ภาษาถิ่นกับวัฒนธรรมพื้นบ้านชาวภูไท กุฉินารายณ์ กาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • กิตติวัจน์ ไชยสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บทคัดย่อ

 ภาษาเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่ง อย่างหนึ่งของชาติเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นชาติ ที่สะท้อนให้ทราบถึงสภาพอารมณ์ ความรูสึ้ก ความคิด ปรัชญา ค่านิยม รวมถึงสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเหตุการณ์ช่วงต่างๆ ในประวัติศาสตร์ วิธีทำความเข้าใจระหว่างคนกับคน เป็นการสื่อสาร ที่แสดงออกได้หลายวิธี เช่น การพูด การเขียน การ แสดงท่าทาง 
            ความหมายภาษาถิ่นผู้ไท คือ คำที่ใชเ้รียกภาษา ที่ใช้พูดกันในหมู่ผู้คนที่อยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ต่างๆ กัน โดยมีลักษณะเฉพาะที่สำคัญของภาษา นั้น ซึ่งแสดงถึงขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมประเพณี และเอกลักษณ์ของท้องถิ่น สามารถทำให้ผู้พูดและ ผู้ฟัง มีความรู้สึกว่าเป็นกลุ่มเดียวกัน การที่จะเรียน รู้วัฒนธรรมพื้นบ้านต้องอาศัยสืบภาษาถิ่น เพราะ ภาษาแสดงถึงวิถีชีวิตที่แท้จริงของชุมชมนั้นๆ ภาษาถิ่นภูไท จะมีเอกลักษณ์ทางภาษาของตนด้วย และมักเป็นเรื่องของภาษาพูด หรือภาษาท่าทาง มากกว่าการกำหนดภาษาหลัก หรือภาษาถิ่นนั้น นักภาษาศาสตร์จะพิจารณาคุณลักษณะในเชิงภาษา เท่านั้น ตัวอย่างเช่น ภาษาภูไท และภาษาลาว ถือว่า ต่างก็เป็นภาษาถิ่นของกันและกัน แต่เนื่องจากภาษา ถิ่นทั้งสองอยูใ่ นพื้นที่ทางภูมิศาสตรข์ องสองประเทศ โดยทั่วไปจึงถือว่าเป็นคนละภาษาหากชุมชนในท้อง ถิ่นใช้ภาษาหรือสอดแทรกในภาษาถิ่นในการนำชม วัฒนธรรมพื้นบ้านในเผ่าของตนเองก็จะทำให้มีเสน่ห์ ให้กับวัฒนธรรมของตนเอง การใช้ภาษาถิ่นนอกจาก จะแสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์แล้วก็ยังเป็นการ อนุรักษ์ส่งเสริมให้กับชุมชนของตนเอง

References

พิเชฐ สายพันธ์, ผู้ไท: ข้อถกเถียงทางประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ จุลสารไทยคดีศึกษา 18,2 (พ.ย.44-ม.ค.45) หน้า 44-52 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพฯ, 2544.

_________ เมืองแถง-เดียนเบียนฟู: การเมืองชาติพันธุ์และการเปลี่ยนผ่าน สู่รัฐสังคมนิยมของกลุ่มไทในเวียดนาม, วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา 30 (1) มกราคม-มิถุนายน, 2544. https://www.gotoknow.org/posts/398713

http://socanth.tu.ac.th/wp-content/uploads/2012/02/JSA30-๑-pichet.pdf

พิชชยา อุทโท หัวหน้าทีม (team leader) การอนุรักษ์และฟื้นฟูคุณค่าของภาษาผู้ไท www.pootai.netall rights reserved:all rights reserved:Chaiyasuk, Thanyalak และ AsgerMollerup. ภาษาผู้ไท เพื่อสุขภาพ กรุงเทพฯ, 2556,
http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/dialect/

ข้อมูลประกอบจากอินเทอร์เน็ตและแหล่งข่าวออนไลน์ราชบัณฑิตยสถาน www.royin.go.th

จาก ASTV ผู้จัดการรายวัน บทความเรื่อง ภาษาถิ่นที่สูญหาย ความตายของวัฒนธรรม

จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ออนไลน์ http://www.dailynews.co.th เบื้องหลังการผลิตผลงาน http://www/dailynews.co.th/education/149797, http://www.ipesp.ac.th/learning/thai/chapter 4-2.html, www.isan.clubs.
chula.ac.th

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม Copyright by Department of Cultural Promotion 14 ถนนเทียมร่วมมิตร เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-12