ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2

ผู้แต่ง

  • พระสิฏฐชวิชญ์ สุปฏิปนฺโน (วงศ์อนุการ)
  • ศาสตราจารย์ ดร.ดำรงค์ เบญจคีรี

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา, องค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษา ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 2) เพื่อศึกษาองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 และ 3) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการ เปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อ องค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 กลุ่ม ตัวอย่าง ได้แก่ สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 จำนวน 97 แห่ง โดยมีผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ และครู รวมทั้งหมด 375 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการ เปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา และองค์การแห่ง การเรียนรู้ของสถานศึกษา สำหรับสถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสมการถดถอยพหุคูณ แบบเป็นขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมลูโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า:
           1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษานครปฐม เขต 2 มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้านอยู่ในระดับมาก ทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการมีอิทธิพล เชิงอุดมการณ์ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบคุคล และด้านการกระตุ้นทางปัญญา ตามลำดับ
          2. องค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครปฐม เขต 2 มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้านอยู่ในระดับมาก ทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านการเป็นบุคคลที่รอบรู้ ด้านการเรียนรู้ร่วมกัน เป็นทีม ด้านการคิดเชิงระบบ ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ ร่วมกัน และด้านการมีรูปแบบการคิด ตามลำดับ
          3. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร สถานศึกษาส่งผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ต่อองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 เรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ด้านการสร้าง แรงบันดาลใจ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา และด้านการ คำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 68.30 (R2 = 0.683) สามารถเขียนเป็นสมการวิเคราะห์การถดถอยได้ ดังนี้
         สมการคะแนนดิบ P1.jpg = 1.004 + 0.402 (ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ) + 0.203 (ด้านการกระตุ้ นทางปัญญา) + 0.164 (ด้านการคำนึงถึงความเป็น ปัจเจกบุคคล) สมการคะแนนมาตรฐาน P2.jpg = 0.458 Z (ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ) + 0.224 Z (ด้านการ กระตุ้นทางปัญญา) + 0.190 Z (ด้านการคำนึงถึงความ เป็นปัจเจกบุคคล) คำสำคัญ: ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร สถานศึกษา, องค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา A

Author Biographies

พระสิฏฐชวิชญ์ สุปฏิปนฺโน (วงศ์อนุการ)

นิสิตหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามงกุฏราชวิทยาลัย 

ศาสตราจารย์ ดร.ดำรงค์ เบญจคีรี

อาจารย์ที่ปรึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามงกุฏราชวิทยาลัย

References

กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่กำรศึกษำประถม ศึกษานครปฐม เขต 2. (2558). แผนปฏิบัติการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557. นครปฐม : ทองบุญการพิมพ์.

จรุณี เก้าเอี้ยน. (2557). เทคนิคการบริหารงานวิชำการในสถานศึกษา : กลยุทธ์และแนวทางการปฏิบัติสำหรับ ผู้บริหำรมืออำชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา : ชานเมืองการพิมพ์.

จันทรานี สงวนนาม. (2553). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถำนศึกษำ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : บุ๊คพ้อย.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทำงสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้น ส่วนสามัญ บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

ธีระ รุญเจริญ. (2555). ความเป็นมืออาชีพในกำรจัดและบริหารกำรศึกษา ยุคปฏิรูปการศึกษา : เพื่อปฏิรูปรอบ 2 และประเมินภายนอกรอบ 3. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.

ฝ่ายวิชาการ สำนักพิมพ์เดอะบุคส์. (2556). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชำติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับ ที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : เดอะบุคส์.

พัชสิรี ชมพูคำ. (2552). องค์การและการจัดการ Organizational and Management. กรุงเทพฯ : แมคกรอ-ฮิล.

ภารดี อนันต์นาวี. (2557). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทำงการบริหารการศึกษำ. พิมพ์ครั้งที่ 5. ชลบุรี : มนตรี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครปฐม เขต 2. (2560). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. นครปฐม : ทองบุญการพิมพ์.

กฤติยา จันทรเสนา. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภำวะผู้นำกับองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปกร.

กิตติธัช แจ้งสว่าง. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้กับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ในโรงเรียน มาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานี. ปริญญาศึกษา ศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ธุมากร เจดีย์คำ. (2559). การศึกษำความสัมพันธ์ระหว่ำงภำวะผู้นำกำรเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษำกับ ประสิทธิผลในกำรบริหารสถานศึกษำขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จันทบุรี. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

นภาภรณ์ แสงฤทธิ์. (2555). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อองค์การแห่งการเรียนรู้ ของ สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ฉะเชิงเทรา เขต 2. วทิยานพินธค์รศุาสตร มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ยุวดี แก้วสอน. (2558). ภษวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏ รำไพพรรณี.

ศิริกาญจน์ ช่วยจันทร์. (2556). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อสภาพการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ของโรงเรียน สังกัสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสงขลา เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

สมถวิล ศิลปะคนธรรพ์. (2556). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมทุรสาคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษา ศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปกร.

สมหมาย โอภาษี. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนกับความพึงพอใจในกำรปฏิบัติงำนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

Bass & Avolio. (1994). Improving Organizational Effectiveness Through Transformational
Leadership. Thousand Oaks : Sage Pubications. Senge, P. M. (2006). The fifth discipline : The art and practice of the learning organization. New York : Doubleday

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-02