ศึกษาสุจริต 3 ในการเจริญวิปัสสนาภาวนา ตามแนวสติปัฏฐาน 4

ผู้แต่ง

  • พระสิทธิภัสร์ สิทฺธิเตโช

บทคัดย่อ

          วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ เพื่อศึกษาสุจริต 3 ในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท เพื่อศึกษาการเจริญวิปัสสนาภาวนาตามแนวสติปัฏ ฐาน 4 และเพื่อศึกษาสุจริต 3 ในการเจริญวิปัสสนา ภาวนาตามแนวสติปัฏฐาน 4 โดยการศึกษาข้อมูล จากคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท คือ พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น คัมภีร์วิสุทธิมรรค เป็นต้น โดยนำข้อมูลมาเรียบเรียง บรรยาย ตรวจสอบความถูกตอ้ งโดยผูเ้ ชี่ยวชาญ จาก การศึกษาพบว่า
          สุจริต 3 ในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาทได้แก่ กายสุจริต ประพฤติชอบด้วยกาย มี 3 อย่าง คือ เว้นจากฆ่าสัตว์ เว้นจากลักทรัพย์ เว้นจากประพฤติ ผิดในกาม, วจีสุจริต ประพฤติชอบด้วยวาจา, มี 4 อย่าง คือ เว้นจากพูดเท็จ เว้นจากพูดส่อเสียด เว้น จากพูดคำหยาบ เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ และมโนสุจริต ประพฤติชอบด้วยใจ มี 3 อย่าง คือ ไม่โลภอยากได้ ของเขา ไม่พยาบาทปองร้ายเขา เห็นชอบตาม คลองธรรม
         การเจริญวิปัสสนาภาวนาตามแนวสติปัฏฐาน 4 คือ การเจริญวิปัสสนาโดยอาศัยอารมณ์วิปัสสนา เรียกว่า วิปัสสนาภูมิ คือ ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 อริยสัจ 4 ปฏิจจสมุปบาท 12 โดย สรุปได้แก่ รูป นาม เป็นแดนเกิดของปัญญา โดย ผ่านกระบวนการปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน 4 คือ 1. สติเข้าไปตั้งมั่นในกาย เรียกว่า กายานุปัสสนาสติ ปัฏฐาน 2. สติเข้าไปตั้งมั่นในเวทนา เรียกว่า เวทนา นุปัสสนาสติปัฏฐาน 3. สติเข้าไปตั้งมั่นในจิต เรียกว่า จิตตานุปสั สนาสติปฏั ฐาน และ 4. สติเขา้ ไปตั้งมั่นใน ธรรม เรียกว่า ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
        สุจริต 3 นี้จัดเป็นอินทรีย์สังวร คือ เมื่อเห็นรูป ได้ยินเสียง ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัสที่น่าชอบใจ และไม่ชอบใจย่อมไม่หลงใหล ไม่เพลิดเพลินใสสิ่ง เหล่านั้น ทำจิตใจให้มั่นคงดีไม่ยินดียินร้าย รู้แจ้ง ธรรมารมณ์ ซึ่งสุจริต 3 อันได้แก่กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริตนั้นเองที่ทำสติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์เป็น จิตที่ควรต่อการเจริญวิปัสสนาภาวนาตามแนวสติปัฏ ฐาน 4

Author Biography

พระสิทธิภัสร์ สิทฺธิเตโช

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

References

1. ภาษาไทย
ก. ข้อมูลปฐมภูมิ
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหา จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2534.

ข. ข้อมูลทุติยภูมิ
(2) หนังสือ:
อ.ป. พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ ภาค 2 ในหนังสือชุด,“ลัดพลีธรรมประคัลภ์อนุสรณ์”.พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: ธรรมทานมูลนิธิ, 2513.

พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ).มหาสติปัฏฐานสูตร.พระพรหมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ.9, M.A., Ph.D.) ตรวจ ชําระ, พระคันธสาราภิวงศ์ แปลและเรียบเรียง. กรุงเทพมหานคร: ไทยรายวันการพิมพ์, 2549.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-08