ทักษะการบริหารของผู้บังคับการ ตามการรับรู้ของข้าราชการตำรวจ สังกัดกองบังคับการสืบสวน ตำรวจภูธร ภาค 7
คำสำคัญ:
ทักษะการบริหาร, ข้าราชการตำรวจ, กองบังคับการสืบสวนสอบสวนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทักษะการบริหารงานผู้บังคับการตามการรับรู้ของข้าราชการตำรวจ สังกัดกองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 7 รวม 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเทคนิควิธี ด้านบุคคล และด้านมโนคติการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจข้าราชการตำรวจสังกัดกองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 7 จำนวน 166 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม 5 ระดับจากมากไปหาน้อยการวิเคราะห์ข้อมูลโดยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า ทักษะการบริหารของผู้บังคับการ ตามการรับรู้ของข้าราชการตำรวจ สังกัดกองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธร ภาค 7ในภาพรวมอยู่ในระดับดี (= 3.96) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านเทคนิควิธี อยู่ในระดับดี (= 3.94)ด้านบุคคล อยู่ในระดับดี (=3.95) ด้านมโนคติ อยู่ในระดับดีมาก (= 4.19) ผลงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้บังคับการ กองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 7 ควรปรับปรุง ทักษะการบริหารด้านเทคนิควิธีและด้านบุคคล
References
2.ปัญญา มาเม่น. (2530). โลกตำรวจ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรมตำรวจ.
3.ศิริชัย ธาราธาร. (2545). ทักษะการบริหารของหัวหน้างานสืบสวนสอบสวนตามการรับรู้ของข้าราชการตำรวจสังกัดภูธรจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยบูรพา.
4.สุทิศ ทองสนิทกาญน์. (2536). ความคิดเห็นของหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอที่มีทัศนะที่ใช้ในการปฏิบัติงานของตนเอง. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
5.อุทัย ธรรมเตโช. (2530). หลักบริหารการศึกษาฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ : เจ้าพระยาการพิมพ์.
6.Best, J.W.&Kahn. J.K. (1998). Research in Education. 7th ed. Boston : Allyn&Bacon.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความวิชาการและบทความวิจัยในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศาส์น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์