บทบาทของอิหม่ามในการพัฒนาชุมชนมุสลิม : กรณีศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • พิสิฐ โอ่งเจริญ นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต

คำสำคัญ:

บทบาท, การพัฒนา, ชุมชนมุสลิม

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อ ศึกษาบทบาทของอิหม่ามในการพัฒนาชุมชนมุสลิมด้าน การเมืองการปกครอง ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม ตาม พระราชบัญญัติ การบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ.2540 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล (อายุ, ระดับการศึกษาภาคสามัญ , ระดับการศึกษาภาคศาสนา, ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง, และการดำรงตำแหน่งอื่นใน ชุมชน) ที่มีผลกระทบกับบทบาทของอิหม่ามในการพัฒนา ชุมชนมสุลิม 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ลักษณะสภาพที่อยู่ อาศัยระหว่างชุมชนเมือง (เขตเทศบาล) และชุมชนชนบท (นอกเขตเทศบาล) ที่มีผลกระทบกับบทบาทของอิหม่ามในการ พัฒนาชุมชนมุสลิม 4) เพื่อศึกษาปัญหา และอุปสรรค ตลอดจนการแก้ไขปัญหาในการพัฒนาชุมชนของอิหม่าม ปัญหา และอุปสรรคในการพัฒนาชุมชนของอิหม่าม เกิดจาก ตัวของอิหม่าม ประชาชน (สัปปุรุษ) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1) การได้มาหรือที่มาของผู้นำ (อิหม่าม) ในระดับต่าง ๆ ได้มาจากการเลือกตั้งนั้น ซึ่งขัดกับหลักการศาสนา ก่อใหเ้กิด ความแตกแยกในชุมชนมสุลิม ทุกระดับ 2) ผู้นำ (อิหม่าม) ใน ระดับต่าง ๆ บางคนมีคุณสมบัติที่ไม่เหมาะสม ไม่คู่ควรแก่ การดำรงตำแหน่งในองค์กรศาสนา 3) ผู้นำ (อิหม่าม) ไม่ได้ สะท้อนความเป็นตัวแทนของจำนวนประชาชนมุสลิมใน พื้นที่ที่แท้จริง กับเปิดโอกาสใหผู้มี้อิทธิพล และมีฐานะทาง เศรษฐกิจเข้าสู่ตำแหน่งในระดับต่างๆได้โดยง่าย 4) การได้มา ซึ่งผู้นำ (อิหม่าม) ในระดับต่าง ๆ มีข้อครหาเรื่องการล็อบบี้ โดยกลุ่มผู้มีสิทธิลงคะแนนออกเสียง และจูงใจให้ไป ลงคะแนนด้วย เงินและหรือการอำนวยความสะดวกในด้าน ต่าง ๆ ก่อใหเ้กิด ความเสื่อมเสียต่อเกียรติยศของผู้ดำรง ตำแหน่งในระดับต่าง ๆ ก่อใหเ้กิดความเสียหาย ต่อภาพพจน์ ของชุมชนมุสลิมโดยรวม 5) การแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิใน ระดับต่าง ๆ เป็นอำนาจของผู้นำนั้นแต่เพียงผู้เดียว จึงทำให้ เกิดข้อครหาว่ามีการซื้อตำแหน่ง และได้ผู้ทรงคุณวุฒิที่มี คุณสมบัติไม่เหมาะสมกับการดำรงตำแหน่งในการบริหาร องค์กรศาสนา ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาในการ พัฒนาชุมชนของผู้นำ (อิหม่าม) มีดังนี้ 1) ให้กำหนดให้ ที่มาของผู้นำ (อิหม่าม) ในระดับต่างๆ ให้ได้มาจากการ ปรึกษาหารือ (มุเชาวะเราะฮ์) กันเองในระหว่างผู้สมัครใจอาสา เข้ามารับการคัดเลือกด้วยกันเองโดยมีกติกาว่า จะต้องไม่ เสนอตนเองเข้ารับการดำรงตำแหน่งนั้น ๆ 2) ให้กำหนด คุณสมบัติด้านการศึกษาสายศาสนา และสายสามัญ รวมถึง คุณสมบัติอื่น ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่ง ผู้นำ (อิหม่าม) ในระดับต่าง ๆ ที่เหมาะสมในการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบและคู่ควรกับตำแหน่งอย่างแท้จริง

References

กรมการศาสนา. ( 2521). จริยธรรมอิสลาม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

กัลยา ผ่องเมฆินทร์.(2534). ผลกระทบที่ภรรยามีส่วนร่วมหาเลี้ยงครอบครัวต่ออำนาจการตัดสินใจ และความคาดหวังทางอำนาจในครอบครัว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กาญจนา แก้วเทพ. (2538). การพัฒนาแนววัฒนธรรมชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สภาคาทอลิกแห่งประเทศไทย เพื่อการพัฒนา.

กาญจนา แก้วเทพ. (2530). การพึ่งตนเองศักยภาพในการพัฒนาชนบท. กรุงเทพมหานคร: รุ่งเรืองสาสน์การพิมพ์.

โกวิทย์ กังสนันท์. (2538, มีนาคม - เมษายน). การใช้ประโยชน์เทคโนโลยีในการฝึกอบรมในหน่วยงาน. วารสารข้าราชการ 40.

ขบวน พลตรี. (2544). มนุษย์กับสังคม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์โอเดียนสโตร์.

คมสัน หุตะแพทย์. บรรณาธิการ(2527). พัฒนาสังคม. รวมบทความด้านการพัฒนาสังคมขององค์การ พัฒนาเอกชน, ม.ป.ท.

คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย .(2542) . พระราชบัญญัติการบริหารองค์กรอิสลาม พ.ศ. 2540. กรุงเทพมหานคร.

งามพิศ สัตย์สงวน. (2537). สังคมและวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหวิทยาลัย: 73.

จักรกฤษณ์ นรนิติ.(2527). ผดุงการบรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

จิตติ มงคลชัยอรัญญา. (2540). การศึกษาชุมชนเพื่อการพัฒนา. (เอกสารประกอบการเรียนภาควิชาการพัฒนาชุมชน.กรุงเทพมหานคร: คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อริยา เศวตามร์.(2542). “นักพัฒนากับบทบาทในการสร้างความหมายใหม่ของชุมชน”. ในเศรษฐศาสตร์การเมือง เอ็นจีโอ 2000. ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ. บรรณาธิการ. ศูนย์เศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อเนก เหล่าสุวรรณทัศน์.(2542). ประชาสังคมในมุมมองตะวันตกอ่าน และสอนที่จอห์นส์ ฮอปกินส์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม.

อมรา พงศาพิชย์. (2533). วัฒนธรรม ศาสนา และชาติพันธุ์:วิเคราะห์สังคมไทยแนวมนุษยวิทยา.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อัล-กุรอาน.(1428). พระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน. สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ประเทศไทย ศูนย์กษัตริย์ฟาฮัด เพื่อการพิมพ์อัลกุรอาน อัลมาดีนะห์ อัลมูเนาวาเราะห์ ราชอาณาจักร ซาอุดีอาระเบีย ปี ฮ.ศ.1428

อุทัย หิรัญโต. ( 2519). สังคมวิทยาประยุกต์. กรุงเทพฯ: โอออเดียน สโตร์.

ฮัมมูดะห์ อับดะละตี. (ม.ป.ป). ศาสนาอิสลาม. แปลจาก Islam in Focus โดยอามิน บินกาซัน. กรุงเทพฯ: ส.วงศ์เสงี่ยม

Bass, B.M. Bass (1997). Hand book of leadership New York.

Broom, L.,&Sclzrnick. (1976). P, Sociology. New York: Harper & Row.

Cohen &Orbuch, (1990). Introduction to sociology. Singapore: McGraw-Hill.

Edwards, Paul (Ed). (1997). The Encyclopedia of philosophy. 1-2 ,8 vols. New York: Macmillan

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-12