วิธีการวิจัยแบบ ผสม (Mix Method) ที่เริ่มจากการวิจัยเอกสาร ทบทวนวรรณกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้อง หลังจากที่ได้ กรอบแนวคิด ทฤษฎี และทำการตั้งสมมุติฐานของ งานวิจัยใช้ระเบียบวีธีการวิจัยทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ที่กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชน ผู้มีความคิดต่างทางการเมือง เช่น กลุ่มคนเสื้อแดง กลุ่มคนเสื้อเหลือง กลุ่มเสื้อหลากสี และกลุ่ม กปปส. เป็นต้น โดยใช้สูตรการคำนวนขนาดกลุ่ม ตัวอย่างของ Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมัน่ 95% ได้จำนวนตัว อย่าง 400 คนและใช้วิธีการสุ่มเลือกตัวอย่างแบบง่ายจากประชาชน 3 จังหวดั คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และปทุมธานี โดยใช้ แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลและการวิจัยเชิง คุณภาพ (Qualita tive Research) ที่ผู้ให้ข้อมูล สำคัญจะแบ่งออก เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มคน เสื้อแดง กลุ่มที่ 2 กลุ่มคนเสื้อเหลือง จำนวน 10 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Random Sampling) ที่เป็นไปตามคุณสมบัติของ การวิจัยโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลการวิเคราะห์ใจความ (Textual Analysis) และเสริมด้วยการวิเคราะห์บริบท (Contextual Analysis) รวมทั้งจะใช้วิธีการวิเคราะห์แบบการวิเคราะห์สาระ (Content Analysis) เพื่อมาเป็นข้อสนับ สนุนเชิงปริมาณ (Quantitative Data)
             สำหรับผลการวิจัยจากการวิเคราะห์ผล ข้อมูลดังที่แสดงผลมาแล้วนั้นผู้วิจัยได้นำผลมา วิเคราะห์และสังเคราะห์ได้เป็นตัวแบบหรือ Model ที่ผุ้วิจัย ให้ชื่อว่า”การพัฒนาการมีส่วนร่วมของ ประชาชนบนวิกฤติความขัดแย้งทางการเมือง ประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ.2549-2557” ซึ่งมี องค์ประกอบอยู่ 8 ส่วนคือ 1) ด้านการเป็นสมาชิก กลุ่มทางสังคม 2) ด้านความรู้ความเข้าใจทางการ เมือง 3) ด้านการพัฒนาทางการเมือง 4) ด้านการ รับรู้ข่าวสารทางการเมือง 5) ด้านจิตสำนึกทาง การเมือง 6) ด้านอุดมการณ์ทางการเมือง 7) ด้าน การมีส่วนร่วมทางการเมือง 8) ด้านความขัดแย้งทาง การเมือง ซึ่งองค์ความรู้ที่ได้สามารถนำไปประยุกต์ ใช้ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการเมืองในขณะ นั้นให้เกิดความมีประสิทธิผลมากที่สุดในการลด ความเสียหายที่เกิดขึ้น เพื่อความสมานฉันท์และเป็น ประโยชน์ต่อประชาชน สังคม ประเทศชาติต่อไป

References

กมล ทองธรรมชาติ และเชาวนะ ไตรมาศ. (2545). วิวัฒนาการของระบอบรัฐธรรมนูญไทยจากอดีต ถึงปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร: กรุงธนพัฒนา.

กรินท์ ลิมาภรณ์วณิชย์. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการของรัฐ. ประชาชาติธุรกิจ, 18 พฤษภาคม 2552.

กิตติภูมิ นามวงศ์ (2554). บุพปัจจัยทางการเมืองและอำนาจฝ่ายบริหารที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง:กรณีศึกษาจังหวัดลำปาง.ดุษฎีนิพนธ์ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

คณะกรรมการกฤษฎีกา, สำนักงาน, (2553). เอกสารบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

คึกฤทธิ์ เรกะลาภ. (2551). การแทรกแซงทางการเมืองของทหารไทย : ศึกษากรณีรัฐประหาร 19 กันยายน 2549. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

จอห์น แมคคอนแนล. (2548). ศาสตร์และศิลป์แห่งการระงับความขัดแย้ง: คู่มือสำหรับชาวพุทธผู้ใฝ่สันติ. พระไพศาล วิสาโลและคณะ (บรรณาธิการและ แปล). กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เสมสิกขาลัย.

เจมส์ แอล เครตัน. (2543). คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการตัดสินใจของชุมชน. แปลโดย วันชัย วัฒนะศัพท์. นนทบุรี: ศูนย์สันติวิธีเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย.

จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย. (2548). กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์: การปรับกระบวนทัศน์ กระบวนการ ยุติธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพัฒนากระบวนการยุติธรรม

จันทนา สุทธิจารี. (2544). การเมืองการปกครองไทยตามรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ วี เจ พริ้นติ้ง.

เจษฎา พรไชยา. (2546). พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ของประเทศไทยกับประเทศอังกฤษ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฉันทนา บรรพศิริโชติ. (2542). ความขัดแย้งในสังคมไทย: ช่องว่างของการรับรู้และความเข้าใจ. กรุงเทพมหานคร: คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Alderman, D.H. (2003). "Street Names and the Scaling of Memory: The Politics of Commemorating Martin Luther King". Jr. within the African-American Community. Area 35 (2):163–173.

Bobo, L., and Gilliam, F. (2010). "Race, sociopolitical participation, and black empowerment". American Political Science Review 84(2):377–393.


Blais, A. (2000). To Vote or Not Vote: The Merits and Limits of Rational Choice Theory. Pittsburgh, PA: University of Pittsburgh Press.

Blais, A. (2006). "What Affects Voter Turnout? "Annual Review of Political Science 9: 111–25.

Burns, N., K. Schlozman, and S. Verba. (2001). The Private Roots of Public Action. Cambridge, MA: Harvard University Press.

Blais, Andr´e, and Simon Labb´e-St-Vincent. (2011). Personality Traits, Political Attitudes, and the Propensity to Vote. European Journal of Political Research 50 (3): 395–417.

Carney, Dana R., John T. Jost, Samuel D. Gosling, and Jeff Potter. (2008). "The Secret Lives of Liberals and Conservatives: Personality Profiles, Interaction Styles, and the Things They Leave Behind". Political Psychology 29 (6): 807–40.

Craig, S., R. Niemi, and G. Silver. (1990). "Political Efficacy and Trust: A Report on the NES Pilot Study Items". Political Behavior 12 (3): 289–314.

Carroll, Susan. (2006). Voting Choices: Meet You at the Gender Gap. In Susan J. Carrolland Richard L. Fox, eds., Gender and Elections Shaping the Future of American Politics.Cambridge: Cambridge University Press.

David B. Easton, John G. Gunnell, and Michael B. Stein, eds.(2005). Regime and Discipline: Democracy and the Development of Political Science U of Michigan Press.

Darmofal, D. (2006). The political geography of macro-level turnout in political development. Political Geography 25:123–150.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-12