ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาครูในโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • งามจิตต์ อุณหะนันทน์ นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การวิจัยเชิงนโยบาย, การพัฒนาครู, โรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิด หลักการ สภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางการพัฒนาครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 2) จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาครู ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 3) ศึกษาผลการประเมินและรับรองข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ขั้นตอนการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนขั้นตอนที่ 1 การศึกษาแนวคิด หลักการ สภาพปัจจุบันปัญหา และแนวทางการพัฒนาครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ขั้นตอนที่ 2 การจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย ขั้นตอนที่ 3 การประเมินและรับรองข้อเสนอเชิงนโยบาย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบประเมินมาตรประมาณค่า 5 ระดับและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติขั้นพื้นฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลกำรวิจัย พบว่ำ1. แนวคิดและหลักการในการพัฒนาครูควรมีการนิเทศ ติดตามการสอนของครู ลดภาระ
งานครู พัฒนาครูให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงในสังคมโลกปัจจุบัน ส่งเสริมพัฒนาครูตามความต้องการ และมีรูปแบบการพัฒนาที่หลากหลายสอดคล้องกับนโยบายส่วนสภาพปัจจุบัน การดำเนินการพัฒนาครูโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน สำหรับปัญหาและแนวทางการพัฒนาครู ประกอบด้วย ปัญหาโดยภาพรวม จำนวน10 ข้อ และรายด้าน 5 ด้าน จำนวน 30 ข้อ ส่วนแนวทางการพัฒนาครู ประกอบด้วย โดยภาพรวม จำนวน 11 ข้อและรายด้าน 5 ด้าน จำนวน 31 ข้อ2. ผลการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการมี จำนวน 42 ข้อ ประกอบด้วยโดยภาพรวม 11 ข้อ ด้านการพัฒนาหลักสูตร 7 ข้อด้านการจัดการเรียนการสอน 9 ข้อ ด้านการใช้สื่อและเทคโนโลยีการสอน 5 ข้อ ด้านการวัดผลและประเมินผล5 ข้อ และ ด้านการวิจัยในชั้นเรียน 5 ข้อ3. ผลการประเมินและรับรองข้อเสนอเชิงนโยบายในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ด้วยการประเมินและรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พบว่า ทั้ง 5 ด้าน มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ มีความสอดคล้อง และมีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน

References

1.กัลยา วานิชย์บัญชา. (2552). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

2.ดิเรก พรสีมา. (2554). แนวทางการพัฒนาวิชาชีพครู. มปพ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

3.บันลือ พฤกษะวัน. (2534). ยุทธศาสตร์การสอนตามแนวหลักสูตรใหม่. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

4.วรรณ์ชัย จองแก. (2553). การปฏิบัติตามสมรรถนะประจำสายงานของครูโรงเรียนวังเหนือวังผา. อำเภอวังเหนือ:จังหวัดลำปาง.

5.วราภรณ์ สามโกเศศ และคณะ. (2553) ข้อเสนอระบบการศึกษาทางเลือกที่เหมาะสมกับสุขภาวะคนไทย. กรุงเทพฯ:ภาพพิมพ์.

6.วิทยากร เชียงกุล. (2551). สภาวะการศึกษาไทยปี 2550/2551 ปัญหาความเสมอภาคและคุณภาพของการศึกษาไทย.กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาไทย.

7.สุวิมล ติรกานันท์. (2548). การประเมินโครงการ : แนวทางสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

8.กิตติพงษ์ คำเครื่อง. (2550). การพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนทุ่งสิมพิทยาคม อำเภออุทุมพรพิสัยจังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. สาขาการบริการการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ถ่ายเอกสาร.

9.แขก บุญมาทัน. (2556). การพัฒนาศักยภาพด้านการวัดและประเมินผลเพื่อยกระดับการเรียนรู้ของนักเรียนในการปฎิรูปการศึกษาของครูโรงเรียนเครือข่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูคณะครุศาสตร์. สาขาวิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

10.มยุรี ชาวจำปา. (2550). การดำเนินงานงานวิชาการของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาของม่อนจอง อำเภอ ออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการ
บริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาลัยวิทยาลัยเชียงใหม่.

11.มานัส ศักดี. (2551). กลยุทธ์ที่ส่งผลต่อการใช้ผลการประเมินคุณภาพภายในและภายนอกในการปฏิบัติของครู.วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต. ภาควิชาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์.

12.วิเชียร ยอดจักร. (2555). การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุราษฎร์ธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหาร, บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

13.ศิริพรรณ ดิลกวัฒนานันท์. (2551). ความต้องการในการพัฒนาสู่มาตรฐานวิชาชีพครูของบุคลากรครูในโรงเรียนพระหฤทัย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

14.โสภา วงษ์นาคเพ็ชร์. (2553). การบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. สุพรรณบุรี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

15.Guskey, T.R. (2000). Evaluation professional development. California : Sage.

16.Krejcie, R.V. and D.W. Morgan. (1970) ”Determining sample size for research activities.„In Education and Psychological Measurement. n.p.

17.McKinsey. (2007). McKinsey Report on Education. (2014, March 1). Retrieved from http//www.mckinsey.com. file:///C:/Users/Admisistratior.oMYBO9JoEEAGNMUZ/Downloads/1403847501.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-28