วุฑฒิธรรม 4 หลักในการดำเนินชีวิตที่ดีด้วยเศรษฐกิจพอเพียง ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0

ผู้แต่ง

  • โสภณ ขําทัพ

คำสำคัญ:

วุฑฒิธรรม 4, การดําเนินชีวิตที่ดีด้วยเศรษฐกิจพอเพียง, นโยบายไทยแลนด์ 4.0

บทคัดย่อ

           บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักธรรมวุฑฒิธรรม 4 และการประยุกต์วุฑฒิธรรม 4 ในการดำเนินชีวิตที่ ดีด้วยเศรษฐกิจพอเพียงตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 โดยมีขอบเขตในการศึกษาด้วยเอกสารปฐมภูมิจาก พระไตรปิฎกและข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารอื่นๆ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาในวุฑฒิธรรม 4 คุณธรรม ที่ก่อให้เกิดความเจริญงอกงาม ซึ่งประกอบไปด้วย การคบหาสัตบุรุษ การใส่ใจเล่าเรียน การรู้จักคิด พิจารณาหาเหตุผลและการนำไปดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ตามธรรม ซึ่งส่งผลให้มีการดำเนินชีวิตที่ดี อันเป็นหลัก ธรรมที่ควรศึกษาและปฏิบัติตนเพื่อพัฒนากาย วาจา และจิตใจหรือสติปัญญาให้สูงขึ้น เป็นระบบการ ดำเนินชีวิตที่ทำให้บุคคลมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน และบูรณาการ จนทำให้มนุษย์เป็นองค์รวม ของการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ
           การดำเนินชีวิตที่ดีด้วยเศรษฐกิจพอเพียงตาม นโยบายไทยแลนด์ 4.0 เป็นการรับรู้ เรียนรู้ และ เข้าใจเพื่อพัฒนาตนอย่างรอบด้านด้วยนวัตกรรม และเทคโนโลยี บนทางสายกลางที่ถูกต้องเหมาะสม กับวิถีชีวิตของคนไทย ซึ่งประกอบไปด้วยความพอ ประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกัน ที่ดี บนพื้นฐานของความรู้และคุณธรรม เป็นการ ดำเนินชีวิตที่ดีด้วยความดีงามตามหลักสัมมาอาชีวะ ที่ส่งผลไปในทางโลกหรือทางสังคม ที่ทำให้สังคมมี เสถียรภาพ มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และก่อให้ เกิดผลในทางธรรมนั่นคือ ทำให้การดำเนินชีวิตมี ความสงบสุขและมั่นคง
          การประยุกต์วุฑฒิธรรม 4 ในการดำเนินชีวิต ด้วยเศรษฐกิจพอเพียงตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 นั้นเป็นการดำเนินชีวิตที่ดีงาม และเกิดความเจริญ งอกงาม อันเป็นหนทางที่จะนำบุคคลเหล่านั้นเข้าสู่ ถึงอิสรภาพทางจิตและเกิดสันติสุขอย่างแท้จริง ทั้งนี้ เป็นเพราะการคบหาสัตบุรุษย่อมเกิดศรัทธา ซึ่งทำ หน้าที่ขจัดความไม่เชื่อ ความสงสัย และความโลภให้ เบาบางลง การใส่ใจเล่าเรียนจะทำหน้าที่ขจัดความ ชั่วตามสมควรแก่สิ่งนั้นๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นอาการของ ความโลภ ความโกรธ และความหลง การรู้จักคิด พิจารณาหาเหตุผลจึงทำหน้าที่ขจัดความตระหนี่ ของความโลภ ความโกรธ ความหลงหรือความเสียดาย ให้เบาบางลง และการนำไปดำเนินชีวิตที่ถูกต้องตาม ธรรมจึงเสมือนกับแสงสว่าง เพราะเมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะทำหน้าที่ขจัดความสงสัยความหลงให้หมดไปจาก จิตใจตามลำดับ

Author Biography

โสภณ ขําทัพ

กรรมการบริหาร โรงเรียนอนุบาลโชตะนันท์จังหวัดนนทบุรี e-mail: shotanan59@gmail.com อาจารย์คณะ ศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเซนจอห์น

References

กรมการศาสนา. (2525). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา.

กมลชนก ศงสนันทน์. (2551). “การประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของพนักงานส่วนท้องถิ่นอําเภอหนองเสือ จังหวัด ปทุมธานี”. สารนิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ณัฏฐพงศ์ ทองภักดี. (2550). “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : ความเป็นมาและความหมาย”. กรุงเทพมหานคร : วรสารพัฒนบริหารศาสตร์ ปีที่ 47, ฉบับที่ 1.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช), (2551). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2545). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 10, กรุงเทพมหานคร : บริษัท สื่อตะวัน จํากัด

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2538). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 6, กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเทพดิลก (ระแบบ ฐิตญาโณ), (2548). นิเทศธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพมหานคร : กองทุนไตรรัตนานุภาพ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2549).พุทธธรรม, ฉบับปรับปรุงขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 11, กรุงเทพมหานคร : กลุ่มผู้สนใจศึกษาธรรม, บริษัทสหธรรมมิก จํากัด,

วิสูตร ธนชัยวิวัฒน์. (2550). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์สูตร ไพศาล.

สุจิตรา ทิพย์บุรี. (2556). “หลักพุทธธรรมที่ส่งผลต่อความสําเร็จในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนรางวัล พระราชทาน”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

สุวิทย์ เมษอินทรี. ประเทศไทย 4.0 สร้างเศรษฐกิจใหม่. เอกสารประกอบการประชุมศาสตร์พระราชา กระทรวง ศึกษาธิการ, 2560.

สํานักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ. (2547). อันเนื่องมาจาก พระราชดําริ. พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่พระราชทานแก่นิสิตในพิธีพระราชทานปริญญา บัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517, กรุงเทพมหานคร : รุ่งศิลป์การพิมพ์.

โสภณ ขําทัพ. (2551). “เศรษฐกิจพอเพียงในบริบทวิถีชีวิตแบบพุทธตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎก”.วิทยานิพนธ์พุทธ ศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

อภิชัย พันธเสน. (2549). สังเคราะห์องค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร : สํานักงานกองทุนสนับสนุน การวิจัยกรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-05