รูปแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิผล ของโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา ภาคอีสาน เขต 1
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการที่มีประสิทธิผล, โรงเรียน การกุศลของวัดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารจัดการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา ภาคอีสาน เขต 12) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา ภาคอีสานเขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้รับใบอนุญาต 24 รูปผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 24 รูป รองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 80 รูป/คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 135 รูป/คน ครูผู้สอน จำนวน 285 รูป/คน รวมทั้งสิ้น 548 คน รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา(IOC) อยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้1. สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา ภาคอีสานเขต 1 ภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลางด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านบรรยากาศในโรงเรียนและรองลงมา คือ ด้านการบริหารเชิงยุทธ์ ด้านการจัดการความรู้ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยตำสุด คือ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ2. รูปแบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิผลโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาภาคอีสานเขต 1 จำนวน 6 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 12 ตัวบ่งชี้ 2) ด้านวัฒนธรรมองค์การ 16 ตัวบ่งชี้ 3) ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง 13 ตัวบ่งชี้ 4) ด้านการจัดการความรู้ 16 ตัวบ่งชี้ 5) ด้านการบริหารเชิงยุทธ์8 ตัวบ่งชี้ 6) ด้านบรรยากาศในโรงเรียน 13 ตัวบ่งชี้
References
2.ไพรัช ธัชยพงษ์ และพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์. (2552) “การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา”. วารสารการศึกษาไทย 9(2) : 5 – 6 ; เมษายน – มิถุนายน
3.วิโรจน์ สารรัตนะ. 2548. โรงเรียนองค์การแห่งการเรียนรู้กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา.กรุงเทพมหานคร: ทิพย์วิสุทธิ์.
4.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2545. แนวทางการวัดผลประเมินผลในชั้นเรียนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัศดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
5.สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
6.Dorothy Bennett, and others. (2000). It All Depends : Strategies for Designing Technologies forEducation Change. Retrieved October10, 2009 from http://121.org/icIt/2000/papers/265a.pdf
7.Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educationaland Psychological Measurement, 30(3).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความวิชาการและบทความวิจัยในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศาส์น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์