ความกตัญญู ปัญญาดี มีเมตตาธรรม : จิตสำนึกเพื่อการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ผู้แต่ง

  • ดร.ยงสยาม สนามพล

บทคัดย่อ

               ตามหลักฐานประวัติศาสตร์ทางพระพุทธ ศาสนาและคัมภีร์พระไตรปิฎกระบุไว้ชัดเจนว่า ตลอดพระชนม์ชีพของพระพุทธเจ้า พระองค์ทรง ดำเนินพระชนม์ชีพสัมพันธ์กับป่ามาโดยตลอด ตั้งแต่ สมัยเป็นพระโพธิสัตว์คือ พระเวสสันดร พระองค์ก็ ทรงบำเพ็ญบารมีธรรมในป่าลึกน้อยใหญ่ เหตุการณ์ สำคัญทางพระพุทธศาสนาล้วนแต่เกิดขึ้นและ เกี่ยวข้องกับป่าโดยตลอด นับตั้งแต่การประสูติ กล่าวคือ พระนางมหามายาเทวี พระมารดาประสูติ เจ้าชายสิทธัตถะ ณ ใต้ต้นไม้สาลาแห่งลุมพินีวัน การตรัสรู้ พระพุทธองค์ตรัสรู้เป็นพระสัมมา สัมพุทธเจ้า ณ ใต้ต้นโพธิ์ (อัสสัตถพฤกษ์) ริมฝั่งแม่ นํ้าเนรัญชรา การแสดงปฐมเทศนา พระองค์ทรง แสดงแก่ปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน วัด ป่าแห่งแรกในพระพุทธศาสนาคือ วัดเวฬุวนาราม หรืออารามป่าไผ่ ซึ่งพระเจ้าพิมพิสารแห่งแคว้นมคธ สร้างถวาย และการประชุมสันนิบาต ประกาศหลัก การสำคัญของพระพุทธศาสนา (จาตุรงคสันนิบาต) เมื่อวันเพ็ญเดือนมาฆะนั้น พระพุทธองค์ ได้ทรง แสดงหลักการสำคัญหรือหัวใจของพระพุทธศาสนา (โอวาทปาติโมกข์) ณ วัดเวฬุวัน นอกจากนี้ตลอด ระยะเวลาแห่งการเผยแผ่พระศาสนาจนถึงวาระ ปรินิพพานนั้น พระองค์ทรงจาริกไปตามป่าและ ทรงแสดงธรรมใต้ร่มไม้หลายแห่ง ดังปรากฏอยู่ ในคัมภีร์พระสูตรและพระวินัยทั่วไป

Author Biography

ดร.ยงสยาม สนามพล

Dr.Yongsiam Sanampol
อาจารย์ประจำสถาบันพลังจิตตานุภาพ

References

มหามกุฏราชวิทยาลัย.พระไตรปิฎกบาลีฉบับสยามรัฐ เลมที่ 2,4,7,8,10,11,12,14,18,19,20,24,25,26,27,29,31 ,35. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย,2538.

สํานักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.พระไตรปิฎก ประมวลคัมภีร์และแหล่งค้นคว้าพุทธศาสน์ฉบับคอมพิวเตอร์ (Budsir VI for Windows). กรุงเทพมหานคร : สํานักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล,2550.

มหามกุฏราชวิทยาลัย,ในพระบรมราชูปถัมภ์.พระไตรปิฎกสําหรับประชาชน.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราช วิทยาลัย หน้าวัดบวรนิเวศวิหาร, 2535.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-05