คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามการรับรู้ของครูผู้สอนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ฉะเชิงเทรา ในอำเภอเมืองฯ จังหวัดฉะเชิงเทรา
คำสำคัญ:
การรับรู้ของครูผู้สอน, คุณลักษณะอัน พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา1) เพื่อศึกษาการรับรู้ของครูผู้สอนต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ของครูในโรงเรียนที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา ในเขตอำเภอเมืองฯจังหวัดฉะเชิงเทรา2) เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ฯของครูผู้สอนในโรงเรียนที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา ในเขตอำเภอเมืองฯจังหวัดฉะเชิงเทราประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ครูของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 เฉพาะอำเภอเมืองฯ ปีพุทธศักราช2559 จำนวน 444 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธี StratifiedRandom Sampling ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง 210 คนเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถามจำนวน 1 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐานได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานและพิสูจน์สมมติฐานโดยใช้การพิสูจน์ค่าทีแบบOne Sample t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ One Way ANOVAสรุปผลการศึกษา1. การรับรู้ของครูผู้สอนต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ของครูในโรงเรียนที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา ในเขตอำเภอเมืองฉะเชิงเทราในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาโดยจำแนกตาม 1) เพศ พบว่าครูเพศหญิงมีการรับร้สู ูงกว่าครูเพศชาย2) ช่วงอายุพบว่าการรับรู้ของครูฯ เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ช่วงอายุตั้งแต่ 51 ปีขึ้นไประหว่าง 20 - 35 ปี และ 36 - 50 ปี 3) ระดับการศึกษาพบว่าการรับรู้ของครูฯเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ปริญญาตรี ตำ่กว่าปริญญาตรี และสูงกว่าปริญญาตรี2. ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า2.1 การรับรู้ของครูเพศชายและครูเพศหญิง แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ2.2 การรับรู้ของครูระหว่างช่วงอายุ20 - 35 ปี กับ 36 - 50 ปี ไม่แตกต่างกัน แต่ทั้ง 2 ช่วงอายุที่กล่าวแล้วมีการรับรู้ฯ แตกต่างกับครูในช่วงอายุ51 ปีขึ้นไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ2.3 การรับรู้ของครูที่มีวุฒิการศึกษาตำ่กว่าปริญญาตรี กับ ปริญญาตรี ไม่แตกต่างกันแต่วุฒิการศึกษาทั้ง 2 กลุ่มที่กล่าวแล้วมีการรับรู้ฯแตกต่างจากครูกลุ่มที่มีวุฒิการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
References
2.ประถม วงศ์ศรีแก้ว. (2536). โรงเรียนประถมศึกษาในอนาคต. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
3.มนตรี แสนวิเศษ. (2534). การประเมินคุณลักษณะและพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 9. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม.มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
4.สมบูรณ์ พรรณาภพ. (2521). หลักเบื้องต้นของการบริหารโรงเรียน. กรุงเทพฯ: บรรณากิจ.
5.สมพงศ์ เกษมสิน. (2521). การบริหาร. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
6.อนันต์ มาสวัสดิ์. (2518). คุณลักษณะของครูใหญ่ที่พึงปรารถนาตามทัศนะของครูโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดพิษณุโลก. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก.
7.Mattox, Donld Dean. ”A Study of In-service Needs of lllinois Public School Elemntary Princpals,„Dissetation Abstrational. 12(1):6061 - A; June, (1987)
8.Nolt,Chester M. An Introduction to school Administration Selected Readings. New York: Macmillan,(1966).
9.Nutz,William John.(1980) ”Public Perception of Education in a New England school District,„Dissertion Abstracts Internationl. 42(4): 1416-A.
10.Smith, Edward W. & others. (1961). The Educational Encyclopaedia. New York: Prentice – Hall.
11.Spark, Haerry M.(1960) ”A Study of the High school Principalhip in Kentucky,„ Dissertaion AbstratsInternation. 20 (9): 3650- A; March.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความวิชาการและบทความวิจัยในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศาส์น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์