การบริหารจัดการระบบการนิเทศการศึกษา ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด

ผู้แต่ง

  • ขวัญจิรา เจ็กภูเขียว นักศึกษาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ประเสริฐ อินทร์รักษ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร
  • นพดล เจนอักษร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

The Educational Supervision System Management, Provincial Education Office

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงอนาคต (EDFR)มีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบ สภาพปัจจุบันการบริหารจัดการระบบการนิเทศการศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและเพื่อทราบแนวทางการบริหารจัดการระบบการนิเทศการศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดการดำเนินการวิจัย มี 5 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการระบบการนิเทศการศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด 2) การทำ EDFRรอบที่ 1 3) การทำ EDFR รอบที่ 2 และการวิเคราะห์ข้อมูล 4) การทำ EDFR รอบที่ 3 และ 5) การรายงานผลเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถามความคิดเห็น ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยผู้บริหารระดับนโยบายของกระทรวง
ศึกษาธิการ และระดับภูมิภาค ผู้บริหารระดับจังหวัดศึกษานิเทศก์และผู้บริหารสถานศึกษารวมทั้งสิ้น 19 คนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย มัธยฐาน,ฐานนิยม และพิสัยระหว่างควอไทล์ผลการวิจัยพบว่า1. สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการระบบการนิเทศการศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดมีโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจน ได้กำหนดให้มีกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด โดยมีบทบาทหน้าที่ขับเคลื่อนประสานงาน เร่งรัด กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาในจังหวัด และใช้กระบวนการนิเทศการศึกษาเชิงกำกับ ติดตาม และสนับสนุนการตรวจราชการตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ2. แนวทางการบริหารจัดการระบบการนิเทศการศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการมีทั้งหมด44 แนวทาง ประกอบด้วย 1) ด้านโครงสร้างการบริหารจัดการระบบการนิเทศการศึกษามี5 แนวทาง 2) ด้านบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบ มี 20 แนวทางและ 3) ด้านกระบวนการนิเทศการศึกษา มี 19 แนวทาง

References

1.คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 10/2559 เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133, ตอนพิเศษ 68 ง (21 มีนาคม 2559): 1-3.

2.คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 11/2559 เรื่อง การบริหาราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค,ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133, ตอนพิเศษ 68ง (21 มีนาคม 2559): 6-7.

3.คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ,ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนพิเศษ 96 ง (3 เมษายน 2560): 14.

4.จิรัชญา พัดศรีเรือง. ตัวบ่งชี้สากลของการนิเทศโรงเรียน.วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎี บัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2555.

5.ประกาศ เรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580), ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136, ตอนที่ 82 ก (13 ตุลาคม 2561): 34.

6.ประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งหน่วยงานภายในสำนักงานศึกษาธิการภาคและสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, (12 มิถุนายน 2560): 6.

7.พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119, ตอนที่ 123 ก (19 ธันวาคม2545): 6 - 15.

8.ยุพิน ยืนยง. การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูเขตการศึกษา 5 อัครมณฑลกรุงเทพฯ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553.

9.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการตรวจราชการ การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษา, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 134 ตอนพิเศษ 221 ง (8 กันยายน 2560), 37-39.

10.เลขาธิการนายกรัฐมนตรี, แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) (2559), 2.

11.วรรณพร สุขอนันต์. รูปแบบการนิเทศภายในส?ำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2550, บทคัดย่อ.

12.ศศิกาญจน์ โพธิ์ลังกา. รูปแบบนิเทศการศึกษาโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี, 2555.

13.สามารถ ทิมนาค. การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนตามแนวคิดของกลิ๊กแมน เพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ด้านทักษะการอ่านของครูภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553.

14.สุวิทย์ เมษินทรีย์, พิมพ์เขียว Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน, (2559), 5.

15.สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564)(2559), 50.

16.สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, ปฏิรูปการศึกษาเพื่ออนาคตประเทศไทย มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน นโยบายด้านการศึกษาของนายกรัฐมนตรี (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา), พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่จำกัด, 2559), 11.

17.สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 (กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค,2560), 142-143.

18.Glatthorn, Differentiated supervision Washington D.C.:association for supervision and curriculumdevelopmental approach, 2.

19.Harris, B. M., Supervisory Behavior in Education, (Englewood Cliffs, New York: Prentice-Hall,1975), 14-15.

20.Keith A. Acheson and Meredith D. Gall, Clinical Supervision and Teacher Development Perserviceand Applications, (U.S.A.: John Willey & Sons, 2003), 90.

21.William H. Burton and Lee J. Brueckner,Supervision: A Social Process,3rd ed.(New York:Appleton Centery Co,1995), 31.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-28