กลยุทธ์การตลาดร้านค้าปลีกไทยแบบดั้งเดิม
คำสำคัญ:
กลยุทธ์การตลาด, ร้านค้าปลีกไทยแบบดั้งเดิมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิง ปริมาณมีวัตถุประสงค์ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค ระดับความสำคัญ ปัจจัย การตลาด เปรียบเทียบระดับความ สำคัญของปัจจัยการตลาดที่นำไปสู่กลยุทธ์การตลาด ร้านค้าปลีก แบบดั้งเดิม หาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรม ผู้บริโภคกับระดับความสำคัญของปัจจัยการตลาดที่ นำไปสู่กลยุทธ์ และเสนอกลยุทธ์การตลาดร้านค้าปลีก แบบดั้งเดิม ขนาดตัวอย่าง 385 คนไม่ทราบประชากรที่ แน่นอน แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ในการเก็บข้อมูลมี ความเชื่อมั่น .86 วิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ทางสถิติ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดลำดับ t - test และ F – test หาความสัมพันธ์ของเพียรสัน และถดถอย เชิงพหุคูณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย ดังนี้
1. ลูกค้าร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ส่วนใหญ่เป็น เพศหญิงจำนวน 283 คน คิดเป็นร้อยละ 73.5 มีช่วงอายุ 21 – 30 ปี จำนวน 155 คนคิดเป็นร้อยละ 40.3 มีรายได้ เฉลี่ยต่อเดือน 15,001 – 30,000 บาทจำนวน 210 คน คิดเป็นร้อยละ 54.5 ระดับการศึกษาปริญญาตรีจำนวน 192 คน คิดเป็นร้อยละ 49.9 และอาชีพส่วนใหญ่เป็น พนักงานบริษัทเอกชน/ธุรกิจส่วนตัว 204 คนคิดเป็น ร้อยละ 53.0
2. พฤติกรรมผู้บริโภคของร้านค้าปลีกไทยแบบ ดั้งเดิม ภาพรวมเฉลี่ยและโดยรวมเกือบทุกด้านมีระดับ ความสำคัญมาก หากพิจารณาระดับพฤติกรรมตาม ค่าเฉลี่ย พบว่า ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญมากที่สุดด้าน ด้านลักษณะสินค้าที่ซื้อ ให้ความสำคัญมากที่สุดรองลงมา ด้านความถี่ในการซื้อในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา ด้าน ค่าใช้จ่ายในการซื้อในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา และดา้นตรา สินค้าที่ซื้อ มีระดับความสำคัญมาก เรียงตามลำดับ
3. ปัจจัยการตลาดที่นำไปสู่กลยุทธ์การตลาด ร้านค้าปลีกไทยแบบดั้งเดิมในภาพรวมเฉลี่ยและเกือบ ทุกด้านมีความสำคัญมาก เว้นด้านบุคลากรลูกค้า ให้ ความสำคัญปานกลาง อย่างไรก็ตามหากพิจารณาราย ด้านจากค่าเฉลี่ย พบว่า ลำดับแรกปัจจัยด้านส่งเสริม การตลาด ( X = 3.95) รองลงมาปัจจัยด้านราคา ( X= 3.91) ปัจจัยด้านการจัดจำหน่าย ( X= 3.90) ปัจจัยด้าน ผลิตภัณฑ์ ( X= 3.84) ปัจจัยทำเลที่ตั้ง ( X= 3.71) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมกายภาพ ( X=3.54) และปัจจัย ด้านบุคลากร ( X= 3.40) ลูกค้าให้ความสำคัญสำคัญ มาก เรียงตามลำดับ
ผลทดสอบสมมติฐาน
1 .ผู้บริโภคที่มีอายุ ระดับการศึกษา รายได้ เฉลี่ยต่อเดือน อาชีพ แตกต่างกันมีระดับความสำคัญของ ปัจจัยการตลาดที่นำไปสู่กลยุทธ์การตลาดร้านค้าปลีก ไทยแบบดั้งเดิมไม่แตกต่างกันเว้นแต่ผู้บริโภคที่มีเพศแตกต่างกันมีระดับความสำคัญของปัจจัยการตลาดที่ นำไปสู่กลยุทธ์การตลาดร้านค้าปลีกไทยแบบดั้งเดิม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. พฤติกรรมผู้บริโภคด้านลักษณะสินค้า ที่ซื้อมีความสัมพันธ์กันสูงทิศกับปัจจัยการตลาดที่นำ ไปสู่กลยุทธ์การตลาดร้านค้าปลีกไทยแบบดั้งเดิมด้าน ผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้า นการส่งเสริมการตลาด
3. พฤติกรรมผู้บริโภคด้านการเลือกตราสินค้า ที่ซื้อมีความสัมพันธ์กันระดับสูงกับปัจจัยการตลาดที่ นำไปสู่กลยุทธ์การตลาดร้านค้าปลีก ไทยแบบดั้งเดิมด้าน ผลิตภัณฑ์ และปจั จัย ด้านการจัดจำหน่าย
4. พฤติกรรมผู้บริโภคด้านความถี่ในการซื้อในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมามีความสัมพันธ์กันสูงกับ ระดับความสำคัญ ของปัจจัยการตลาดที่นำไป สู่กลยุทธ์การตลาด ร้านค้าปลีก แบบดั้ง เดิมด้าน ปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านกระบวนการใหบ้ริการ ปัจจัยด้าน บุคลากร และปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด
5. พฤติกรรมผู้บริโภคด้านค่าใช้จ่ายในการซื้อในรอบ 3 เดือน มีความสัมพันธ์กันสูงกับระดับ ความสำคัญของปัจจัยการตลาดที่นำไปสู่กลยุทธ์การตลาด ร้านค้าปลีก ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ และปัจจัยด้านราคา
3. กลยุทธ์การตลาดร้านค้าปลีกไทยแบบดั้งเดิม = 177.956 +10.239 (X8) กลยุทธ์ด้านทำเลที่ตั้ง +9.032( X1) กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ + 7.239(X7) กลยุทธ์ด้านลักษณะกายภาพ + 7.119(X2) กลยุทธ์ด้าน ราคา + 6.024(X3) กลยุทธ์ด้านการจัดจำหน่าย +4.466(X4) กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการตลาด
References
ทานตะวัน เสือสะอาด. (2550). ความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อการปรับตัว เชิงกลยุทธ์ทางการตลาดของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมและร้านค้าปลีกสมัยใหม่. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ศราวุธ สุวรรณเทพ. (2551). การวางแผนกลยุทธ์เพื่อพัฒนาธุรกิจค้าปลีก แบบดังเดิมในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย.วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
อภิชาติ ลิขิตเทียนทอง. (2549) .ลักษณะการดำเนินธุรกิจของร้านค้า ปลีกแบบดั้งเดิมในปัจจุบัน. มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความวิชาการและบทความวิจัยในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศาส์น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์