ตัวแบบการตลาดธุรกิจรถยนต์นังส่วนบุคคลในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ศิตชัย จีระธัญญาสกุล คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

ตัวแบบการตลาดธุรกิจ, รถยนต์นั่งส่วนบุคคลประเทศไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา พฤติกรรมการซื้อรถยนต์ระดับความสำคัญของส่วน ประสมการตลาดรถยนต์นั่งส่วนบุคคล เปรียบเทียบ ระดับความสำคัญของส่วนประสมการตลาดหา ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความ สำคัญของส่วน ประสมการตลาดกับพฤติกรรมการซื้อรถยนต์นั่งส่วน บุคคลฮอนด้าและเสนอตัวแบบการตลาดธุรกิจ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างจำนวน 385 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ แบบสอบถามเป็น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา โดยใช้มาตรวัดแบบ Likert Scale 5 ระดับการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรม สำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดลำดับ สำหรับการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ One Way ANOVA และวิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่น้อยที่สุดด้วย LSD (Least Significant Different) โดยกำหนดระดับ นัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ความสัมพันธ์เพียรสัน เสนอตัวแบบการตลาดธุรกิจรถยนต์นั่งส่วนบุคคลใน ประเทศไทยด้วยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงซ้อนเชิง พหุคูณ ผลการวิจัยดังนี้ 
            1. ลูกค้ารถยนต์นั่งส่วนบุคคลฮอนด้าส่วน ใหญ่เป็นเพศชายจำนวน 313 คน (81.3 %) อายุ 36 – 45 ปี จำนวน 152 คน (39.5%) การศึกษาระดับปริญญาตรี 47.8 อาชีพเจ้าของกิจการ 219 (56.9%) และรายได้ต่อเดือน20,001 – 25,000 บาทขึ้นไป จำนวน 216 คน (56.1%)
           2. พฤติกรรมด้านการค้นหาข้อมูลก่อนซื้อรถยนต์ส่วนใหญ่ค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต จำนวน 172 คิดเป็นร้อยละ 44.6 ด้านการประเมินก่อน ตัดสินใจซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลฮอนด้า ส่วนใหญ่ พิจารณาราคาจำนวน 132 คนคิดเป็นร้อยละ 34.3 ดา้ นรถยนต์ฮอนด้าที่เคยซื้อ ส่วนใหญ่เคยซื้อ 1 – 2 คัน จำนวน 245 คน คิดเป็นร้อยละ 63.7 และด้านผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อส่วนใหญ่ตัดสินใจซื้อด้วย ตนเองจำนวน 132 คิดเป็นร้อยละ 34.3 
           3. ระดับความสำคัญ ส่วนประสมการตลาด รถยนต์นั่งส่วนบุคคลฮอนด้า ภาพรวมเฉลี่ยส่วน ประสมการตลาด รถยนต์นั่ง ส่วนบุคคลฮอนด้าด้าน เครื่องยนต์  ด้านการให้บริการลูกค้าและด้านส่งเสริม การตลาดรถยนต์นั่งส่วนบุคคลฮอนด้า ให้ความสำคัญมากที่สุด ส่วนด้านตัวรถยนต์ ด้านผู้แ ทนจำหน่าย ด้านราคารถยนต์ และด้านพนักงานขาย ลูกค้ารถยนต์นั่งส่วนบุคคลฮอนด้า ให้ความสำคัญมาก
          หากจัดลำดับจากค่าเฉลี่ยพบว่า ลำดับแรกด้านเครื่องยนต์ ( x= 4.50) ด้านการให้บริการ ( x= 4.39) ด้านการส่งเสริมการตลาด ( x= 4.15) ด้านตัวรถยนต์ ( x= 4.08) ด้านผู้แทนจำหน่าย ( x= 4.05) ด้านราคารถยนต์ ( x= 4.02) ด้านพนักงานขาย ( x= 3.81) เรียงตามลำดับ
          4. ผลการทดสอบสมมติฐาน 
                      4.1. ลูกค้ารถยนต์นั่งส่วนบุคคลฮอนด้าฯ ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยแตกต่าง กันมีระดับความสำคัญ ของส่วนประสมการตลาดของ รถยนต์นั่ง ส่วนบุคคลรถยนต์ฮอนด้า ไม่แตกต่างกันเว้น แต่ลูกค้าที่มีอาชีพแตกต่างกัน ระดับความสำคัญของส่วนประสมการตลาดของรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถยนต์ฮอนด้า แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05
                     4.2. ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าด้านการค้นหาข้อมูล ด้านจำนวนรถยนต์ที่เคยซื้อ ด้านประเมินก่อนตัดสินใจ และด้านผู้มีส่วนร่วมในการซื้อรถยนต์ฮอนด้า มีความสัมพันธ์กับระดับ ความสำคัญ ของส่วนประสมการตลาดของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลฮอนด้าในภาพรวมเฉลี่ย มีความสัมพันธ์กันตํ่าทิศทางเดียวกัน
          5. ตัวแบบการตลาดธุรกิจรถยนต์นั่งส่วนบุคคล = 1.364 + 7.852 ด้านการส่งเสริมการตลาด+ 4.638 ด้านการให้บริการ + 4.503 ด้านตัวรถยนต์+ 1.873 ด้านราคารถยนต์ + 1.354 ด้า นผู้แทนจำหน่าย ตัวแบบการตลาดธุรกิจรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ที่ใช้ในความเชื่อมั่น 79%

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2546). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: ซี เค แอนด์ เอส โฟโต้สตูดิโอ.

กรุงเทพธุรกิจ. (2556). ตลาดรถซึมยาวค่ายรถปรับแผนการผลิต. หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2556 กรุงเทพมหานคร.

แครียา ภู่พัฒน์. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ โตโยต้า นิว วิออส.

ประชาชาติธุรกิจ. (2556). แนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยปี 2556. ฉบับที่ 24 เดือน มกราคม 2556 กรุงเทพมหานคร.

ไทยโพสต์ (2556) พิษรถคันแรก มือสองอ่วมราคาร่วง-ล้นสต็อก , หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับ วันที่16 ก.ย. 2556 กรุงเทพมหานคร.

หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ. (2557). แนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทย หนังหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 กรุงเทพมหานคร.

สาคร เกี่ยวข้อง. (2550). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล กรณีศึกษา: เกษตรกรผู้ปลูกพืชจังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต.

บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2556). แนวโน้มธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์ปี 2556. บทวิเคราะห์. บริษัทบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กรุงเทพมหานคร.

อภิชาติ แซ่โค้ว. (2542: 61). ประวัติความเป็นมาของรถยนต์ในประเทศไทย. หนังสือสาส์นสมเด็จภาคที่ 23 ฉบับที่ 11 ซึ่งนิพนธ์โดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พบว่า เจ้าพระยาสุรศักดิ์ (เจิม แสงชูโต).

Anne Goodchild and Karthik Mohan. (2013). The Clean Trucks Program: Evaluation of Policy Impacts on Marine Terminal Operations Department of Civil and Environmental Engineering. University of Washington. 121E More Hall, Box 352700. Seattle WA 98195-2700. USA

Kotler, Philip. (2003). Marketing Management. Englewood Cliffs: Prentice Hall. Meyer Research Center by POPAL. 1995.

Philip Kotler, Kevin Lane Keller (2010). A Framework for Marketing Management. Fourth Edition . Pearson Education Inc. Upper Saddle, New Jersey, USA, 2009: 110

Martens Martin (2009). Business in third-party logistics: driving the truck for information sharing. Dissertation MB: Management and Governance Alexander University Sofia. Bulgaria

Wenjuan Zhao and Anne V Goodchild. (2013). Using the truck appointment system to improve yard efficiency in container terminals. Washington State Department of Transportation. 310 Maple Park Avenue SE. PO Box 47407. Olympia. WA, USA.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-12