ภาวะผู้นำของพระโพธิสัตว์
บทคัดย่อ
พระโพธิสัตว์ที่ได้บำเพ็ญบารมีในแต่ละภพชาติ นั้นสื่อให้เห็นถึงภาวะผู้นำที่ท่านแสดงออก ภาวะ ผูน้ำอาศัยการเสริมสร้างปฏิบัติใหเ้ กิดขึ้น ดังเช่น พระโพธิสัตว์ทั้ง 10 พระองค์ที่เสวยชาติเพื่อบำเพ็ญบารมี แต่ละบารมี ได้แก่ พระเตมีย์ บำเพ็ญเนกขัมมะบารมี เพราะต้องการจะออกบวชจึงได้แสดงเป็นคนพิการ ถึง 16 ปี พระมหาชนก บำเพ็ญวิริยะบารมี เพราะ ต้องทนว่ายนํ้าเป็นเวลา 7 วัน และมีความพยายาม จะออกบวชด้วย พระสุวรรณสาม บำเพ็ญเมตตา บารมี เพราะไมโ่ กรธตอ่ ผูที้่ทำรา้ ยตนจนถึงตาย พระ เนมิตราช บำเพ็ญอธิษฐานบารมี เพราะเห็นว่าการ ทำความดี ละเว้นความชั่ว และพรหมจรรย์เป็น ธรรมสูงสุดจึงได้อธิษฐานทำความดีด้วยตนเอง พระ มโหสถ บำเพ็ญปัญญาบารมี เพราะได้ใช้ปัญญาช่วย เหลือบ้านเมือง ใช้ปัญญาแก้ไขปัญหาและใช้ปัญญา รักษาตนไว้ พระภูริทัต บำเพ็ญศีลบารมี เพราะเห็น คุณค่าของศีลมีอานิสงส์นำไปเกิดในเทวโลกได้จึง รักษาศีลยิ่งชีวิต พระจันทกุมาร บำเพ็ญขันติบารมี เพราะไม่ยอมทำร้ายใครๆ แม้ตนเองจะถูกเผาทั้ง เป็นก็ตาม พระนารทพรหม บำเพ็ญอุเบกขาบารมี เพราะได้มาช่วยเหลือพระราชาผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิให้ เปน็ สัมมาทิฏฐิ ใหรู้ว้ า่ บุญบาปมีจริง ผลบุญบาปมีจริง พระวิธูรบัณฑิต บำเพ็ญสัจจบารมี เพราะให้สัจจะ ไว้อย่างไรก็ต้องทำอย่างนั้น เมื่อพระราชามอบให้ผู้ อื่นก็ต้องไป และพระเวสสันดร บำเพ็ญทานบารมี เพราะให้สิ่งที่ให้ได้ยากคือ สิ่งมีค่าสำหรับบ้านเมือง คือช้างปัจจยนาค และสิ่งมีค่าของตนคือบุตรธิดา และภรรยา ภาวะผู้นำดังที่กล่าวไว้นั้นเป็นตัวอย่าง ให้ผู้ดำเนินตามได้และส่งผลที่มีคุณค่าทั้งสิ้น
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. อรรถกถาบาลี. ฉบับมหาจุฬาอัฏฐกถา, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2532.
กิติ ตยัคคานนท์. เทคนิคการสร้างภาวะผู้นํา. กรุงเทพมหานคร: เปลวอักษร, 2543.
กวี วงศ์พุฒ. การพัฒนาองค์การและการจูงใจ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ดวงกมล, 2543.
นงลักษณ์ สุทธิวัฒนพันธ์. พัฒนาบุคลิกผู้นําและนักบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2544.
บรรจบ บรรณรุจิ. พระโพธิสัตว์ในนิกายเถรวาท. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์รุ่งแสงการพิมพ์, 2529.
พรนพ พุกกะพันธุ์. ภาวะผู้นําและการจูงใจ. กรุงเทพฯ : จามจุรี โปรดักท์, 2544.
พระธรรมกิตติวงศ์. พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสตร์ ชุดศัพท์วิเคราะห์. กรุงเทพฯ : เลี่ยงเซียง, 2550.
พระธรรมปิฎก, (ป.อ.ปยุตฺโต). ภาวะผู้นํา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2546.
รังสรรค์ ประเสริฐศรี, รศ. ดร. ภาวะผู้นํา. กรุงเทพมหานคร : ธนธัชการพิมพ์, 2544.
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์. วิสัยทัศน์ขุนคลัง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ผู้จัดการ, 2544.
สุวิญ รักสัตย์, ผศ.ดร. พระพุทธศาสนามหายาน. กรุงเทพฯ : บางกอกบล็อก, 2552.
พระมหาภูมิฤกษ์ บุญตา. “อุดมการณ์โพธิสัตว์ในการพัฒนาชีวิตและสังคม”. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2547.
พระนิเวทย์ ญาณวีโร (เทพารส).“ศึกษาวิเคราะห์เรื่องเนกขัมมบารมีในพุทธปรัชญาเถรวาท”.วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตร มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2549.
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.“ทศบารมีในพุทธศาสนาเถรวาท”. พระราชวิทยานิพนธ์ อักษร ศาสตรบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์, 2523.
พระบุญเรือง ฐิตธมฺโม (สุทธิชัย). “การศึกษาเชิงวิเคราะหภาวะผูนําในพระพุทธศาสนา : ศึกษาเฉพาะกรณีแกปญหา ของพระพุทธเจา”, วิทยานิพนธศาสนศาสตรมหาบัณฑิต,บัณฑิตวิทยาลัย :มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2549.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความวิชาการและบทความวิจัยในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศาส์น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์