โปรแกรมพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ICT) สำหรับครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • วันเพ็ญ สังข์สุวรรณ นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระปริยัติสารเวที ดร. อาจารย์ที่ปรึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพโปรแกรมพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) สำหรับครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มทดลองของการวิจัย คือ ครูโรงเรียนวัดบางนาใน สังกัดกรุงเทพมหานครจำนวน 30 คน และนักเรียนที่เกี่ยวข้อง 371 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มที่มีการทดสอบก่อนและหลังการทดลองและการพัฒนา มี 6 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องและความต้องการจำเป็นในการพัฒนา 2) การจัดทำร่างโปรแกรม 3) การตรวจสอบร่างโปรแกรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิและปรับปรุงแก้ไข4) การทดสอบภาคสนามเบื้องต้นและการปรับปรุงแก้ไข 5) การทดสอบภาคสนามครั้งสำคัญและการปรับปรุงแก้ไข 6) การทดลองใช้โปรแกรมในสถานการณ์จริงและการประเมินปรับปรุง ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้1. โปรแกรมพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) สำหรับครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 5 ส่วน ดังนี้ส่วนที่ 1 ประกอบด้วย แนวคิด หลักการ จุดมุ่งหมายโปรแกรม ส่วนที่ 2 ประกอบด้วย โครงการเสริมสร้างทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)(โครงการระยะที่ 1) และโครงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) สู่การจัดการเรียนรู้(โครงการระยะที่ 2) รายละเอียดแต่ละโครงการประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์เป้าหมาย เนื้อหา กิจกรรม ระยะเวลาและสถานที่งบประมาณ การประเมินผล ส่วนที่ 3 ประกอบด้วยเอกสารประกอบโปรแกรม 6 ชุด ส่วนที่ 4 ประกอบด้วยเครื่องมือประเมินผลการพัฒนาครูและส่วนที่ 5ประกอบด้วย แนวทาง เงื่อนไข ตัวชี้ความสำเร็จ2. โปรแกรมพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) สำหรับครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่สร้างและพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเห็นได้จาก (1) ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) หลังการพัฒนามีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็น ร้อยละ 85.50 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด โดยคะแนนก่อนและหลังการพัฒนาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (2) หลังการพัฒนาครูมีทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ครูนำความรู้ทักษะใหม่สู่การปฏิบัติหน้าที่และครู มีผลการปฏิบัติงานโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) สูงกว่าก่อนการพัฒนาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ (3) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อโปรแกรมของกลุ่มเป้าหมายและความพึงพอใจของนักเรียนต่อการนำทักษะด้าน ICTไปใช้ในการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก

References

1.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2554). กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระยะ พ.ศ. 2554 - 2563 ของประเทศไทย ICT 2020. กรุงเทพฯ.

2.จินตนา ศรีสารคาม. (2554). วิจัยและพัฒนาโปรแกรมพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

3.ดิเรก พรสีมา. (2553, เว็บไซต์). ครูคือคำตอบสุดท้าย. มติชน ฉบับวันที่ 15 ม.ค. 2553. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2557,จาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/.

4.ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2556 ). 21st Century Skills for CMU Faculty Development ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อการพัฒนาอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

5.ทองไส เทียบดอกไม้. (2556). โปรแกรมพัฒนาครูด้วยการบูรณาการ ICT เพื่อการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

6.พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารนักบริหาร 33(2)(เมษายน - มิถุนายน 2556), 49 - 56.

7.รัตนะ บัวสนธ์. (2556). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. พิษณุโลก : บั๊วกราฟฟิค

8.วิจิตร ศรีสอ้าน. (2558). ครูในฝัน. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (ม.ค - มิ.ย. 2558) หน้า 31 - 41,สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2559, จาก file:///C:/Users/Administrator/Downloads/95043-Article%20Text-236433-1-10-20170802.pdf

9.วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา : กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ:หจก. ทิพยวิสุทธิ์.. (2556). การวิจัยทางการบริหารการศึกษา: แนวคิดและกรณีศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ:
หจก.ทิพยวิสุทธิ์

10.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

11.สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). รายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยเรื่องการกำหนดแนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21. โดยสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ
ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

12.อนันต์ พันนึก. (2554). การวิจัยและพัฒนาโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

13.อรทัย ศักดิ์สูง. (2552). ทฤษฎีการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ของ มัลคัม โนลส์. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2559 จาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=9042&Key=news_research

14.Borg, Walter R. and Gall, Meredith Damien. (1989). Educational Research – An Introduction (Fifth Edition). New York & London : Longman.Paul Arveson (1998). Retrieved December 5, 2015,
from http://www.balancedscorecard.org

15.Castetter, W.B. & Young, P.I. (2000). The human resource function in educational administration.7th ed. Upper Saddle River, NJ: Merrill/Prentice Hall.

16.Guskey, T.R. (2000). Professional Development in Education: in Search of the Optimal Mix. In T.R.Guskey, and M. Huberman (eds.), Professional Development in Education: New Paradigms
and Practices. New York: Teachers College Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-27