อนาคตภาพโรงเรียนระดับประถมศึกษานานาชาติเอกชน ในทศวรรษหน้า
คำสำคัญ:
อนาคตภาพ, สถานศึกษาโรงเรียนระดับ ประถมศึกษานานาชาติเอกชนทศวรรษหน้าบทคัดย่อ
ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันโรงเรียนระดับประถมศึกษานานาชาติเอกชน 2) เพื่อศึกษาอนาคตภาพโรงเรียนระดับประถมศึกษานานาชาติเอกชนในทศวรรษหน้ากลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือผู้อำนวยการ ผู้บริหารฝ่ายต่างประเทศและครูในโรงเรียนระดับประถมศึกษานานาชาติเอกชน จำนวน302 คน ได้มาด้วยวิธีการเปิดตาราง เคซึ่ และมอร์แกน(Krejcie and Morgan) และวิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้แบบสอบถามเป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ย (Mean) และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Stand and Deviation) S.D. ในส่วนขั้นตอนของ EDFR ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 19 รูป/คนเครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบสอบถาม Delphi วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ (Percentage) ค่ามัธยฐาน (Median) และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Interquartile Range)เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพผลกำรวิจัยพบว่ำ: 1) สภาพปัจจุบันโรงเรียนระดับประถมศึกษานานาชาติเอกชนตามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 10 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการบริหารจัดการ 2) ด้านครูผู้สอน 3) ด้านหลักสูตรของโรงเรียนระดับประถมศึกษานานาชาติเอกชน 4) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน 5) ด้านมาตรฐานของโรงเรียนระดับประถมศึกษานานาชาติเอกชน 6) ด้านการสนับสนุนของรัฐบาล 7) ด้านค่านิยมการเรียนในโรงเรียนระดับประถมศึกษานานาชาติเอกชน 8) ด้านเอกสารประกอบการสอนโรงเรียนระดับประถมศึกษานานาชาติเอกชน9) ด้านผู้เรียน และ 10) ด้านพุทธศาสนากับโรงเรียนระดับประถมศึกษานานาชาติเอกชนสภาพปัจจุบันโรงเรียนระดับประถมศึกษานานาชาติเอกชนควรพัฒนา
ส่งเสริมในความเป็นโรงเรียนนานาชาติ เพื่อความก้าวหน้าต่อไป โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย - ปานกลาง( = 2.32 - 2.60)2. ศึกษาอนาคตภาพโรงเรียนระดับประถมศึกษานานาชาติเอกชนในทศวรรษหน้าด้วยกระบวนการวิจัยแบบ EDFR (Ethnographic Del Phi Futures Research) ผลการวิจัย พบว่า การศึกษานานาชาติไทยในอีก 10 ปีข้างหน้าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลกาภิวัตน์และเทคโนโลยี ในการสื่อสาร โดยมีการปฏิรูปการศึกษาเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 และแผนการศึกษาชาติต่อไปจึงต้องมีการเตรียมแนวทางอนาคตภาพโรงเรียนระดับประถมศึกษานานาชาติเอกชนในทศวรรษหน้า มีดังนี้ 1) การบริหารจัดการต้องมีเป้าหมายเดียวกัน มีความเป็นอิสระ และส่งเสริมแบบมีส่วนร่วม 2) ครูผู้สอนต้องทำงานเชิงรุกมีทักษะในสาขาวิชาที่สอน และเชี่ยวชาญด้านวิชาการ3) หลักสูตรของโรงเรียนต้องเป็นสากล มีความยืดหยุ่นและหลักสูตรเป็นประชาธิปไตย 4) กิจกรรมการเรียนการสอนต้องมีความหลากหลายเหมาะสมกับผู้เรียนสอดคล้องกับทิศทาง ความเป็นนานาชาติ และจัดการเรียนการสอนแบบเจาะจง 5) มาตรฐานของโรงเรียนต้องกำหนดมาตรฐานนานาชาติที่ชัดเจน กำหนดมาตรฐานของภาษาต่างประเทศ และกำหนดบันได
ความก้าวหน้าของโรงเรียน 6) การสนับสนุนของรัฐบาล จัดสรรงบประมาณให้เหมาะสมและเพียงพอให้ความสำคัญกับการศึกษานานาชาติ และมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการเรียน 7) ค่านิยมการเรียนในโรงเรียนระดับประถมศึกษานานาชาติเอกชน นำเสนอภาพลักษณ์ ของนานาชาติ ร่วมมือกันสร้างและผลักดันให้เกิดค่านิยมการเรียนนานาชาติ และสถานศึกษาต้องเป็นนานาชาติทุกระดับ 8) เอกสารประกอบการสอนสื่อการเรียนการสอนที่มีมาตรฐาน เอกสารประกอบการสอนต้องเป็นประชาธิปไตย และสามารถผลิตตำราเรียนสอนได้เอง 9) ผู้เรียนมีความสามารถในการสื่อสารที่ดีเป็นผู้มีทักษะในการใช้ภาษาที่สองของโลกและมีความสามารถ มีทักษะที่หลากหลาย และ10) พุทธศาสนากับโรงเรียนระดับประถมศึกษานานาชาติ เป็นทางเลือกให้กับนักเรียนที่หลากหลายส่งเสริมอนุรักษ์ พัฒนาศิลปวัฒนธรรมและสนับสนุนให้มีโรงเรียนนานาชาติพุทธศาสนา และพุทธศาสนาในโรงเรียนนานาชาติเอกชน จะเห็นได้ว่าความเชื่อมโยงร่วมมือร่วมใจกันทุกภาคส่วนทุกด้านอย่างจริงจัง และต่อเนื่องจะส่งผลให้อนาคตของโรงเรียนระดับประถมศึกษานานาชาติเอกชนไทยเกิดการพัฒนาก้าวหน้าสามารถตอบสนองความองสถานประกอบการได้ทั้งในและต่างประเทศ สามารถแข่งขันในทุกภาคส่วนในระดับนานาชาติของไทย มีแนวทางที่ชัดเจนได้ไม่เพียงแต่ในทศวรรษนี้เท่านั้น แต่จะเป็นการปูพื้นฐานของการพัฒนาชาติในทุกมิติ เพื่อพัฒนาคนไทยทั้งประเทศ และยังสอดคล้องกับแผนพัฒนาชาติ (2560 – 2579) ต่อไป
References
2.พระธรรมกิตติวงษ์. (2546). บทบาทของสถาบันพระพุทธศาสนากบัการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
3.สนาน ลิปเ์ศวตกล. (2546). การพัฒนารปูแบบการศึกษาขั้นพื้นฐานนานาชาติ สำหรับประเทศไทยในอนาคต.วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลยับรูพา
4.วิลาวัณย์ จารุอริยานนท์. (2542). แนวโน้มการจัดโปรแกรมนานาชาติระดับบัณฑิตศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยในทศวรรษหน้า พ.ศ.2543 – 2552. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาการอุดมศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
5.Jucius, M.J. (1970). Personnel Management. Homewood, Illinios : Richard D. Irwin.
6.Kast and Rosenzweing. (1985). Organization and Management. A System Approach, 4th ed.New York: McGraw-Hill Book Company.
7.Michael, S.R., Newton, W.R. & Gelatt, E. (1981). Technique of Organizational Change.New York: McGraw-Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความวิชาการและบทความวิจัยในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศาส์น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์