แนวทางการพัฒนาความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลใน เลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • สมจิตร ชัยยะสมุทร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • วลัยนารี พรมลา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

Knowledge, Attitude, Blood Sugar Controlling Behaviors in Patients of Diabetes with Non-Insulin Dependence

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน จังหวัด ปทุมธานี จำนวน 98 คน (Power = .80, Effect size = .40) แต่ผู้วิจัย สามารถเก็บข้อมูลได้จริง 75 คนเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือ ที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามทัศนคติ และแบบสอบถามพฤติกรรม การควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือด ตรวจสอบสอบความ เที่ยงได้ค่าสัมประสิทธ์ิแอลฟาครอนบาค เท่ากับ .92 และ.89 ตามลำดับแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรค เบาหวาน นำไปหาค่าความเชื่อมั่น KR 20 ได้ค่าความ เชื่อมั่น .72 วิเคราะหข้อมูลด้วยค่าสถิติเชิงพรรณนา และค่าโดยใช้สถิติถดถอยพหุคูณ (Regression )
              ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน ส่วนใหญ่มีความรู้ในระดับปานกลาง คิดเป็น ร้อยละ 57.33 (Mean = 14, SD = .59) ทัศนคติอยู่ใน ระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 53.33 (Mean = 41.58, SD = .58) และพฤติกรรมการควบคุมระดับนํ้าตาลใน เลือดอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 35.02, SD = .42) ความรู้ และทัศนคติมีความสัมพันธ์ทางบวก ในระดับปานกลาง กับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดบั .05 (r = .66 และ .54 ตามลำดับ)
              สำหรับแนวทางการพัฒนาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน พบว่า ต้องมีการสนับสนุนส่งเสริมองค์ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน อย่างต่อเนื่อง และจริงจัง เพื่อปรับ เปลี่ยนทัศนคติ เกี่ยวกับโรค และมีการส่งเสริมพฤติกรรมการปฏิบัติ  ตนเพื่อ ควบคุมระดับ น้ำตาลในเลออด ทั้งการรับประทาน อาหาร การดูแลสุขภาพทั่วไป และการรับประทานยา อย่างต่อเนื่อง เป็นต้น รวมถึงมีการติดตามเพื่อให้ ผู้ป่วยตระหนักถึง ความสำคัญในประเด็น ดังกล่าว

References

กฤษณา คำลอยฟ้า. (2554). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลแก้งสนามนาง อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา. The Journal of Boromarajonani College of Nursing, Nakhonratchasima. 17(1), 17 – 30.

ชูสิน สีลพัทธ์กุล. (2551). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเคลื่อนไหวทางสังคมของอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 2 (2).

ณิชชาภัทร ธนศิริรักษ์ และวลัยนารี พรมลา. (2559). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ในจังหวัดปทุมธานี. สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ (สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์). 2(2), 352 – 363.

นันนภัส พีระพฤฒิพงศ์, นํ้าอ้อย ภักดีวงศ์ และ อำภาพร นามวงศ์พรหม. (2555). ผลของโปรแกรมการจัดการดูแลตนเองต่อความรู้กิจกรรมการดูแลตนเอง และค่าฮีโมโกลบินที่มีนํ้าตาลเกาะในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2.วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 30 (2). 98 – 105.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2550). ระเบียบการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มงคลชัย แก้วเอี่ยม. (2550). การรับรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลกลางนา อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. นครปฐม: โปรแกรมสุขศึกษา คณะวิทยาศาสตร์แลเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2554). แนวทางเวชปฏิบัติ สำหรับโรคเบาหวาน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด.

สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. (2559). รายงานสถานการณ์โรค NCDs. ฉบับที่ 2. อาคาร คลังพัสดุ กระทรวงสาธารณสุข: นนทบุรี.

เสกสันต์ จันทนะ. (2551). การจัดการสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพใน การป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2554). จำนวนและอัตราตายด้วยโรค เบาหวาน. ค้นเมื่อ 3 กันยายน 2558, จาก: http://bps.ops.moph.go.th/Ill/ill.html.

Green, W. Lawrence et al. (1980). Health Education Planning. New York: A Diagnostic Approach Afield Publishing Company.

World Health Organization. (2012). World Health Statistics. อ้างเมื่อ 20 กันยายน 2557 http://www.who.int/gho/publications/World health statistics/2012/en/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-12