ปัญหาทางกฎหมายในกระบวนการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู

ผู้แต่ง

  • เพิ่ม หลวงแก้ว ผู้อำนวยการสถานศึกษาวิทยฐานะเชี่ยวชาญสังกัด สพฐ.
  • บัณฑิต ขวาโยธา กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตจังหวัดอุดรธานี
  • กัมพล วันทา ผู้อำนวยการสำนักตรวจราชการและติดตามประเมินผลสำนกงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

คำสำคัญ:

มาตรการทางกฎหมาย, การบริหารงานบุคคล, เขตพื้นที่การศึกษา

บทคัดย่อ

การศึกษา ปัญหาทางกฎหมายในกระบวนการ บริหารงานบุคคลของข้าราชการครู ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักกฎหมาย และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษามาตรการสภาพปัญหาโครงสร้างการ บริหารงานบุคคลของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการบริหารงานบุคคลของไทย และต่างประเทศ เพื่อศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการบังคับ ใช้กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลให้มีความ เหมาะสมกับสภาพสังคมไทยมากยิ่งขึ้นต่อไป ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาแนวคิดทฤษฎี และมาตรการทางกฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลภายในประเทศ และ ต่างประเทศนำมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบ ตลอดจนการสัมภาษณ์ประชากรและกลุ่มตัวอย่างจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อหา สาเหตุ อุปสรรค และแนวทางแก้ไขปัญหาการบังคับใช้แล้วนำข้อมลูที่ได้มาทำการศึกษา สังเคราะห์ และวิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เพื่อหาข้อสรุปและแนวทางแก้ไขปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษาต่อไป
            ผลการวิจัยพบว่าปัญหาการบริหารงานบุคคลระดับเขตพื้นที่การศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาครู การโยกย้ายแต่งตั้งการเลื่อนขั้นนเงินเดือนเกิดจากการใช้ดุลยพินิจขององค์คณะบริหารงานบุคคล แนวทางแก้ไขปัญหา พบว่าปัญหาระดับโครงสร้างต้องมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายในมาตรา 7 (1) แห่ง พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จากรัฐมนตรีเป็นประธานเปลี่ยนเป็นมาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ภายนอก 2) ปัญหาการเลื่อนวิทยฐานะให้มรการปรับปรุงกฎ ก.ค.ศ. และเกณฑ์การพิจารณา การเลื่อนวิทยฐานะซึ่งการ พิจารณาจากเอกสารเป็นการพิจารณาเชิงประจักษ์ 3) ให้มีองค์กรอิสระขึ้นมาเพื่อพิทักษ์ระบบคุณธรรมและเป็นองค์กร ตรวจสอบการใช้อำนาจดุลยพินิจของ อ.ก.ค.ศ เขตพื้นที่ตาม มาตรา 23 และตรวจสอบการได้ มาซึ่ง อ.ก.ค.ศ เขตพื้นที่แต่ ละประเภทตามมาตรา 21 โดยใชอ้ าํ นาจแต่งตั้งองค์กรตาม มาตรา 17 และมีอำนาจตามมาตรา 19 (13) (14) แห่ง พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 โดยตั้งองค์กรอิสระคล้ายในระดับจังหวัด ของคณะกรรมการการศึกษาญี่ปุ่น (Prefectural Board of Education) หรืออย่าง สภาการศึกษาสหรัฐ อเมริกา (The State Board of Education) หรือเป็นองค์กรคู่กับก.ค.ศ.ในกฎหมายฉบับเดียวกันชื่อ คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ประจำ ก.ค.ศ. โดยองค์กรดังกล่าวต้อ งมีอำนาจทั้งการตรวจสอบและถ่วงดุล ทั้งก่อนและหลังการได้มาของคณะ อ.ก.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่ และหากต้องการความเป็นอิสระ (Autonomy) ให้เกิดขึ้นจริง กับองค์กรอิสระดังกล่าวต้องให้มีเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิจาก บุคคลภายนอกมาเป็นองค์คณะบุคคลโดยได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้ง

References

กลุ่มงานกฎหมาย สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2543). รายงานการศึกษาวิเคราะห์เพื่อการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ.

คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงาน. (2554). ก.พ.ค.ผู้พิทักษ์ระบบคุณธรรม. กรุงเทพฯ:บางกอกบล๊อค.

คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงาน. (2542). การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี. กรุงเทพฯ.

คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ สำนักงาน. (2540). เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตรฝึกอบรมผู้บริหารสถานศึกษา หมวด 2 บริหารศาสตร์. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา,สำนักงาน. (2553). รวมกฎหมายว่าด้วยการบริหารงานบุคคล ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ.

คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงาน. (2553). คู่มือการปฏิบัติงานของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา.กรุงเทพฯ.

ณัฐศักดิ์ จันทร์ผล. (2552). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่เน้นการกระจายอำนาจ, ดุษฎีนิพนธ์. มหาวิทยาลัยสยาม.

พิณสุดา สิริธรังศรี. (2540). รายงานการการปฏิรูปการศึกษาของประเทศนิวซีแลนด์. สกศ. กรุงเทพฯอรรถพลการพิมพ์.

เพิ่ม หลวงแก้ว. (2546). คำสั่งทางปกครองในการลงโทษทางวินัยข้าราชการครู. มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพ.

พูนศักดิ์ ไวสำรวจ. ความรับผิดทางวินัย. เอกสารการสอนกฎหมายปกครอง. กรุงเทพ. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.ม.ป.ป.36

สภาการศึกษา สำนักงานเลขาธิการ. (2549). การสังเคราะห์รายงานการวิจัยการกระจายอำนาจทางการศึกษา ใน 8 ประเทศ.บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

Anthony, Frank. (1978). “Perception of Actual and Ideal Roles in School Community Relations for parent of Districts” Dissertation Abstracts International. 39(4): 598 – A.

Cronbach, Lee J. (1970). Essential of Psychological Testing. 3 rd ed. New York: Harper & Row Publisher. Education Act of Japan สืบค้นออนไลน์จาก http://202.143.185.22/school/ school020/page%205.html Education Act of AUSTRALAI. สืบค้นออนไลน์ http://202.143.185.22/school /school020/page%201.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-12