ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานราชการบริหารส่วนภูมิภาค สังกัดกระทรวงมหาดไทย จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • ถิรวัฒน์ แจ่มกระจ่าง วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม Siam Technology College
  • ฐิติวัฒน์ ยะชัยมา สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ Institute of Technology Suvarnabhumi
  • สุนทร ผจญ นักวิชาการอิสระ Independent scholar
  • ทักษิณา แสนเย็น มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต Kasem Bundit University

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่ส่งผล, การทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐหน่วยงานราชการบริหารส่วนภูมิภาค สังกัดกระทรวงมหาดไทยจังหวัดกาญจนบุรี รวม 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ด้านทัศนคติ และด้านพฤติกรรม
เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษาได้แก่ เจ้าหน้าที่ของรัฐของหน่วยงานราชการบริหารส่วนภูมิภาค สังกัดกระทรวงมหาดไทย จังหวัดกาญจนบุรี เฉพาะในส่วนของสำนักงานอำนวยการประกอบด้วย ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างประจำ จำนวน 272 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับโดยการสุ่มแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ประกอบด้วย ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า ปัจจัย ทั้ง 3 ด้าน ส่งผลต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐหน่วยงานราชการบริหารส่วนภูมิภาค สังกัดกระทรวงมหาดไทย จังหวัดกาญจนบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\mu= 3.89)เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านพฤติกรรม มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (gif.latex?\mu= 4.03) รองลงมาคือ ด้านความรู้ (´gif.latex?\mu= 4.00)และด้านทัศนคติ (´gif.latex?\mu= 3.64) ข้อเสนอแนะจากผลของการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้บริหารหน่วยงานราชการบริหารส่วนภูมิภาค สังกัดกระทรวงมหาดไทย จังหวัดกาญจนบุรีจะต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาปรับปรุงด้านพฤติกรรมเพื่อมุ่งเน้นประโยชน์ต่อส่วนรวมให้มากยิ่งขึ้น

References

1.กานดา พูนลาภทวี. (2530). สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ฟิลิกส์เซ็นเตอร์.

2.ปัทมา วงษ์วนิชกิจ. (2550). การศึกษาการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ของโรงแรมที่มีผลต่อความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของลูกค้าในโรงแรมเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์นิเทศศาตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

3.รัชนีวรรณ วนิชย์ถนอม. (2548). บุคลิกภาพกับการทำงานในสมรรถนะในระบบข้าราชการพลเรือนไทย(Competency). กรุงเทพฯ: ศูนย์สรรหา และเลือกสรร สำนักงาน ก.พ..

4.สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2545). การปรับเปลี่ยนระบบการทำงานราชการ ในการปรับใช้สมรรถนะในการบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: กลุ่มโรงพิมพ์.

5.สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2548). การปรับเปลี่ยนระบบการทำงานราชการ ในการปรับใช้สมรรถนะในการบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: กลุ่มโรงพิมพ์.

6.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). การเปลี่ยนแปลงของระบบราชการไทย ในคู่มือคำอธิบายตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:วิชั่น พริ้นท์ แอนด์ มีเดีย.

7.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2550). การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ค่านิยม และหล่อหลอมวัฒนธรรมใหม่ ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2555. กรุงเทพฯ:วิชั่น พริ้นท์ แอนด์ มีเดีย.

8.สุจิตรา ดิษธรรม. (2552). อำนาจพยากรณ์ของแรงจูงใจในการทำงาน ความเชื่ออำนาจภายในตน และค่านิยมในการทำงาน ต่อพฤติกรรมการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดีตามตัวแบบ I AM READY. การค้นคว้าแบบอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

9.สุชาดา ชื่นสุขสวัสดิ์. (2553). บุคลิกภาพกับการทำงาน ในมาตรวัดทางจิตวิทยา: เครื่องมือประเมินเพื่อการรู้จักและพัฒนาตนเอง. กรุงเทพฯ: บริษัท สกายบุ๊กส์ จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-29