รูปแบบและเทคนิคการสอบอารมณ์ พระวิปัสสนาจารย์ไทย

ผู้แต่ง

  • นายโสภณ เทียนศรี

คำสำคัญ:

รูปแบบการสอบอารมณ์, เทคนิคการสอบอารมณ์, พระวิปัสสนาจารย์

บทคัดย่อ

                การวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 1 ประการ คือ เพื่อศึกษารูปแบบและเทคนิคการสอบอารมณ์ พระวิปัสสนาจารย์ไทย โดยอาศัยการศึกษาข้อมูล จากคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา รวมทั้งเอกสาร ที่เกี่ยวข้องกับการสอบอารมณ์ในพระพุทธศาสนา นำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ตามการวิจัย มีเนื้อหา สอดคล้องตามลำดับ และหนังสือที่เกี่ยวข้องแล้ว วิเคราะห์ สรุป เรียบเรียงเชิงพรรณนา ตรวจสอบ โดยผู้เชี่ยวชาญ 
                 จากการศึกษาพบว่า รูปแบบการสอบอารมณ์ ในสายกัมมัฏฐานการบริกรรมพองหนอ ยุบหนอ มี ต้นแบบจาก วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ โดยมีพระ ธรรมธีราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ. 9) ถือว่า เป็นพระวิปัสสนาจารย์องค์แรกของไทย ในรูปแบบ การสอบอารมณ์ โดยการสังเกตสภาวะที่ยุติ จาก อาการพอง อาการยุบ เมื่อสติเกิดขึ้น จิตที่รับรู้ใน อาการพอง อาการยุบ ทำให้เกิดเป็นศีล จิตที่ตั้งมั่น ในอาการพอง อาการยุบ ทำให้เกิดเป็นสมาธิ จิต ที่รู้สภาพธรรม เป็นปัญญา โดยหลักการสังเกตใน อาการพองอาการยุบ จิตที่คอยระมัดระวังเป็นศีล จิตที่แนบแน่นอยู่กับอาการพองยุบ เป็นสมาธิ จิตที่ เข้าไปรู้ในอาการ พองหรือยุบ เป็นปัญญา ที่อยู่ใน กรอบสติปัฏฐาน 4 คือ กาย เวทนา จิต ธรรมเพื่อวัด ความก้าวหน้าในการปฏิบัตินำไปสู่ปัญญา หลักฐาน ยืนยันอยู่ในมหาสติปัฏฐานสูตร
                ส่วนในเทคนิคการสอบอารมณ์ เป็นการปรับ อินทรีย์ 5 ที่เป็นเครื่องวัดความก้าวหน้าของการ ปฏิบัติเป็นการอบรมอินทรีย์ให้สมดุล เมื่อมีความ ศรัทธาทำให้เกิดความเพียร ความเพียรช่วยให้สติ มั่นคง เมื่อสติมั่นคงแล้ว การกำหนดอารมณ์จะได้ สมาธิ เมื่อมีสมาธิ ที่สมบูรณ์แล้วก็จะเกิดปัญญา เทคนิคปรับอินทรีย์ให้สมดุลเสมอกัน คือ ปรับ ศรัทธาให้เสมอปัญญา วิริยะให้เสมอกับสมาธิ ส่วน สตินั้นเป็นตัวกลางประสานได้ทุกธรรม พระวิปัสสนา จารยผ์ ูที้่มีความเชี่ยวชาญจะมีเทคนิคในการปรับแตง่ อินทรีย์ให้เหมาะสม

Author Biography

นายโสภณ เทียนศรี

นิสิตระดับปริญญาโท สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม

References

ข้อมูลปฐมภูมิ
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

ข้อมูลทุติยภูมิ
รายงานการวิจัย
พระครูวิมลธรรมรังสี, ดร.พระมหาบาง เขมานนฺโท, ดร.,พระมหาวิชาญ สุวิชาโน.การสอบอารมณ์ของ ผู้เข้าร้วมปฏิบัติ วิปัสสนากัมมัฏฐาน.รายงานการวิจัย.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช-วิทยาลัย, 2551.

วิทยานิพนธ์
พระสุภีร์ สุดสงวน. “วิเคราะห์วิธีการปรับอินทรีย์ให้สมดุลในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปิฏฐาน 4”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๕๑.

สารนิพนธ์
พระมหาวิชัย ยติชโย (ฤทธิ์วิรุฬห์). “ศึกษาพัฒนาการสอบอารมณ์การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน”. สารนิพนธ์พุทธ ศาสตรดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย, 2555.

สัมภาษณ์
พระครูวิมลธรรมรังสี, พระวิปัสสนาจารย์ ประจําสํานักงานกลาง กองวิปัสสนาธุระ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์ คณะ 5, วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557.

พระภาวนาวราลังการ วิ., ประธานพระวิปัสสนาจารย์วัดภัททันตะอาสภาราม อําเภอหนองปรือ จังหวัดชลบุรี วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 เวลา 16.30 น. วัดภัททันตะอาสภาราม จังหวัดชลบุรี พระสมภาร สมภารโร, พระวิปัสสนาจารย์ ประจําสํานักงานกลาง กองวิปัสสนาธุระ วัดมหาธาตุยุวราช รังสฤษฏ์ คณะ 5, วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557.

พระภาวนาวิริยะคุณ วิ., พระวิปัสสนาจารย์ ประจําสํานักงานกลาง กองวิปัสสนาธุระ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์ คณะ 5, วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557.

พระครูปลัดประจาก สิริวณฺโณ, ประธานพระวิปัสสนาจารย์ ประจําศูนย์ปฏิบัติธรรม ตาณังเลณัง เฉลิมราช 60 ปี จ.เชียงใหม่, วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557.

พระอาจารย์สว่าง ติกฺขวีโร, พระวิปัสสนาจารย์ ประจําศูนย์ปฏิบัติธรรมตาณังเลณัง เฉลิมราช 60 ปี จ.เชียงใหม่, วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557.

พระอาจารย์ทองมั่นสุทฺธจิตโต, พระวิปัสสนาจารย์ ประจําศูนย์ปฏิบัติธรรมตาณังเลณัง เฉลิมราช 60 ปี จ.เชียงใหม่, วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-07