ศึกษาวิเคราะห์หลักธรรมที่ปรากฏในคัมภีร์มหายานศรัทโธตปาทศาสตร์

ผู้แต่ง

  • แม่ชีธรรมอธิษฐาน พรบันดาลชัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อ ศึกษาคัมภีร์มหายานศรัทโธตปาทศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมที่ปรากฏในคัมภีร์มหายาน ศรัทโธตปาทศาสตร์ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าหลัก ธรรมที่ปรากฏในคัมภีร์มหายานศรัทโธตปาทศาสตร์ ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากคัมภีร์มหายานศรัท โธตปาทศาสตร์ โดยใช้ฉบับแปลภาษาไทยของ อาจารย์กัมพล สิริมุนินท์ และฉบับแปลภาษาอังกฤษ ของศาสตราจารย์โยชิโตะเอส. ฮะเกดะ ผู้ปริวรรต และอรรถาธิบาย ซึ่งเป็นสำนวนต้นฉบับภาษาจีน สำนวนแปลของท่านปรมารถะ รวมทั้งเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนามหายาน 
ผลการวิจัยพบว่า 
              คัมภีร์มหายานศรัทโธตปาทศาสตร์เป็นคัมภีร์ ในยุคต้นๆ ที่ได้รจนาขึ้น โดยเชื่อว่าเป็นผลงานของ ท่านอัศวโฆษ เพื่อสร้างความเข้าใจต่อศรัทธาขั้นพื้น ฐานต่อพระพุทธศาสนามหายาน แต่ไม่ปรากฏหลัก ฐานที่ชัดเจนว่าแต่งขึ้นเมื่อใด ต่อมาพบงานแปลที่ได้ รับการถ่ายทอดจากภาษาสันสกฤตสู่ภาษาจีน และ ตกทอดมาถึงปัจจุบันมีเพียง 2 สำนวนเท่านั้น คือ (1) ฉบับแปลของท่านปรมารถะ ประมาณ ค.ศ. 550 หรือ พ.ศ. 1093 (2) ฉบับแปลของท่านศิกษานันทะ ประมาณ ค.ศ. 700 หรือ พ.ศ. 1243 
              หลักธรรมที่พบในคัมภีร์มหายานศรัทโธตปาท ศาสตร์เป็นหลักธรรมที่เกี่ยวกับเรื่องจิตหนึ่งมโนวิช ญาณในฐานะเปน็ ความรูสึ้กนึกคิด กิเลสในฐานะเปน็ ความเศร้าหมองของจิต ศูนยตา, ตถตาในฐานะเป็น ธรรมพื้นฐานของสรรพสิ่ง หลักธรรมเกี่ยวกับสัมโพธิ ญาณ การปฏิบัติบำเพ็ญ และแนวทางการส่งเสริม การปฏิบัติเพื่อเข้าถึงโพธิจิต 
              คุณค่าหลักธรรมที่ปรากฏในคัมภีร์มหายานศรัท โธตปาทศาสตร์ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ 
              1. มีคุณค่าต่อการขจัดอัญญาณ ด้วยการเข้าใจ กระบวนการทำงานของจิตและกิเลส จนพบทางออก 
              2. มีคุณค่าต่อการเข้าถึงศูนยตา ด้วยการคลาย ความยึดติดผูกพันต่อสรรพสิ่ง ว่าเป็นเพียงสิ่งอาศัย กันเกิดดับเท่านั้น 
              3. มีคุณค่าต่อการปฏิบัติตามโพธิสัตวมรรค ศรัทธา ด้วยการมีจิตเมตตากรุณาต่อสรรพสัตว์และ การช่วยเหลือกันและกันในสังคมด้วยความเชื่อมั่นใน วิถีแห่งโพธิสัตว์ 
              4. มีคุณค่าต่อการเรียนรู้ศัพทศาสตร์ของ มหายานด้วยการศึกษาและเข้าใจในบริบทแห่งศัพท์ ที่ใช้เพื่อเข้าถึงเจตนาที่แท้ในพระพุทธศาสนา ตลอด ถึงการนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

References

1. ภาษาไทย
ข้อมูลปฐมภูมิ
อัศวโฆษ. (2535). คัมภีร์มหายานศรัทโธตปาทศาสตร์. (กัมพล สิริมุนินท์,ถอดความ). ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี.

มหาเถรสมาคม. (2549). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับเ ฉลิมพระเ กียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 30 ปี พ.ศ. 2549.(เล่มที่ 11, 12, 19).กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ข้อมูลทุติยภูมิ
1) หนังสือทั่วไป
ปีเตอร์เดลลา สันตินา. (2549). ต้นไม้แห่งโพธิ. (สมหวัง แก้วสุฟอง,แปล).พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่: บริษัทบี เอส ดี การพิมพ์จำกัด.

เสถียร โพธินันทะ. (2541). ปรัชญามหายาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

เสถียร โพธินันทะ. (2543). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา . พิมพ์ครั้ง ที่ 4 . นครปฐม : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

เสฐียรพันธรังษี. (2543).พุทธศาสนามหายาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-12