การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ โดยวิธีโครงงานเพื่อการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนบน

ผู้แต่ง

  • ชาลี ภักดี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • ศ.พศิน แตงจวง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • ฉัตรชัย ศิริกุลพันธ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • ผศ.พระครูวิทิต ศาสนาทร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • พระมหาสกุล มหาวีโร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง พัฒนาและจัดทำคู่มือรูปแบบการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์โดยวิธีโครงงาน เพื่อการพัฒนาทักษะ ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นสังกัดองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนบน ประชากรได้แก่ ผู้บริหารหรือครู และนักเรียน จำนวน 83 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างจากผู้บริหารหรือครูและนักเรียน จำนวน 8 โรงเรียนจาก 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน จังหวัดละ 1 โรงเรียนโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)อย่างง่าย จากโรงเรียนที่มีผลการประเมินคุณภาพภายนอกของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) และผลการประเมินภายในของสถานศึกษาในรอบที่ 1 - รอบที่ 3 ของมาตรฐานที่ 4 ด้านกระบวนการคิดอยู่ในระดับพอใช้ และปรับปรุงรวมทั้งจากผลการประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนโดยวิธีโครงงานระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับน้อยที่สุด ในการทดลองครั้งนี้แบ่งออกเป็นโรงเรียนในกลุ่มที่ใช้รูปแบบการทดลองจำนวน 4 โรงเรียน โรงเรียนในกลุ่มควบคุมจำนวน 4 โรงเรียนและนักเรียนโรงเรียนละ 10 คน รวม 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสนทนากลุ่ม และแบบสอบถามความคิดเห็น ของผู้บริหารโรงเรียนหรือครูผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้านการจัดการเรียนรู้ และสอบถามนักเรียนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การจัดสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปและสถิติที่ใช้ได้แก่การหาความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการตรวจสอบข้อตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับการแจกแจงปกติพหุ โดยการทดสอบความเบ้ ความโด่ง และใช้สถิติทดสอบ z-testสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ คือรูปแบบการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมการคิดโดยวิธีโครงงานเพื่อการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนบนพบว่าไม่มีรูปแบบที่พัฒนาขึ้นรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่ส่งผลต่อคุณภาพคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน ได้ครบทุกคุณลักษณะแต่มีบางรูปแบบเท่านั้นที่ส่งผลต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์โดยรูปแบบที่ส่งผลมากที่สุด ได้แก่ ด้านการนำเสนอผลงาน (PRE2)รองลงมาคือ ด้านแนวคิดวางแผนการทำงานโดยบูรณาการองค์ความรู้ (IDEA) ตามลำดับในภาพรวมซึ่งส่งผลต่อด้านทักษะชีวิตและการทำงานร่วมกับผู้อื่น(LIFE) และทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ICTS)ตัวแปรที่ส่งผลในทางลบต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ได้แก่ตัวแปรด้านทักษะการเรียนรู้ (LERN ), ทักษะการสื่อสาร (COMM ) และทักษะการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม (THIN)

References

1.ดำริ มากชู. (2546). การจัดกระบวนการเรียนรู้ (Learning Process), วารสารวิชาการ.

2.ดวงพร อิ่มแสงจันทร์. (2554).การพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่อง หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและความสามารถในการแก้ปัญหาตามขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์,ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

3.ตรีทิพ บุญแย้ม.(2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมระดับบุคคลและระดับกลุ่มงานเพื่อสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ในบริษัทเอกชนของไทย. วิทยานิพนธ์, ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

4.ธีรนันท์ ตานนท์. (2542). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยโครงงาน. รายงานวิจัย. ร้อยเอ็ด: สำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด.

5.สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2547). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

6.สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการความรู้แบบโครงงาน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

7.สุญาณี ฉิมอำ.(2550).รูปแบบการบริหารที่มีผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาเอกชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ชลบุรี เขต 3.ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์.

8.สุพรรณี เสนภักดี. (2553). การใช้วิธีการสอนแบบโครงงานเพื่อสร้างความคงทนในการเรียนรู้คำศัพท์ ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดตะกล่า กรุงเทพมหานคร.สารนิพนธ์ ศศ.ม. (การสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

9.อริยา อรุถณินท์. (2556). กรณีศึกษาการใช้สถิติการวิเคราะห์พหุตัวแปร (Multivariate Analysis) ในการจัดการภูมิสถาปัตยกรรมเมือง. ค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2556, จาก http://www.google.co.th/#sclient=psy-ab&q=multivariate+regression+analysis

10.Bardo,J.w. & Hartman, J.J. (1982). Urban society:A systematic introduction. U.S.A.: F.E.peacock.

11.Homan, R. (1991). Ethics in Social Research. Harlow: Longman .

12.Willer, D. (1967). Scientific Sociology: Theory and Method.Eralewood cliff, N, J.: pentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-28