การรับรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ผู้แต่ง

  • ภาณุมาศ ไกรสัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • วลัยนารี พรมลา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลตนเอง, การรับรู้ภาวะสุขภาพ

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย เพื่อ ศึกษาการรับรู้ และพฤติกรรมการดูแลตนเองของ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในจังหวัด ปทุมธานี กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 88 คน (Power = .80, Effect Size = .30) โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติ ที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถาม ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแล ตนเอง และแบบสอบถามการรับรู้ภาวะสุขภาพตรวจสอบ ความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธ์ิแอลฟาครอนบาค เท่ากับ .92 และ.89 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าสถิติเชิงพรรณนา และค่าโดยใช้สถิติถดถอยพหุคูณ (Regression) และทดสอบระดับนัยสำคัญที่ระดับ .05
            ผลการวิจัย 
            1. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วย โรคเบาหวานส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็น ร้อยละ 51.13 ส่วนรายด้าน พบว่า ด้านจิต ใจ อารมณ์ และสังคมอยู่ในระดับสูง และด้านอื่นๆอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 32.47, SD = .53) 
            2. การรับรู้ภาวะสุขภาพของผู้ป่วยโรค เบาหวานอยู่ส่วนใหญ่อยู่ในระดับ สูง คิดเป็นร้อยละ 51.13 และในแต่ละด้านก็อยู่ในระดับสูง (Mean = 38.75, SD = .48) 
            3. การรับรู้ภาวะสุขภาพ สามารถร่วมกันพยากรณ์ พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรค เบาหวาน ร้อยละ 59.80 (R =.598, p < .05) อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ

References

กฤษณา คำลอยฟ้า. (2554).พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลแก้งสนามนาง อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา. The Journal of Boromarajonani College of Nursing,Nakhonratchasima. 17(1), 17 – 30.

ณิชชาภัทร ธนศิริรักษ์ และวลัยนารี พรมลา. (2559). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ในจังหวัดปทุมธานี. สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 2(2), 352 – 363.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2550). ระเบียบการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มงคลชัย แก้วเอี่ยม. (2550). การรับรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลกลางนา อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. นครปฐม: โปรแกรมสุขศึกษา คณะวิทยาศาสตร์แลเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2554). แนวทางเวชปฏิบัติ สำหรับโรคเบาหวาน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด.

เสกสันติ์ จันทนะ. (2551). การจัดการสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2554). จำนวนและอัตราตายด้วยโรคเบาหวาน. ค้นเมื่อ 3 กันยายน 2558, จาก: http://bps.ops.moph.go.th/Ill/ill.html.

Rosen stock, I.M. (1974). Historical Origin of Health Believe Model. Health Education Monographs: McGraw-Hill Book Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-12