ปัญญารู้แจ้งสภาวธรรมปัจจุบันขณะในการเจริญวิปัสสนาภาวนา
คำสำคัญ:
ปัญญารู้แจ้ง, สภาวธรรม, ปัจจุบันขณะ, วิปัสสนาภาวนาบทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาวธรรมปัจจุบันขณะในคัมภีร์ พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการเจริญ วิปัสสนาภาวนาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และ 3) เพื่อศึกษาปัญญารู้แจ้งสภาวธรรมปัจจุบัน ขณะในการเจริญวิปัสสนาภาวนา โดยเป็นการวิจัย เชิงเอกสารที่ศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา คัมภีร์และตำราต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง สรุปวิเคราะห์ เรียบเรียงบรรยายเชิงพรรณนา และตรวจสอบโดย ผู้เชี่ยวชาญผลการศึกษาพบว่า
สภาวธรรมปัจจุบันขณะ คือสภาวธรรมที่เป็น ปัจจุบันของขันธ์ 5 หรือรูปนาม ที่ปรากฏขึ้นเฉพาะ หน้า คำว่า ปัจจุบันขณะจำแนกเป็น 3 ประเภทคือ 1) ปัจจุบันโดยขณะ เมื่อจิตดวงหนึ่งๆ ถึงขณะทั้ง 3 คือ เกิด ขึ้น ตั้งอยู ่ และดับไป รวมถึงขณะจิตหนึ่งๆ ในวิถีจิตที่ เกิดดับติดต่อกันนั้นมีแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ เดียวเท่าทันที่ทรงหยั่งเห็นดังกล่าวได้ 2) ปัจจุบันโดย สันตติ ที่นับเนื่องด้วยกระแสรูป 1-2 วิถีจิตและกระแส นาม 2-3 วิถีจิตในช่วงนี้จิตรับรู้อารมณ์โดยปรมัตถ์ เทา่ นั้น และรูเ้ ห็นเทา่ ทันความเกิดดับของสภาวธรรมได้ ชัดเจน 3) อัทธาปัจจุบัน คือ ปัจจุบันที่ยาวกว่า 2 ช่วง แรกออกไป
การเจริญวิปัสสนาภาวนามี 4 แบบ ได้แก่ 1) สมถปุพพังคมวิปัสสนาภาวนา 2) วิปัสสนาปุพพังคม สมถภาวนา 3) สมถวิปัสสนายุคนัทธภาวนา และ 4) ธัมมุทธัจจวิคคหิตมานัส การกำหนดรู้อย่างเท่า ทันสภาวธรรมปัจจุบันขณะ มีความสอดคล้องตาม วิธีปฏิบัติแบบที่ 2 คือการเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็น เบื้องต้น โดยการเจริญวิปัสสนาขณิกสมาธิ เมื่อเจริญ ได้จนจิตไม่ซัดส่ายและแนบอยู่กับอารมณ์ปัจจุบันที่ กำหนดรูอ้ ยู ่ สงบจากนิวรณ ์ และมีกำลังเทียบเทา่ กับ อุปจารสมาธิแล้ว จึงกำหนดรู้รูปนามตามลำดับของ โลกียปริญญา 3
ปัญญารู้แจ้งสภาวธรรมปัจจุบันขณะในการ เจริญวิปัสสนาภาวนา ย่อมเกิดขึ้นหลังจากการ กำหนดรูรู้ปนามดว้ ยโลกียปริญญา 3 โดยเปน็ การละ ธรรมหรือต้นเหตุต่างๆ อันเป็นเครื่องปิดกั้นสภาวธรรม ความเป็นจริงของรูปนามได้โดยลำดับเริ่มด้วย 1) ญาตปริญญากอ่ ใหเ้ กิดปญั ญารูแ้ จง้ ลำดับที่ 1 นามรูป ปริจเฉทญาณ ถึงลำดับที่ 2 ปัจจยปริคคหญาณญาณ ทั้งสองนี้เป็นการเริ่มต้นการละสักกายทิฏฐิ และการ หยั่งเห็นอนัตตลักษณะของรูปนาม 2) ตีรณปริญญา ก่อให้เกิดปัญญารู้แจ้งลำดับที่ 3 สัมมสนญาณ คือ ประจักษช์ ัดพระไตรลักษณ ์ และเมื่อรูชั้ดความเกิดดับ ของรูปนามแบบสันตติขาดและรูเ้ ทา่ ทันวิปสั สนูปกิเลส เป็นปัญญารู้แจ้งลำดับที่ 4 อุทยัพพยญาณ และ 3) ปหานปริญญาก่อให้เกิดปัญญารู้แจ้งลำดับที่ 5 ภังคญาณ ถึงลำดับที่ 12 อนุโลมญาณ โดยภังคญาณ เป็นการรู้ชัดอนิจจลักษณะมากที่สุดลำดับที่ 9 มุญจิตุกัมยตาญาณเป็นการรู้ชัดทุกขลักษณะมาก ที่สุด เมื่อจิตวางเฉยมีใจเป็นกลางในรูปนามได้ เป็น ปัญญารู้แจ้งลำดับที่ 11 สังขารุเปกขาญาณ ลำดับ ที่ 12 อนุโลมญาณจะเกิดติดตามมาและนำไปสู่การ ปรากฏแห่งมรรคได้
References
(1) พระไตรปิฎก:
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ 29 ,17 ,14 ,12, 31. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถาแปล เล่มที่ 76, 68, 69. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏ ราชวิทยาลัย, 2527.
(2) ฎีกา และปกรณ์วิเสส: พระพุทธโฆสเถระ. คัมภีร์วิสุทธิมรรค. แปลและเรียบเรียงโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธนาเพรส จํากัด, 2551.
พระอนุรุทธะและพระญาณธชนะ. อภิธัมมัตถสังคหะและปรมัตถทีปนี, แปลโดยพระคันธสาราภิวงศ์.พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจํากัด ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์, 2552.
ข. ข้อมูลทุติยภูมิ
(1) หนังสือ:
พระเทพมุนี (วิลาศ ญาณวโร ป.ธ. 9). วรรณกรรมไทยเรื่องกรรมทีปนี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, 2527.
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก. การปฏิบัติกรรมฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2551.
_________.ธรรมาภิธาน. กรุงเทพมหานคร:บริษัท อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จํากัด (มหาชน). 2552.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ.พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2551.
พันตรีป. หลงสมบุญ. พจนานุกรม มคธ-ไทย. กรุงเทพมหานคร: อาทรการพิมพ์, 2540.
พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ).วิปัสสนาชุนี หลักการปฏิบัติวิปัสสนา (ฉบับสมบูรณ์). แปลโดยจํารูญ ธรรมดา. กรุงเทพมหานคร:ห้างหุ้นส่วนจํากัด ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์, 2553.
________.วิปัสสนานัย เล่ม 1. แปลและเรียบเรียงโดยพระคันธสาราภิวงศ์. กรุงเทพมหานคร:ห้างหุ้นส่วนจํากัด ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์, 2555.
________.วัมมิกสูตร ปริศนาแห่งจอมปลวก. แปลและเรียบเรียงโดยพระคันธสาราภิวงศ์. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ่นส่วนจํากัด ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์, 2558.
________.ปฏิจจสมุปบาท เหตุผลแห่งวัฏสงสาร. แปลและเรียบเรียงโดยพระคันธสาราภิวงศ์. กรุงเทพมหานคร: หจก. ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์, 2553.
Sujiva. The Tree of Wisdom The River of No Return: The practice and development on insight meditation. Penang: Sukhi Hotu Sdn Bhd, 2009.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความวิชาการและบทความวิจัยในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศาส์น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์