ศึกษาศรัทธาในการเจริญสมถะและวิปัสสนาภาวนา
คำสำคัญ:
ศรัทธา, สมถภาวนา, วิปัสสนาภาวนาบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศรัทธา ในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท 2) ศึกษาศรัทธาใน การเจริญสมถภาวนา 3) ศึกษาศรัทธาในการเจริญ วิปัสสนาภาวนา โดยเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบ เอกสาร จากการศึกษาพบว่า
ศรัทธาองค์ธรรมเบื้องต้นในการเจริญสมถะและ วิปัสสนาภาวนา มุ่ง เน้น สัทธาญาณสัมปยุต ศรัทธาที่ ประกอบด้วยปัญญาและกลั่นกรองในการตัดสินใจ ประเภทภาวนาสัทธา เป็นศรัทธาความเชื่อที่เกิดมี ในขณะเจริญสมถะและวิปัสสนาภาวนา
ในสมถภาวนา ศรัทธาจะโดดเด่นสำหรับบุคคล ผูเ้ ปน็ สัทธาจริต กัมมัฏฐานที่เหมาะคืออนุสสติ 6 มี 1) พุทธานุสสติ 2) ธัมมานุสสติ 3) สังฆานุสสติ 4) สี ลานุสสติ 5) จาคานุสสติ 6) เทวตานุสสติ มีผลทำให้ สภาวะจิตผ่องใส ไม่ขุ่นมัว สงบ ตั่งมั่น เป็นสมาธิใน ระดับอุปจารสมาธิ
ในวิปัสสนาภาวนา ศรัทธามีลักษณะวางใจ ปลงใจต่อสภาวธรรมเฉพาะหน้า เกิดความมุ่งมั่น แน่วแน่จนจิตเดินวิปัสสนาญาณรู้เท่าทันความเป็น ไตรลักษณ์ ในรูปของสัทธินทรีย์ในอินทรีย์ 22 ที่เป็น วิปัสสนาภูมิ อารมณ์ของวิปัสสนา ในขณะเดียวกันก็ เป็นส่วนหนึ่งของโพธิปักขิยธรรม เครื่องมือแห่งการ ตรัสรู้ ในรูปของสัทธินทรีย์ในอินทรีย์ 5 และสัทธา พละในพละ 5 ถือเป็นองค์ธรรมนำไปสู่การพัฒนา เพื่อความพ้นทุกข์
สรุปว่า ศรัทธาในการเจริญสมถะและวิปัสสนา ถือเป็นศรัทธาภายใน เป็นประเภทภาวนาสัทธา เกิด จากความเชื่อมั่นตอ่ การมีอยูข่ องสภาวธรรมในขณะ เจริญภาวนา
References
มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2541.
พระพุทธโฆสเถระ. คัมภีร์วิสุทธิมรรค. แปลและเรียบเรียงโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ประยูรวงศ์พริ้นติ้ง จํากัด, 2547.
กรมศิลปากร. มลินทปัญหา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: อมรการพิมพ์, 2516.
วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม. คู่มือปฏิบัติ สมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน 5 สาย. นครปฐม: บริษัท เพชรเกษม พริ้นติ้ง กรุ๊ป จํากัด, 2553.
นางวรวิชาการย์ พุ่มสฤษฏ์. การศึกษาวิธีการสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานของพระปลัดชัชวาล ชินสโภ (ศิริมหา).วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2554.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความวิชาการและบทความวิจัยในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศาส์น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์