ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุที่ใช้รถเข็น ต่อสมรรถภาพทางกายและความคาดหวังความสามารถตนเอง ในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ผุสดี ชูชีพ

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุที่ใช้รถเข็ญ, โปรแกรมการออกกำลังกาย, ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน, การรับรู้ความสามารถและความคาดหวัง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) เพื่อศึกษา ผลของ โปรแกรมการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุที่ใช้รถเข็น ต่อสมรรถภาพทางกายและความคาดหวังความสามารถ ตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่ใช้รถเข็น จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบบันทึก ข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกการทดสอบสมรรถภาพ ทางกาย แบบประเมนิความสามารถในการปฏบิตักิจิวัตร ประจำวันแบบสัมภาษณ์การรับรู้ความสามารถตนเองใน การออกกำลังกาย แบบสัมภาษณ์ความคาดหวังใน ผลดีของการออกกำลังกาย และโปรแกรมการออกกำลัง กาย ผลการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาของ โปรแกรมการออกกำลังกาย เท่ากับ .78 และผลการ ตรวจสอบความเชื่อมั่นของการรับรู้ความสามารถตนเอง ในการออกกำลังกาย และความคาดหวังในผลดีของ การออกกำลังกายด้วยค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคแอลฟา (Cronbach ’s alpha coefficient) เท่ากับ .80 และ .82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติเชิงอนุมาน ด้วยการทดสอบค่าที (T-test )
        ผลการวิจัยพบว่า
        1. สมรรถภาพทางกาย พบว่า ค่าเฉลี่ยความ แข็งแรงของการงอพับแขนขวา ก่อนและหลังการทดลอง มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t= -.789, P=.00) และ ค่าเฉลี่ยของความอ่อนตัว ของร่างกายส่วนบน ก่อนและหลังการทดสอบมีความ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t= -2.57, P=.01) ส่วนด้านอื่น ๆไม่แตกต่างกัน
        2. ค่าเฉลี่ยของความสามารถในการปฏิบัติ กิจวัตรประจำวัน ของกลุ่มตัวอย่างหลังทดลองลดลง ก่อนและหลังการทดลองไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t= .052, P=.959) 
        3. คา่เฉลี่ยของการรับรู้ความสามารถตนเอง ในการออกกำลังกายของผู้สูงอายุที่ใช้รถเข็ญโดยการ ทดสอบค่าที่พบว่า การรับรู้ความสามารถตนเองในการ ออกกำลังกายของผู้สูงอายุที่ใช้รถเข็นก่อนและหลังการ ทดลองมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (t= -3.756, P=.001)
        4. ค่าเฉลี่ยของความคาดหวังในผลดีของ การออกกำลังกายของผู้สูงอายุที่นั่งรถเข็นโดยการ ทดสอบค่าที พบว่า ความคาดหวังในผลดีของการออก กำลังกายของผู้สูงอายุที่ใช้รถเข็นก่อนและหลังการ ทดลองมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (t= -3.97, P=.001)
 

Author Biography

ผุสดี ชูชีพ

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

References

กนกวรรณ ศิลปกรรมพิเศษ วรรัตน์ สุขคุ้ม และ วราณี สมัฤทธิ์. (2554). ผลการเพิ่มสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรม การบริโภค การออกกำลังกายและค่าดัชนีมวลกายของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 25(3), 31- 48.

กิตติกา ธนะขว้าง และจันตนา รัตนวิฑูรย์. (2556). ผลของการรำไม้พลองเซิ้งเมืองน่านต่อสมรรถภาพทางกายและ คณุภาพชีวิตด้านสขุภาพผู้สูงอายุหญิงที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ. วารสารพยาบำล. 40(2), 148-161.

นริศรา อารีรักษ์. (2557). ผลของการออกกำลังกายแบบผสมผสานต่อภาวะสขุภาพ สมรรถภาพทางกายและความ คาดหวังความสามารถตนเองของผู้สูงอายู. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการ สุขภาพ. มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์

นริศรา อารีรักษ์ กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ และนวัสนันท์ วงศ์ประสิทธิ์. (2558). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกาย แบบผสมผสานต่อภาวะสุขภาพสมรรถภาพทางกาย และความคาดหวังความสามารถตนเองของผู้สูงอายุ. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพำ. 10(2), 66-76.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. 2556. รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2555. กรุงเทพฯ: บริษัท ที คิว พี จำกัด

วลัยพร นันท์ศุภวัฒน์. (2552). การพยาบาลผู้สูงอายุ : ความท้าทายกับภาวะประชากรสูง. พิมพ์ครั้งที่ 2. โครงการ ตำราทางการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : มหาสารคาม.

วิชนี จั่นมุกดา และ ปิยะภัทร เดชพระธรรม. (2551). ผลการออกกำลังกายด้วยการรำไม้พลองป้าบุญมีแบบประยุกต์ ต่อการทรงตัว ความยืดหยุ่น และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของผู้สูงอายุ. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร. 18 (2), 59-64.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็กเยาวชน ผู้ด้อย โอกาสและผู้สูงอายุ. (2557). รายงานประจำปีงบประมาณ 2556.

ศิวนารถ จารุพันธ์ รวีวรรณ เผ่ากัณหา รัชนีภรณ์ ทรัพย์กรานนท ์และนัยนา พิพัฒน์วณิชชา. (2554). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายรำไม้พลองป้าบุญมีแบบประยุกต์ร่วมกับทฤษฏีความสามารถตนเองต่อภาวะซึมเศร้ำ และสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชรา. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 19(1),42-56.

หทัยรัตน์ ตัลยารักษ์. (2556). การพัฒนานวัตกรรมการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความสามารถในการดำเนินชีวิต ประจำวันของผู้สูงอายุในจังหวัดนครศรีธรรมราช. คณะวิทยาศาสตรแ์ละเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครศรีธรรมราช.

อรวรรณ แผนคง และอรทัย สงวนพรรค. (2555). ผลของการออกกำลังกายแบบรำไทยประยุกต์ต่อสมรรถภาพ ทางกาย ความสามารถในการปฏิบัตกิจวัตรประจำวันและความผาสุกในชีวิตของผู้สูงอายุ. พยาบาลสาร. 39 (ฉบับพิเศษ),118-120.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-03

How to Cite

ชูชีพ ผ. (2019). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุที่ใช้รถเข็น ต่อสมรรถภาพทางกายและความคาดหวังความสามารถตนเอง ในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ จังหวัดปทุมธานี. วารสารบัณฑิตศาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 16(2), 105–115. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mgsj/article/view/199800