การใช้เหตุผลในพุทธปรัชญาเถรวาท
บทคัดย่อ
พระพุทธศาสนาถือว่าเหตุผลหรือการใช้เหตุผล ก็คือ การคิดไปตามประสบการณ์เท่าที่แต่ละคน ได้เคยประสบมาในชีวิตของตน เพื่อหาความรู้หรือ ทำความเข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยนำเอาข้อมูล จากประสบการณ์ของตนเองมาเชื่อมโยงกันแล้วก็ ถอดความหรือตีความออกมาเป็นความรู้ หรือความ เข้าใจในเรื่องนั้นๆ เพราะฉะนั้น เหตุผลจึงใช้ได้หรือ ประยุกต์ได้กับเรื่องที่เป็นข้อเท็จจริงที่มนุษย์เคยมี ประสบการณ์หรือรับรู้ได้ทางประสาทสัมผัสเท่านั้น สิ่งที่นอกเหนือประสบการณ์ของตน มนุษย์จึงไม่ อาจจะใชเ้ หตุเพื่อที่จะรูห้ รือเขา้ ใจความจริงนั้นได ้ ดัง ที่พระพุทธศาสนาเรียกว่า อตกฺกาวจโร คือ ความจริง (ปรมัตถสัจจะ) มิใช่วิสัยของการคิดหรือว่าความ จริงเป็นที่คิดเอาไม่ได้ เหตุผลจึงต้องเป็นการคิดที่ สอดคล้องกับข้อเท็จจริงขั้นสมมติ (สมมติสัจจะ) และ สอดคล้องกับหลักการหรือความเป็นจริง (ปรมัตถ สัจจะ) จึงจะเรียกว่าเป็นการคิดที่มีเหตุผล หรือเป็น เรื่องที่มีเหตุผล แต่พระพุทธศาสนาถือว่า เพียงเหตุผล คือความสอดคล้องเชิงหลักการเท่านั้นยังไม่เพียงพอ ต้องมีเหตุผลคือความสอดคล้องเชิงคุณค่ามาประกอบ ด้วย จึงจะถือว่ามีเหตุผลครบถ้วนที่ควรเชื่อถือหรือ ควรปฏิบัติได้
References
ม.ม. 13/666-8/615
ม.ม. 13/622/565
ม.ม. 13/617/560
ม.ม. 13/623-624/567
องฺ.ติก. 20/505/241
ม.ม. 13/69-70/61
ม.มู. 12/396-398/425
สํ. สฬา. 18/603-606/387
ม.ม. 13/306/303
ม.ม. 13/271/266
ม.ม. 13/737/669
ม.ม. 13/506/461
สํ.สฬา. 18/239/173
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความวิชาการและบทความวิจัยในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศาส์น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์