ความภักดีต่อผลิตภัณฑ์แอมเวย์ของลูกค้าในจังหวัดปทมุธานี
คำสำคัญ:
ความภักดีของลูกค้า, ผลิตภัณฑ์แอมเวย์บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของลูกค้าต่อ ส่วนประสมทางการตลาดของผลิตภัณฑ์แอมเวย์ใน จังหวัดปทุมธานี และศึกษาระดับความภักดี และ ความสัมพันธ์ระหว่างความภักดีกับระดับความพึง พอใจของลูกค้าต่อส่วนประสมทางการตลาดของ ผลิตภัณฑ์แอมเวย์ในจังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างที่ ศึกษา คือ ลูกค้าที่เคยซื้อและใชสิ้นค้าในธุรกิจ ขายตรงแอมเวย ์ ซึ่งเป็นผู้ที่พักอาศัยอยู่ในจังหวัดปทุมธานี รวมทั้งสิ้น 400 คนเครื่องมือที่ใช้ใน การศึกษา คือแบบสอบถาม เก็บข้อมูล โดยวิธีการสุ่ม ตัวอย่างอย่างเป็นระบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (percentage) ค่าความถี่ (frequencies) ค่า เฉลี่ย (mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) การวเิคราะห์ความแปรปรวน (One Way Anova) ทดสอบความแตกต่างรายคู่ ด้วยวิธีของ Least Significant Difference (LSD) ค่าสถิติที (t-test) และ F – test และการทดสอบ ความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์ผลการศึกษาดังนี้
ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงจำนวน 261 คิดเป็น ร้อยละ 65.3 อายุ 30-39 ปี จำนวน 128 คิดเป็น ร้อยละ 32.0 มีสถานภาพสมรสจำนวน 204 คน คิดเป็นร้อย ละ 51.0 มีสมาชิกในครอบครัว 2-3 คนจำนวน 156 คนร้อยละ 39.0 การศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 173 ร้อยละ 43.3 อาชีพประกอบธุรกิจส่วนตัว จำนวน 102 คน ร้อยละ 25.5 รายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 10,000 บาทจำนวน 171 คิดเป็นร้อยละ 28.1
ผลการวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของ ลูกค้าต่อส่วนประสมทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ สินค้าแอมเวย์พบว่า ความพึงพอใจของลูกค้าทุกด้าน และผลรวมเฉลี่ยทุกด้านอยู่ที่ระดับมาก แต่ถ้าจัดลำดับตามค่าเฉลี่ย พบว่า พบว่า ลำดับแรก ด้าน ผลิตภัณฑ ์ ด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านราคาเรียงตามลำดับและความพึงพอใจลำดับต่ำสุดด้าน พนักงานให้บริการ
ระดับความภักดีของลูกค้าต่อผลิตภัณฑ์ แอมเวย ์ ผลการวิเคราะห์พบว่าลูกค้าผลิตภัณฑ์ แอมเวย์มีความภักดีโดยเฉลี่ยทุกด้านอยู่ที่ระดับมาก
ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ลูกค้า แอมเวย์ที่มี เพศ อายุ สถานภาพสมรส สมาชิกใน ครอบครัวระดับการศึกษา อาชีพ รายไดเ้ ฉลี่ยต่อ เดือนแตกต่างกันมีระดับความพึงพอใจต่อส่วน ประสมทางการตลาดของผลิตภัณฑ์สินค้าแอมเวย์ใน จังหวัดปทุมธานีไม่แตกต่างกันตามนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05
ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง ความภักดีกับส่วนประสมการตลาดจำแนกตามด้าน ผลิตภัณฑ์พบว่า ความภักดีมีความสัมพันธ์ กับ ด้านผลิตภัณฑ์ระดับสูงมาก ด้านราคาในระดับสูง ด้านการจัดจำหน่ายในระดับสูง ด้านกระบวนการให้บริการระดับปานกลาง ด้านลักษณะทางกายภาพมี ความสัมพันธ์กันระดับปานกลาง และเป็นไปใน ทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
พิชัย นิรมานะสกุล. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าแฟชั่นแบรนด์เนมต่างประเทศ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุษณีย์ ก้อนทอง. (2552). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการโทรศัพท์ พื้นฐานของบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความวิชาการและบทความวิจัยในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศาส์น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์