ศึกษาทุกขเวทนาที่มีผลต่อการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา

ผู้แต่ง

  • พระจักรพงค์ ปิยธมฺโม

คำสำคัญ:

ทุกขเวทนา, ผลต่อการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา

บทคัดย่อ

                การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา ทุกขเวทนาในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท 2) ศึกษา การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในคัมภีร์พุทธศาสนา เถรวาท 3) ศึกษาทุกขเวทนาที่มีผลต่อการปฏิบัติ วิปัสสนาภาวนา โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพภาค เอกสาร ผลการวิจัยพบว่า 
                ทุกขเวทนาในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท คือ ทุกข์ที่เป็นส่วนหนึ่งของทุกข์ในไตรลักษณ์ ทุกข์ใน อริยสัจ และทุกข์ในปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น โดย ส่วนใหญ่แสดงทุกขเวทนาในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่ง ของทุกขอริยสัจ อันเป็นสภาวะที่นำไปสู่อุปาทาน ขันธ์ สามารถที่จะทำให้อุปาทานขันธ์นี้หมดสิ้นไป ได้ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน เพราะมีปัญญารู้เท่าทัน ตามความเป็นจริง และทุกขเวทนานี้จึงเป็นทุกข์ที่นำ ไปสู่ความเป็นอริยบุคคลได้ 
                การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในคัมภีร์พุทธศาสนา เถรวาท คือ การปฏิบัติตามแนวทางแห่งสติปัฏฐาน 4 คือ การกำหนดรู้ในกาย เวทนา จิต และธรรม ซึ่ง ทำใหเ้ กิดวิปสั สนาญาณ คือความรูที้่ประจักษแ์ จง้ ชัด แม้อิริยาบถจะปิดลักษณะที่เป็นทุกข์ แต่การกำหนด รู้ด้วยความเพียรพยายามอย่างต่อเนื่อง ย่อมทำให้ เกิดปัญญาที่รู้ชัดตามความเป็นจริงได้
                ทุกขเวทนาที่มีผลต่อการปฏิบัติวิปัสสนา ภาวนามี 3 ประการคือ 1) ทุกขเวทนาที่มีกำลัง มากในช่วงต้น (กังขาวิตรณวิสุทธิ) หากผู้ปฏิบัติมิได้ โยนิโสมนสิการ และปราศจากกัลยาณมิตรให้การ แนะนำ ย่อมจะทำให้ผู้ปฏิบัติเลิกทำความเพียร 2) ทุกขเวทนาที่มีกำลังมากในช่วงกลาง (ปฏิปทาญาณ ทัศนวิสุทธิ) อาจจะทำใหผู้ป้ ฏิบัติมีทุกขเวทนาซ้ำแลว้ ซํ้าอีก จนผู้ปฏิบัติเกิดความท้อแท้และเบื่อหน่ายต่อ การปฏิบัติ และ 3) ทุกขเวทนาที่มีกำลังมากที่สุดใน ช่วงสุดท้าย ที่ต้องอาศัยการกำหนดรู้อย่างมีกำลง จดจ่อ จนทำให้ผู้ปฏิบัติสามารถเข้าถึงความบริสุทธิ์ ของจิตขั้นสุดท้าย (ญาณทัศนวิสุทธิ) ซึ่งอิริยาบถทั้ง หลายไม่อาจจะปิดบังลักษณะที่เป็นทุกข์ได้ต่อไป ความเพียรพยายามในการกำหนดรู้ในสภาวะทุกข์ ทั้งหมดอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความบริสุทธิ์ของ จิตตามลำดับขั้น (วิสุทธิทั้ง 7 ประการ) จนสามารถ เพิกถอนสุขวิปัลลาสที่สำคัญผิดว่ารูปนามทั้งหลาย เป็นสุขได้ แล้วถ่ายถอนอุปาทานขันธ์ และตัณหา ทั้งหลาย แล้วสามารถเสวยพระนิพพานเป็นอารมณ์ จากการกำหนดรู้ทุกขเวทนานั้นได้

Author Biography

พระจักรพงค์ ปิยธมฺโม

นิสิตระดับปริญญาโท สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม

References

ก. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Sources)
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทยพร้อมอรรถกถาแปลชุด 91 เล่ม. กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยมหา มกุฏราชวิทยาลัย, 2556.

พระพุทธโฆสเถระ. คัมภีร์วิสุทธิมรรค. แปลโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธนาเพรส จํากัด, 2554.

ข. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary source)
พระอาจารย์ ดร.ภัททันตะ อาสภมหาเถระ ธัมมาจริยะ อัคคมหากัมมัฏฐานาจริยะ, 100 ปี อัคคมหา-กัมมัฏฐานาจริยะ, (กรุงเทพมหานคร: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จํากัด, 2554).

ปัญญา ใช้บางยาง. ธรรมาธิบาย หลักธรรมในพระไตรปิฎก. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา, 2548.

พระกัมมัฏฐานนาจริยะ พระปณฑิตาภิวงศ์. รู้แจ้งในชาตินี้. แปลโดยพระครูปลัดประจาก สิริวณฺโณ และคณะ. พิมพ์ ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมิก จํากัด, 2552.

พระคันธสาราภิวงศ์. โพธิปิกขิยธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: บริษัท บุญศิริการพิมพ์ จํากัด, 2555.

พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ). คําบรรยายวิปัสสนากรรมฐาน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ประยูรวงศ์พริ้นท์ติ้ง จํากัด, 2553.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 41. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์ผลิธัมม์, 2558.

________. พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์ผลิธัมม์, 2556.

________. พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 25. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์ผลิธัมม์, 2556.

พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ). มหาสติปัฏฐานสูตร. แปลโดยพระคันธสาราภิวงศ์. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้น ส่วนจํากัดประยูรสาส์นไทย การพิมพ์, 2555.

________.วิปัสสนาชุนี. แปลโดยจํารูญ ธรรมดา. กรุงเทพมหานคร: ทิพยวิสุทธิ์, 2540.

________.วิปัสสนานัย เล่ม 1. เล่ม 2 แปลโดย พระคันธสาราภิวงศ์. นครปฐม: ห้างหุ้นส่วนจํากัดซีเอไอ เซ็นเตอร์, 2550.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-07