ผู้ว่าราชการจังหวัดกับการบริหารราชการแผ่นดินไทย

ผู้แต่ง

  • ชุลีพร ขุนอินทร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • นิเทศ ตินณะกุล มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ดิเรก ถึงฝั่ง มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

ผู้ว่าราชการจังหวัด, การบริหารราชการแผ่นดินไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องผู้ว่าราชการจังหวัดกับการบริหารราชการแผ่นดินไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) รูปแบบการบริหารราชการแผ่นดิน (2) รูปแบบ การบริหารราชการจังหวัด และการได้มาซึ่งตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัด และ (3) คุณสมบัติที่พึงประสงค์ ของผู้ว่าราชการจังหวัด ในการบริหารราชการแผ่นดิน การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) กลุ่มตัวอย่างคือผู้เชี่ยวชาญ ด้านรัฐศาสตร์การปกครองและด้านการบริหาร จัดการ จำนวน 9 คน และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผู้เชี่ยวชาญด้านรัฐศาสตร์การปกครองและ มีตำแหน่งในการบริหารราชการแผ่นดินจำนวน 8 คน เครื่องมือใช้ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างในรอบที่ 1 และใช้แบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับของ ลิเคิร์ท (Likert’s Five Rating Scale) จำนวน 40 ข้อ คำถามในรอบที่ 2 และ 3 วิเคราะห์ข้อมูลโดย การหาค่ามัธยฐาน (Median: MD) ค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ (Interquartile Range: IR) โดยต้องมีค่า มัธยฐานมากกว่า หรือ เท่ากับ 3.50 มีค่าพิสัย ระหว่างควอไทล์ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1.50 ส่วนการ สนทนากลุ่ม ใช้แบบบันทึกการสนทนาในการ รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เชิง เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามคำตอบทั้ง 40 ข้อมีแนวโน้มความ เป็นไปได้ค่อนข้างสูงถึงสูงมาก มีค่ามัธยฐาน 4.11- 4.89 มีความสอดคล้องของคำตอบไปในทางเดียวกัน ค่อนข้างสูงถึงสูงมากเป็นฉันทามติ มีค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ 0.00-1.00 และผลการวิเคราะห์ข้อมูลจาก การสนทนากลุ่ม สอดคลอ้งกับผลการวิเคราะห์ ข้อมูลด้วยเทคนิคเดลฟาย ดังนี้
                  1. รูปแบบการการบริหารราชการแผ่นดินที่ เหมาะสม ยังคงแบ่งการบริหารเป็นราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น 
                  2. การบริหารราชการจังหวัด ปฏิรูปการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ให้จังหวัดมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการ (Autonomy) มีผู้ว่า ราชการจังหวัดบริหารราชการจังหวัด แบบเบ็ดเสร็จ ส่วนราชการที่ปฏิบัติงานในจังหวัด ให้มีฐานะเป็น ราชการส่วนภูมิภาคทั้งหมด ไม่ควรมีหน่วยงาน ราชการปฏิบัติภารกิจทับซ้อนกัน ยกเลิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และให้มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงสองรูปแบบ คือ เทศบาลกับรูปแบบอื่น ๆ เพิ่มการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น และสร้างความเข้มแข็งให้แก่ประชาชน จังหวัดเป็นนิติบุคคลเป็นส่วนราชการตามพระราชบัญญัติ งบประมาณสามารถตั้งงบประมาณได้เอง เพื่อใช้และกระจายทรัพยากรร่วมกันกับองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงาน และรัฐวิสาหกิจที่ ตั้งอยู่ในจังหวัด วิธีการได้มาซึ่งตำแหน่งผู้ว่าราชการ จังหวัดเป็นการแต่งตั้งจากส่วนกลาง ไม่ควรมีการ เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดทางตรง การแต่งตั้งผู้ว่าราชการจงัหวัดต้องผ่านการสรรหาของคณะกรรมการ ระดับกระทรวง ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิต่าง ๆ และผู้แทนจากภาคประชาชนในจังหวัด 
                 3. คุณสมบัติที่พึงประสงค์ของผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องมีภาวะผู้นำ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผู้นำเชิงกลยุทธ์ ผู้นำชั้นยอดหรือสุดยอดภาวะผู้นำ (Super leadership) มีความโปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาล มีภาวะผู้นำตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ ทศพิธราชธรรม และสัปปุริสธรรม และต้องมีประสบการณ์งานราชการทั้งในส่วนราชการส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค 
                 ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการวิจัยประเมิน ผลการจัด รูปแบบการบริหารราชการ แผ่นดินเพื่อตรวจสอบฉันทามติของผู้เชี่ยวชาญ และวิจัยเชิงปริมาณจากประชาชนทุกภาคส่วน เพิ่มเติม วิจัยตัวแบบการเข้าสู่ตำแหน่งผู้ว่าราชการ จังหวัด วิจัยเชิงทดลองตัวบ่งชี้สุดยอดผู้นำ ความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลของผู้ว่าราชการจังหวัด วิจัยเชิงประเมินประสบการณ์ของผู้จะดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัด และวิจัยสำรวจความคิดเห็นของ ภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาคประชาชนและภาคเอกชน เกี่ยวกับ การบริหารราชการแผ่นดินและการบริหาร ราชการจังหวัด

References

กรมการปกครอง. [ออนไลน์]. (2557, ธันวาคม) พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457. เข้าถึงได้จาก: http://pab.dopa.go.th/main/law/pab2457_12.pdf.

กรมการปกครอง, [ออนไลน์]. (2558, มกราคม). วิเคราะห์เปรียบเทียบผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการแต่งตั้งและผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้ง เข้าถึงได้จาก: http://tspd.dopa.go.th/.../570130_060522_วิเคราะห์ข้อดี%20ข้อเสีย%20ผู้ว่า.doc.

กรมการพัฒนาชุมชน. [ออนไลน์]. (2551). การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion). เข้าถึงได้จาก: http://cddweb.cdd.go.th/cdregion04/cdworker/008.pdf

กระทรวงมหาดไทย [ออนไลน์]. (2557, 15 สิงหาคม). การศึกษาร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ….สถาบันดำรงราชานุภาพ. เข้าถึงได้จาก: http://www.stabundamrong.go.th/base/knowledge_record.htm#4.

กระทรวงมหาดไทย. [ออนไลน์]. (2557, ธันวาคม) ยุทธศาสตร์ตามภารกิจการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินในระยะ 10 ปี. ด้านการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน. เข้าถึงได้จาก: http://www.ppb.moi.go.th/midev01/upload/4.%2010%20year%20Strategy.pdf.

กระทรวงมหาดไทย. [ออนไลน์]. หน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่ง ลักษณะงานที่ปฏิบัติความรู้ความสามารถที่ต้องการ และคุณสมบัติของตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด. เข้าถึงได้จาก: http://www.personnel.moi.go.th/work/work2/examiner/pong/pong_02.doc

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2556). SUPPER LEADERSHIP. สุดยอดภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: บริษัท ซัคเซสมีเดีย จำกัด.

สุเทพ เอี่ยมคง. [ออนไลน์]. (2557, 24 มิถุนายน). การบริหารราชการแผ่นดิน. อ้างใน วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี. เข้าถึงได้จาก: 17http://www.kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK27/chapter2/

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนในพระบรมราชูปถัมภ์. [ออนไลน์]. (2557, 18 สิงหาคม). เล่มที่ 27 เรื่องที่ 2 การบริหารราชการแผ่นดิน เข้าถึงได้จาก: http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=27&chap=2&page=t27-2-infodetail01.html.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. [ออนไลน์]. (2557, 18 สิงหาคม). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534. เข้าถึงได้จาก: https://www.etda.or.th/app/webroot/files/1/files/L9.pdf.

ปธาน สุวรรณมงคล, และคณะ. (2537). การกำหนดอำนาจหน้าที่และความสัมพันธ์ระหว่างส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น. รายงานการวิจัยเสนอต่อสถาบันดำรงราชานุภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย.

โกวิทย์ พวงงาม. (2548). การปกครองท้องถิ่นไทย. หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพฯ: บริษัทสำนักพิมพ์วิญูชน จำกัด.


สถาบั นพระปกเหล้า. [ออนไลน์ ]. (2557, 6 ธันวาคม). การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น, ฐานข้อมูลการเมืองการ ปกครอง อ้างใน วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี เข้าถึงได้ จาก: wiki.kpi.ac.th/index.php?title=การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น.

สถาบันพระปกเหล้า. [ออนไลน์ ]. (2557, 18 ธันวาคม). หลักการรวมอำนาจ, ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง อ้างใน วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี เข้าถึงได้ จาก: wiki.kpi.ac.th/ index.php?title=หลักการรวมอำนาจ.

สมชาย บำรุงทรัพย์, และคนอื่นๆ. (2548). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534: รวมกฎหมายท้องถิ่น.กรุงเทพฯ: สกายบุคส์

บรณาธิการข่าวการเมือง, [ออนไลน์]. (2551, 10 กันยายน). “หมัก” บรรลัย! ศาลมีมติเป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 ชี้พ้นสภาพผู้นำ, หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์. เข้าถึงได้ จาก: http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000106895.

บรรณาธิการผู้จัดการ, [ออนไลน์ ]. (2557, 15 กรกฎาคม). ศาล รธน.มติเอกฉันท์!สั่งยุบ“พปช.”ตัดสิทธิ กก.บห.5 ปี-“ชายอำมหิต” หลุดเก้าอี้, หนังสือพิมพ์ ผู้จัดการออนไลน์ .เข้าถึงได้ จาก: http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9490000122952.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.). [ออนไลน์ ]. (2552, มีนาคม). ข่าวเด่น ก.พ.ร. นโยบาย และระบบในการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ(part I). เข้าถึงได้ จาก: http://www.opdc.go.th/content.php?menu_id=5&content_id=1252.

โพสต์ ทูเดย์ ,[ออนไลน์ ]. (2557, 28 พฤษภาคม). ใครเป็นใครในทีม"โฆษก คสช.". เข้าถึงได้จาก http://www.posttoday.com/วิเคราะห์ /รายงานพิ เศษ/297488/ใครเป็นใครในทีม- โฆษกคสช

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานภาค. การสนทนากลุ่ม. (Focus Group Disscussion) เข้าถึงได้จาก: http://vijai.or.th

ชำนาญ จันทร์เรือง. [ออนไลน์ ]. (2557, 20 ธันวาคม). เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดแล้วไง. หนังสือพิมพ์ประชาไทย. เข้าถึงได้ จาก: www.prachatai.com/journal/2010/10/31562

ชุมชนคนท้องถิ่น, [ออนไลน์ ]. (2557, 27 เมษายน). เปรียบเทียบข้อดีของระบบผู้ว่าราชการจังหวัดจากการ แต่งตั้งและข้อเสียของระบบผู้ว่าราชการจังหวัดจากการเลือกตั้งเข้าถึงได้ จาก: http://www.thailocalmeet.com/index.php/topic,54291.0/wap2.html.

Brooks, K. W. (1979). Delphi technique: Expanding applications. North Central Association Quarterly, 54 (3), 377-385.

Custer, R. L., Scarcella, J. A., & Stewart, B. R. (1999). The modified Delphi technique : A rotational modification. Journal of Vocational and Technical Education, 15 (2), 1-10.

Green, P. J. (1982, March). The content of a college-level outdoor leadership course. Paper presented at the Conference of the Northwest District Association for the American Alliance for Health, Physical Education, Recreation, and Dance, Spokane, WA.

Ludwig, B. G. (1994). Internationalizing Extension: An exploration of the characteristics evident in a state university Extension system that achieves internationalization. Unpublished doctoral dissertation, The Ohio State University, Columbus.

Ludwig, B. [ออนไลน์]. (2015, May). Predicting the future: Have you considered using the Delphi methodology? (1997) Journal of Extension, 35 (5), 1-4.

Manz, C. & Sims, H. (1990). Superleadership : Leading Others to Lead Themselves. Berkley Trade. Manz, Charles ; Henry Sims (2001). The new superleadership: leading others to lead themselves. Berrett-Koehler Publishers. p. 242.

Macmillan, T. T. (1971). The Delphi technique. In Paper presented at the annual meeting of the California junior colleges associations committee on research and development. Monterey, California: California Junior Colleges.

Miller, L. E. (2006). Determining what could/should be: The Delphi technique and its application. Paper presented at the meeting of the 2006 annual meeting of the Mid-Western Educational Research Association, Columbus, Ohio.

Ulschak, F. L. (1983). Human resource development: The theory and practice of need assessment. Reston, VA: Reston Publishing Company, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-12