ตัวแบบการตลาดของธุรกิจสถานความงามดูแลผิวหน้าและผิวพรรณ
คำสำคัญ:
ตัวแบบการตลาด, ธุรกิจสถานความงาม, ผิวหน้าและผิวพรรณบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาระดับ ความสำคัญของส่วนประสมการตลาด พฤติกรรมการ ใช้บริการของลูกค้า สถานความงามดูแลผิวหน้า และ ผิวพรรณวุฒิศักด์ิ เปรียบเทียบระดับ ความสำคัญของ ส่วนประสมการตลาดของสถานความงามดูแลผิวหน้า และผิวพรรณวุฒิศักดิ์จำแนกตามลักษณะพื้นฐานส่วน บุคคลของลูกค้า หาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความสำคัญ ของส่วนประสมการตลาดกับพฤติกรรมการใช้บริการ เสนอตัวแบบการตลาดของธุรกิจสถานความงามดูแล ผิวหน้า และผิวพรรณวุฒิศักด์ิคลินิก กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 385 คนโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา โดยใช้มาตร วัดแบบ Likert Scale 5 ระดับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่า ร้อยละ ค่าเฉลีย่ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดลำดับ สำหรับ การทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ One Way ANOVA, และวิเคราะหค์ วามแตกต่างรายคู่น้อยที่สุดด้วย LSD (Least Significant Different) โดยกำหนดระดับ นัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ความสัมพันธเ์พียรสัน เสนอ ตัวแบบความสำเร็จของโรงงานอุตสาหกรรมด้วยการ วิเคราะห์การถดถอยเชิงซ้อนเชิงพหุคูณ ผลการวิจัย ดังนี้ 1. ผู้ตอบแบบสอบถามสถานความงามส่วน ใหญ่เป็นเพศหญิงจำนวน 283 คน คิดเป็นร้อยละ 73.5 อายุ 21 – 30 ปี จำนวน 155 คนคิดเป็นร้อยละ40.3 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001 – 30,000 บาท จำนวน 210 คน คิดเป็นร้อยละ 54.5 ระดับการศึกษา ปริญญาตรี จำนวน 192 คน คิดเป็นร้อยละ 49.9 และอาชีพส่วนใหญ่ เป็นพนักงานบริษทั เอกชน/ธุรกิจส่วนตัว 204 คนคิดเป็น ร้อยละ 53.0
2. พฤติกรรมการใช้บริการผิวหน้าส่วนใหญ่เพื่อ รักษาสิวฝ้า/จุดด่างดำ /แผลเป็น จำนวน 155 คน คิด เป็นร้อยละ 40.3 เพื่อลดรอยแผลเป็น/จดุด่างดำ จำนวน 158 คิดเป็นร้อยละ 41.0 ผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจไป ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นเพื่อน จำนวน 170 คิดเป็นร้อยละ 44.2 ช่วงเวลาที่ใช้บริการส่วนใหญ่มาใช้บริการสถาน ความงามในเสาร์/ อาทิตย์/ วันหยุดราชการจำนวน 178 คน คิดเป็นร้อยละ 46.2 ความถี่ในการใช้บริการส่วนใหญ่ใช้ บริการโดยการตามคอร์สที่ซื้ออย่างต่อเนื่องจำนวน 122 คน คิดเป็นร้อยละ 31.6
3. ระดับความสำคัญของส่วนประสม การตลาดสถานความงามดูแลผิวหน้าและผิวพรรณ โดยในภาพรวมเฉลี่ย ด้านบุคลากร ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านกายภาพ และด้านกระบวนการให้บริการลูกค้า ให้ความสำคัญระดับมาก ส่วนด้านการจัดจำหน่าย ด้านราคา และด้านการส่งเสริมการตลาด ลูกค้า ให้ ความสำคัญ ปานกลาง อย่างไรก็ตามหากพิจารณาราย ด้านจากค่าเฉลี่ย พบว่า ลำดับแรกด้านบุคลากร (3.90) รองลงมาด้านผลิตภัณฑ ์ (3.84) ลักษณะกายภาพ (3.69) ด้านกระบวนการให้บริการ (3.54) และด้านการจัดจำหน่ายลูกค้าความสำคัญมาก เรียงตามลำดับส่วน ด้านราคา (3.40) และด้านการส่งเสริมการตลาด (3.24) ลูกค้าให้ความสำคัญปานกลางเรียงตามลำดับ
1. การทดสอบสมมติฐาน
4.1 ลูกค้าที่มีเพศ สถานภาพสมรส แตกต่างกันส่วนลูกค้า ที่มีอายุ ระดับ การศึกษา อาชีพ แตกต่างให้ระดับ ความสำคัญส่วนประสมการตลาดสถาน เสริมความงามไม่แตกต่างกันให้ระดับ ความสำคัญ ส่วน ประสมการตลาดสถานเสริมความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคญัทางสถิต ที่ระดับ .05
4.2 พฤติกรรมการใช้บริการของลูกค้า ด้าน ช่วงเวลาที่ใช้บริการ และด้านผู้มีส่วนรวมในการตัดสินใจ ใช้บริการกับ ส่วนประสมการตลาดในภาพรวมเฉลี่ยมี ความสัมพันธ์กันปานกลางทิศทางเดี่ยวกัน ส่วนพฤติกรรม การใช้บริการของลูกค้าด้านความถีในการใช้บริการสถาน ความงามกับ ส่วนประสมการตลาดในภาพรวมเฉลี่ยมี ความสัมพันธ์กันระดับตํ่าทิศทางเดี่ยว
2. ตัวแบบการตลาดของธุรกิจสถานความ งามดูแลผิวหน้า และผิวพรรณ = 177.956 + 9.204 ด้าน บุคคลากร + 9.032 ด้านผลิตภัณฑ์ + 8.239 ด้าน ลักษณะกายภาพ + 6.172 ด้านกระบวนการให้ บริการ + 4.466 ด้านการส่งเสริมการตลาด + 3.119 ด้านราคา โดยมีระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 78
References
ธัญพร จันทร์หนู. (2555). ความพึงพอใจต่อการใช้ บริการสปาเพื่อสุขภาพในเมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี, วิทยานิพนธ์, สาขาผู้นำทางสังคมธุรกิจและการเมือง มหาวิทยาลัยรังสิต.
ประชาชาติธุรกิจ. (2555). คลินิกความงามแข่งเดือดธุรกิจแห่ปรับตัว-เปิดตลาดใหม่. หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจฉบับ 6 พ.ย. 2555 กรุงเทพมหานคร.
วิษวิน เซ็นนิล และคณะ. (2554). ความคิดเห็นของผู้ ใช้บริการที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดของธุรกิจคลินิกเสริมความงาม ประเภทรั กษาสิ วในเขตประตูน้าพระอินทร์. วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2554). ตลาดเสริมความงามผิวหน้าและผิวกาย. บริษัทศูนย์ วิจัยกสิกรไทย สิงหาคม 2554, ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) กรุงเทพมหานคร.
สมคิด บางโม. (2549). การบริ หาร. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
สมิต สัชฌุกร. (2543). การต้อนรับและบริการเป็นเลิ ศ. (พิมพ์ครั้ งที่2). กรุงเทพมหานคร: สายธาร
สุวรรณ ดำดี (2554). พฤติกรรมการดูแลตั วเองของคนไทยยุคใหม่. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2556
Adrian J. Slywotzky and David J, Morison. (2000). How Digital Is Your Business. New York: Crown Business.
Anderson and Narus. (2007). Marketing Segmentation. McGraw Hill, International Edition, Singapore.
Andrew Kaplan. (2006). A Fruitful Mix. Beverage. World, May : 28 – 36
Bonoma and Shapino. (1993). Segmentation the Industrial Market. Lexington, MA Lexington Book.
Constantine Van Hoffman. (2006). For Some Marketers, Lower Income is Hot. Brand week, September 11,: 6
Derek F. Abell. (1980). Defining the Business: The Starting Point of Strategic Planning. Upper Saddle River NJ. Prentice Hall,: 192 – 196.
George H. Brown. (1996). Brand Royalty Fact or Fiction. Advertizing Age. 321 – 340
Itamar Simmonson. Determine of Customers’ Responses to Customized Offers Conceptual Framework and Research Propositions. Journal of Marketing 69 , January 2005: 32-45
Jeremy Stonier. (2003). Core Marketing. Pearson Education Inc, Upper Saddle River, New Jersey.
Peter Drucker. (1973). Management: Tasks, Responsibilities Practices. New York: Harper and Row.
Philip Kotler, Kevin Lane Keller. (2009). A Framework for Marketing Management. Fourth Edition . Pearson Education Inc, Upper Saddle, New Jersey: USA.
Philip Kotler (2010). Marketing Management. Pearson Education Inc, Upper Saddle, New Jersey: USA.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความวิชาการและบทความวิจัยในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศาส์น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์