มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการโอนสิทธิการเช่า ศึกษากรณี การทำสัญญาเช่ารถยนต์แบบลิสซิ่ง

ผู้แต่ง

  • นที วรรธนะโกวินท์ นายกสมาคมรถเช่าไทย
  • ฐิติวัฒน์ ยะชัยมา ฝ่ายอำนวยการ 2 กองบังคับการอำนวยการ สำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำ

คำสำคัญ:

มาตรการทางกฎหมาย, โอนสิทธิการเช่า, การทำสัญญา

บทคัดย่อ

วิจัยฉบับ นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจะศึกษา ถึงแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับ การเช่า การเช่าช่วง การ ทำสัญญาเช่ารถยนต์แบบลิสซิ่ง สภาพปัญหาข้อเท็จจริง และปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการให้สิทธิการเช่า ช่วงในการการทำสัญญาเช่ารถยนต์แบบลิสซิ่งของ ไทยว่ามีปัญหา และควรแก้ไขปัญหานั้นอย่างไร ตลอดถึงแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงมาตรการทาง กฎหมายเกี่ยวกับการให้สิทธิการเช่าช่วงในการทำสัญญาเช่ารถยนต์แบบลิสซิ่ง ของต่างประเทศที่ เป็นมาตรฐานทั่วไป เพื่อให้สามารถนำมาปรับใช้ใน กฎหมายไทยใหมี้ความเหมาะสม จากการทำ วิจัย พบว่า ในประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์วาด้วย เช่าทรัพย์ซึ่งมีทั้งหมด 4 หมวด ตั้งแต่ มาตรา 537 ไปจนถึง มาตรา 571 ไม่ปรากฏว่ามีการบัญญัติ เกี่ยวกับหมวดที่ว่าด้วย การโอนสิทธิการเช่า การเช่าทรพั ย์สิน แบบลิสซิ่ง ในส่วนของการทำสัญญาเช่ารถยนต์แบบ ลิสซิ่งนั้นจากการสัมภาษณ์ คือ กลุ่มตัวอย่างจาก นิติบุคคลทั่ว ไปที่ทำสัญญาเช่ารถยนต์ แบบลิสซิ่ง กลุ่มตัวอย่างจากประชาชนหรือนิติบุคคลทั่วไป ที่ เป็นผู้ประกอบการใหเ้ช่ารถยนต์แบบลิสซิ่ง กลุ่มจาก หน่วยงานภาครัฐ หรือ องค์กรมหาชนที่เกี่ยวข้องกับ การบังคับตามสัญญาเช่า แบบลิสซิ่ง กลุ่มนักวิชาการ กฎหมาย ผู้พิพากษา อัยการ ทนายความ นิติกร ยังคงใช้รูปการทำสัญญาที่ไม่มีแบบ และมีชื่อ เรียกที่แตกต่างกันไป เช่น เรียกว่า ลีสลิสซิ่ง เช่า แบบลิสซิ่ง เช่าซื้อแบบลิสซิ่ง ฯลฯ ตามแต่ละ ผู้ประกอบการจะกำหนดขึ้นภายไต้หลัก แห่งนิติ กรรมสัญญา ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะให้มีการจัดทำ ร่าง พรบ. ลิสซิ่ง เพื่อบังคับ ใช้ต่างหาก โดยบัญญัติ ถึงรูปแบบของสัญญา การโอนสิทธิในทรัพย์สินที่ ลิสซิ่ง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อคู่สัญญา และมีข้อแตกต่างที่ชัดเจนจากสัญญาเช่าโดยทั่วไป หากข้อพิพาทเกิดขึ้นจะไดน้ำกฎหมายมาบังคับใช้ โดยทันที ทันต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในยุคไทยแลนด ์ 4.0

References

บัญญัติ สุชีวะ. (2551). คำอธิบายกฎหมายลักษณะทรัพย์. (พิมพ์ครั้งที่ 11, แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพมหานคร: เนติบัณฑิตยสภา. ISBN 9789741611089.

ประมูล สุวรรณศร. (2525). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1-4 ว่าด้วยทรัพย์. กรุงเทพมหานคร: นิติบรรณการ.

พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตาบดี (บุญช่วย วณิกกุล). (2502). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ บรรพ 1-2. กรุงเทพมหานคร: เนติบัณฑิตยสภา.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2543). พจนานุกรมศัพท์กฎหมายไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.

ISBN 9748123529. (2544). พจนานุกรมศัพท์กฎหมายไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.

ISBN 9748123758. (2551, 7 กุมภาพันธ์). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. [ออนไลน์]. (เข้าถึงเมื่อ: 12 กันยายน 2552).

(ม.ป.ป.). ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน. [ออนไลน์]. (เข้าถึงเมื่อ: 12 กันยายน 2552).

มานิตย์ จุมปา. (2551). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งว่าด้วยทรัพย์สิน. (พิมพ์ครั้งที่ 6, แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ISBN 9789740323006.

ศาลฎีกา. (2550, 26 มกราคม). ระบบสืบค้นคำพิพากษาและคำสั่งคำร้องศาลฎีกา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: (เข้าถึงเมื่อ: 12 กันยายน 2552).

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2551, 10 มีนาคม). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. [ออนไลน์]. (เข้าถึงเมื่อ: 12 กันยายน 2552).

เสนีย์ ปราโมช. (2521). กฎหมายลักษณะทรัพย์. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพาณิช.

หยุด แสงอุทัย,กฏหมายแพ่งลักษณะมูลหนี้หนึ่ง (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2517).

รศ.พวงผกา บุญโสภาคย์ และ รศ. ประสาน บุญโสภาคย์ กฏหมายแพ่งพาณิชย์ ว่าด้วยนิติกรรมและสัญญา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

ประมวลกฎหมายอาญา

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

Kamol Sandhikshetrin. (2007). The Civil and Commercial Code, Books I-VI, and Glossary. (8th edition). Bangkok: Nitibannakan. ISBN 9789744473493.

Langenscheidt Translation Service. (2011). The German Civil Code. [Online]. (Accessed: 13 December 2012). Legifrance.

(2006, 4 April). French Civil Code. [Online]. (Accessed: 1 February 2013).

(2005, 1 January. French Commercial Code. [Online]. (Accessed: 1 February 2013).

(2011, 1 septembre). Code civil des français. [En ligne]. (Accédé: 1 février 2013).

Ministry of Justice of Japan. (2011). The Japanese Civil Code. [Online]. Available:

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-12