การศึกษาเชิงวิเคราะห์วิญญาณฐิติ 7 ในพุทธศาสนาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • ทรงศักดิ์ เทพสุวรรณวร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษา หลักคำสอนเรื่องวิญญาณ 2) เพื่อศึกษาวิญญาณ ฐิติ 7 ในพุทธศาสนาเถรวา 3) เพื่อวิเคราะห์ความ สัมพันธ์ของวิญญาณฐิติ 7 ในพุทธศาสนาเถรวาท โดยศึกษาจากเอกสารปฐมภูมิ คือ พระไตรปิฎก อรรถกถา และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 
ผลการวิจัยพบว่า 
              วิญญาณฐิติ 7 นั้น หมายถึง ที่ตั้งแห่งวิญญาณ วิญญาณ คือ ความรู้แจ้งแห่งอารมณ์ ฐิติแปลว่า ที่ ตั้ง หรือหมายถึง ร่างกายนี้เอง คำอธิบายในพระ ไตรปิฎกว่า คือ สัตว์ที่มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เป็นวิญญาณฐิติที่ 1 ถือได้ว่า วิญญาณ คือ ความรู้ แจ้งอารมณ์อันเป็นคำกลางๆ แต่จะเรียกแตกต่าง กันออกไปตามปัจจัยที่เกี่ยวข้อง นั้นคือ วิญญาณใน ร่างกาย เมื่อแยกกันทำหน้าที่แต่ละอย่าง แต่ละขณะ และแต่ละหน้าที่ในช่วงข้ามภพข้ามชาติ มีคำเรียก จุติจิต ปฏิสนธิจิต หรือ จุติวิญญาณ ปฏิสนธิวิญญาณ ในอรรถกถามโนรถปูรณีว่า วิญญาณฐิติ คือ ที่ตั้งของ ปฏิสนธิวิญญาณ แปลว่า ภูมิที่ตั้งของวิญญาณ ถือ หลักตามพระพุทธพจน์ คือ สัตว์ประเภทต่างๆ มี ชั้นสูงชั้นตํ่า มีความหยาบและความละเอียดต่างกัน แยกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 7 ประเภท โดยมีกรรมเป็น ปัจจัยจำแนกสัตว์ให้เลวหรือประณีต ในทางพุทธศาสนามีคำสอนที่ช่วยให้ไม่ตกไปสู่ วิญญาณฐิติชั้นตํ่าที่เป็นวินิบาต และคำสอนที่ให้ เลื่อนขั้นมาอยู่ในวิญญาณฐิติระดับสูงคือ พรหมภูมิ ก็ด้วยการขวนขวยในกุศลกรรมเท่านั้น แต่ก็ยังไม่ใช่ สิ่งที่จะประกันถึงความสิ้นทุกข์ได้ จึงต้องอาศัย การ ฝึกตนด้วยวิปัสสนากรรมฐาน จนเกิดปัญญา คือ วิปัสสนาญาณ เป็นต้น จึงจะเป็นกระบวนการที่นำ ไปสู่ความพันทุกข์อันเป็นที่สุดได้ 
               การศึกษาเรื่องวิญญาณฐิติ 7 จึงมีประโยชน์ต่อ สังคมไทย ที่ควรส่งเสริมให้มีการสอนและเผยแผ่ให้ เป็นที่รู้จักและมีความเข้าใจในสังคมไทย โดยอาศัย การสนับสนุนจากหลายฝ่าย คือ รัฐบาล วัด โรงเรียน ชุมชม เปน็ ตน้ ก็จะสามารถนำมาซึ่งความมุง่ กระทำ ดีต่อกันในสังคม ไม่เบียดเบียนประทุษร้ายต่อกัน ทำให้สังคมเกิดความสงบสุข เปี่ยมด้วยสันติภาพ

References

1. ข้อมูลปฐมภูมิ
มหามกุฏราชวิทยาลัย, มูลนิธิ. พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่ม 13. 16. 17. 23. 32. 36. 37. 40. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2554.

2. ข้อมูลทุติยภูมิ
1) หนังสือทั่วไป
คณะกรรมการโครงการจัดสร้างพระไตรปิฎกนิสสยะ. พระไตรปิฎกนิสสยะ [เล่ม1] ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [ภาค1]. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม : บริษัท ซีเอไอ เซ็นเตอร์ จำกัด, 2548.

ชัยพฤกษ์ เพ็ญวิจิตร. พุทธประวัติเชิงวิทยาศาสตร์ เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2556.

พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. พุทธจักรวาลวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2550.

พระอาจารย์ทูล ขิปฺปปญฺโญ. รวมกระแส. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. สัมพันธ์พานิชย์, 2539.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-12