โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการตัดสินใจซื้อสินค้า ผ่านแอปพลิเคชัน ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • ปิยาภรณ์ กุญชร ณ อยุธยา หลักสูตรสารสนเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสังคม วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • สุมามาลย์ ปานคำ อาจารย์ภาควิชาคณิตศาสตร์ วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

โมเดลสมการโครงสร้าง, การตัดสินใจ ซื้อสินค้า, ความตั้งใจซื้อ, แอปพลิเคชัน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เคยซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน Shopee จำนวน 400 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบสะดวกจากผู้ที่มีประสบการณ์ซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน Shopee เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ และสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างเพื่อหาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยตัวแบบสมการเชิงโครงสร้างโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ โมเดลวิจัยประกอบด้วยทั้งหมด 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านอัตลักษณ์ทางสังคม 2) ด้านการสื่อสารแบบปากต่อปากในอนิ เทอรเ์ น็ต3) ด้านการรับรู้ความเสี่ยง 4) ด้านความไว้วางใจ5) ด้านความตั้งใจซื้อ และ 6) ด้านการตัดสินใจซื้อผลการวิจัยพบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี โดยมีค่าสถิติไค-สแควร์ (gif.latex?X^{2}) เท่ากับ 466.26, ค่าองศาอิสระ (df)เท่ากับ 343, ค่า CMIN/df เท่ากับ 1.36, ค่า GFIเท่ากับ 0.93, ค่า AGFI เท่ากับ 0.90, ค่า SRMRเท่ากับ 0.04, ค่า RMSEA เท่ากับ 0.03 และค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์เท่ากับ 0.93 แสดงว่า ตัวแปรโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน Shopee ได้ร้อยละ 93
โดยพบว่าด้านความตั้งใจซื้อ ของผู้บริโภคมีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน Shopeeมากที่สุด

 

References

1.กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัย SPSS และ AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น

2.กองบรรณาธิการ TCIJ (2561). สถิติ e-Commerce ที่น่าสนใจของไทยปี 2560. สืบค้น 11 ธันวาคม, 2561,จาก https://www.tcijthai.com/news/2018/3/watch/7829

3.จุฑารัตน์ ชัยบรรหาร (2561). อัตลักษณ์และภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ Fordประเภท Pick-up ของผู้บริโภคในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะบริหารธุรกิจ,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

4.ชนิดา พัฒนกิตติวรกุล. (2553). E-word of mouth มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคบนอินเทอร์เน็ต:กรณีศึกษา E-marketplace ในประเทศไทย. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารเทคโนโลยี),มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

5.ชไมพร กาญจนกิจสกุล. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. ตาก: โพรเจ็คท์ ไฟฟ์-โฟว์

6.นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

7.วราพร วรเนตร. (2554). การศึกษาการรับร้คู วามเสีย่ ง ความไวว้ างใจและความตัง้ ใจซื้อประกันภยั ผ่านอินเทอรเ์ น็ต.การศึกษาเฉพาะบุคคล (บธ.ม.) บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

8.สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) หรือ ETDA (2561). เปิดตัวเลข ภาพรวมตลาด E-Commerce ปี 2016. สืบค้น 11 ธันวาคม, 2561, จาก https://thumbsup.in.th

9.Nia Budi Puspitasari, Susatyo Nugroho, Deya Nilan Amyhorsea, and Aries Susanty. (2561).Consumer’s Buying Decision-Making Process in E-Commerce. Diponegoro University

10.SEA (2561). Shopee ไตรมาส 1/2018 ยอดขายสุทธิเติบโตถึง 199% มีคำสั่งซื้อ 111 ล้านออเดอร์. สืบค้น11 ธันวาคม, 2561, จาก https://www.blognone.com/node/102335

11.We are social & Hootsuite. (2561). Digital in Southeast Asia & Thailand 2018. สืบค้น 11 ธันวาคม, 2561,จาก https://my-thai.org/digital-southeast-asia-thailand-2018

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-28