ยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนา ของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในทศวรรษหน้า(พ.ศ. 2559 - 2568)
คำสำคัญ:
ยุทธศาสตร์, การเผยแผ่พระพุทธศาสนา, ทศวรรษหน้าบทคัดย่อ
ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการดำาเนินงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา และศึกษายุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสำานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติในทศวรรษหน้า ด้วยเทคนิคการวิจัยอนาคต (EDFR) กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้เชี่ยวชาญจำานวน 17 รูป/คน ใช้เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างแบบปลายเปิด แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับตามแบบของลิเคิร์ท (likert scale) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สังเคราะห์เนื้อหา (ContentSynthesis) ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ และใช้โปรแกรมสำเร็จรูปวิเคราะหข์ ้อมูลทีไ่ ด้จากแบบสอบถามความคิดเห็น ใช้สถิติค่ามัธยฐาน (median) และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (interquartile range)ผลการวิจัยพบว่า1. สภาพการดำาเนินงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสำานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติยังไม่ครอบคลุมกระบวนการเผยแผ่ มีความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมค่อนข้างน้อย และยังเป็นเชิงตั้งรับ การสนับสนุนงบประมาณยังไม่ทั่วถึงประสบปัญหาขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางพระพุทธศาสนา ขาดอุปกรณ์ เครื่องมือในการเผยแผ่ที่ทันสมัย มีการประสานความร่วมมือกับ
หน่วยงานอื่น ๆ ในวงจำกัด และขาดกระบวนการสร้างนักเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่มีประสิทธิภาพและเข้มแข็ง2. ยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติในทศวรรษหน้าด้านบุคลากร ผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนาประกอบด้วยพระสงฆ์และฆราวาส โดยพระสงฆ์ต้องมีศีลาจารวัตรที่งดงาม มีอุดมการณ์ มีองค์ความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม ฆราวาสต้องมีองค์ความรู้ทางพระพุทธศาสนา รู้ธรรมเนียมสงฆ์ มีความประพฤติดีงาม ทั้งสองกลุ่มต้องมีความสามารถด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ด้านภาษา ด้านประชาสัมพันธ์ ต้องจัดระบบฐานข้อมูลบุคลากรผู้เผยแผ่ จัดระบบโครงสร้างบุคลากรสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพ สร้างโอกาสการเผยแผ่จัดให้มีระบบการประเมินสมรรถนะ (Competency)สร้างสถาบันผลิตบุคลากรผู้เผยแผ่ที่มีมาตรฐาน และสร้างเครือข่ายการพัฒนาบุคลากรด้านหลักธรรม เน้นเผยแผ่หลักธรรมขั้นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต หลักธรรมเพื่อการครองตนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม หลักธรรมขั้นสูง ผลักดันนโยบายการศึกษาธรรมะและกำหนดหลักธรรมที่เป็นธรรมะแห่งชาติ สร้างความเข้มแข็งในการเรียนรู้หลักธรรมแก่คณะสงฆ์ สร้างหลักสูตรการเผยแผ่หลักธรรมให้เป็นมาตรฐาน และแปลหลักธรรมคำสอนให้มีแนวอธิบายที่ชัดเจน หลายภาษาด้านรูปแบบ วิธีการ กำหนดรูปแบบและวิธีการที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการ เผยแผ่พระพุทธศาสนาในทศวรรษหน้า โดยการเผยแผ่ผ่านกระบวนการทางวัฒนธรรม ประเพณี การปลูกฝังผ่านสถาบันครอบครัว ผสมผสานรูปแบบการเผยแผ่สมัยใหม่ยืดหยุ่นตามกลุ่มเป้าหมาย สถานการณ์และบริบทของ
References
2.คณะกรรมการวิชามนุษย์กับสังคม. (2555). มนุษย์กับสังคม. (พิมพ์ครั้งที่ 10).กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
3.ธีรพงษ์ มหาวีโร. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559). กรุงเทพมหานคร :เดอะบุคส์.
4.พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2546). การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development). (พิมพ์ครั้งที่ 9).กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เรือนแก้ว.
5.พระไพศาล วิสาโล. (2552). พุทธศาสนาในอนาคต. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์โกมลคีมทอง.
6.เสน่ห์ จุ้ยโตและคณะ. (2547). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ หน่วยที่ 4. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
7.ณัฐการ บุญรักษา. (2557). การบริหารสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซี่ยน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วิทยานิพนธ์การบริหารการศึกษามหาบัณฑิต, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
8.พระมหาธรรมรัต อริยธมฺโม (ยศขุน). (2552). แนวทางการจัดการศึกษาของคณะสงฆ์ไทยในบริบทแห่งสังคมไทยยุคปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.ฃ
9.พระมหามนตรี ศรีบุญฮุง. (2550). แนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตสายต่างประเทศในทรรศวรรษหน้า (พ.ศ.2551-2560). วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
10.พระมหาสุริยา วรเมธี และคณะ. (2556). ศึกษาแนวคิดและหลักการในการเผยแผพระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตไทยในสหรัฐอเมริกา. ผลงานวิจัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
11.เพชรพิกุล ณ นคร. (2555). ประสิทธิภาพการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูต คณะธรรมยุตในประเทศสหรฐั อเมรกิา. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
12.มลฑา กระวีพันธ์. (2555). การประยุกต์หลักพุทธธรรมไปใช้ในการดำเนินชีวิตที่ดีงามของนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 4 อำเภอร่อนพิบูล จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
13.รชต แหล่งสิน. (2555). บูรณาการการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเถรวาทด้วยเทคนิคหลังนวยุค. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
14.วงศกร เพิ่มผล. (2555). ศีล 5 : มิติอารยธรรมสากล. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
15.พระพยับ ปญฺญาธโร. (๒๕๔๘.). คำวิพากษ์และข้อเสนอแนะร่างยุทธศาสตร์การเผยแผ่. สืบค้น 5 พฤษภาคม 2557,จาก http://www.newworldbelieve.net/index.
16.เบญจมาศ สุขศรีเพ็ง. (2550). ทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม (Social Support Theory). สืบค้น 7 กันยายน 2558,จาก http://www.gotoknow.org./post/115753
17.พระธรรมโกศาจารย์. (ประยูร ธมฺมจิตโต). (2556). พระพุทธศาสนาในประเทศไทยสมัยปัจจุบัน. สืบค้น 13 ธันวาคม2556, จาก http:www.dhammathai.org
18.มัลลิการ แก้วเกิด. (2558). 84000 พระธรรมขันธ์. สืบค้น 23 มิถุนายน 2561, จาก http://www.gotoknow.org.
19.ภิญโญ ทองดี. (มปป.). ครอบครัวและสถาบันครอบครัว. สืบค้น 23 มิถุนายน 2561, จากhttp://www.human.cmu.ac.th.
20.มยุรดา สุวรรณโพธิ์. (2557). จิตวิทยามวลชน. สืบค้น 23 กุมภาพันธ์ 2560, จาก http://www.Thaifamilylink.net/web./node/75
21.สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. สืบค้น 9 ธันวาคม 2561, จาก www.udru.ac.th
22.อัจฉริยาภร กิ่งการ. (มปป.). องค์ประกอบแบบ 6 M . สืบค้น 9 ธันวาคม 2561, จาก autchariyaporn.blogsport.comJohn W. Best. (1970). Research in Education. Englewood Clift. New Jersey : Perntice Hall In
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความวิชาการและบทความวิจัยในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศาส์น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์