การนำหลักพุทธธรรมมาใช้กับกระบวนการล้มละลายและฟื้นฟูกิจการที่กระทบต่อสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะได้รับชำระหนี้
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ การนำหลักพุทธธรรมมาใช้ในกระบวนการล้มละลาย และฟื้น ฟูกิจการที่กระทบต่อสิทธิของเจ้า หนี้ที่จะได้ รับชำระหนี้
จากการศึกษาพบว่า การให้ลูกหนี้เข้ากระบวนการ ล้มละลายหรือฟื้นฟูกิจการ มิได้มีผลกระทบต่อ ลูกหนี้เพียงอย่างเดียว เจ้าหนี้จะได้รับผลกระทบ ไปด้วย และด้วยเหตุที่กระบวนการล้มละลายและ ฟื้นฟูกิจการเปิดโอกาสให้มีการปรับลดจำนวนหนี้ และขยายเวลาการชำระหนี้ ลูกหนี้จึงอาจอาศัย กระบวนการนี้เป็นเครื่องมือประวิงเวลาการชำระ หนี้ ไม่ชำระหนี้ หรือปลดหนี้ให้กับตนเอง
หลักพุทธธรรมที่เกี่ยวข้องและใช้กับกระบวนการ ล้มละลายและฟื้นฟูกิจการ ประกอบไปด้วย หลัก พุทธธรรมกลุ่มที่ว่าด้วย ศีลข้อ 2 และ ข้อ 4 พรหม วิหาร 4 และ หิริ โอตตัปปะ อันเป็นหลักพุทธธรรม ที่เป็นไปเพื่อความไม่เบียดเบียน และหลักพุทธธรรม อีกกลุ่มหนึ่งคือ การละวางอคติ 4 ธัมมัญญู และ อัตถัญญู การงานที่ไม่อากูล และการงานที่ไม่มีโทษ อาชีวปาริสุทธิศีล และปัจจยสันนิสสิตศีล อันเป็น หลักพุทธธรรมด้านปัญญา กระบวนการล้มละลาย และฟื้นฟูกิจการควรมีหลักพุทธธรรมทั้ง 2 ส่วน กำกับ เพื่อมิให้กระบวนการล้มละลายและฟื้นฟู กิจการไม่ตกเป็นเครื่องมือของลูกหนี้ผู้ทุจริตประวิง เวลาการชำระหนี้ ไม่ชำระหนี้ หรือปลดหนี้ และเพื่อ ช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินกระบวนการล้มละลาย และฟื้นฟูกิจการโดยใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองให้ รอบคอบ
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิพม์มหาจุฬลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
ข. ข้อมูลทุติยภูมิ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์.พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์ผลิธัมม์, 2558.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 40.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์, 2557.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต).นิติศาสตร์แ นวพุท ธ . พิมพ์ครั้ง 6 . กรุงเทพมหานคร: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด, 2550.
สิทธิชัย ลีลาโสภิต.“ศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษา สถานบันตุลาการ
ศาลยุติธรรมไทย”.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2552.
โสภณ รัตนากรณ์. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยหนี้.พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติบรรณาการ, 2553.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความวิชาการและบทความวิจัยในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศาส์น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์