ประเทศไทยกับการพัฒนากฎหมายซื้อขาย: วาระแห่งชาติ

ผู้แต่ง

  • จุมพิตา เรืองวิชาธร อาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม LL.B. (ธรรมศาสตร์), LL.M., PhD. (University of Exeter, England) Lecturer of Law Faculty, Sripatum University

คำสำคัญ:

กฎหมายซื้อขาย, เอกเทศสัญญา

บทคัดย่อ

ประเทศไทยประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ว่าด้วย ‘เอกเทศสัญญา’ ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2467 ต่อมาได้รับการตรวจชำระและประกาศใช้ใหม่ในปี พ.ศ. 2471 ซึ่งขณะนั้นประเทศไทยยังคงเป็นสังคมเกษตรกรรม บทบัญญัติเรื่องซื้อขายจึงมุ่งใช้บังคับกับการซื้อขายทางแพ่งเป็นหลัก อันปรากฏในมาตรา456 วรรค 3 ที่กำหนดว่า สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันมีราคาห้าร้อยบาท (ปัจจุบันสองหมื่นบาท)หรือกว่านั้นขึ้นไป ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิด หรือได้มีการวางประจำไว้ หรือชำระหนี้บางส่วนแล้ว จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ในปี พ.ศ. 2537 คำพิพากษาฎีกาที่ 3046/2537และคำพิพากษาทฎีกาที่ 3651/2537 อันเป็นรู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อ ‘ฎีกาข้าวนึ่ง’ และเกี่ยวข้องโดยตรงกับมาตรา 456 วรรค 2 ดังกล่าว ได้จุดประกายให้สังคมไทยตระหนักอย่างชัดเจนว่า กฎหมายซื้อขายของเราไม่สอดคล้องกับสภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทยที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจาก กฎหมายซื้อขายต้องมีบทบัญญัติที่สามารถใช้บังคับกับการซื้อขายทางพาณิชย์และการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างไปจากการซื้อขายทางแพ่งอีกด้วยจากการศึกษา พบว่ามีแนวความคิดในการพัฒนากฎหมายซื้อขายดังกล่าวอยู่หลายรูปแบบ อาทิการแยกกฎหมายแพ่งออกจากและกฎหมายพาณิชย์หรือการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพื่อมิต้องนำบทบัญญัติ มาตรา 456 วรรค 2 มาใช้บังคับ
กับการซื้อขายทางพาณิชย์ รวมถึงการซื้อขายระหว่างประเทศในขณะที่ประเทศไทยยังไม่ได้เข้าเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศที่มีบทบาทและเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในโลกยุคปัจจุบันอันหมายถึง อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ ค.ศ. 1980 (The United Nations Convention on Contracts for the International Sale of Goods หรือ CISG) และนำบทบัญญัติของCISG มาอนุวัติการเป็นกฎหมายภายในเพื่อใช้บังคับการซื้อขายระหว่งประเทศเป็นการเฉพาะต่อไปทั้งนี้ ผู้เขียนเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับการที่ประเทศไทยจะต้องมีพัฒนากฎหมายซิ้อขายดังกล่าวแต่เป็นที่น่าเสียดายว่านับจากฎีกาข้าวนึ่งในปี พ.ศ. 2537มาจนถึงปัจจุบันที่เป็นเวลาเกือบ 4 ทศวรรษแล้วประเทศไทยก็ยังไม่มีการพัฒนากฎหมายซื้อขายอย่างมีนัยสำคัญใด ๆ รวมทั้งการตัดสินใจเข้าเป็นรัฐภาคีของ CISG ต่างจากประเทศเวียดนามที่ตัดสินใจเข้าเป็นรัฐภาคีแล้วเมื่อไม่นานมานี้ ทั้ง ๆ ที่ประเทศไทยมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต้องอาศัยการค้าการลงทุนต่างประเทศก่อนหน้าประเทศเวียดนามเป็นเวลานานหลายปี ดังนั้น ผู้เขียนจึงใคร่ขอเรียกร้องผ่านบทความนี้ให้ผู้รับผิดชอบในภาครัฐที่เกี่ยวข้องพิจาณาบรรจุประเด็นการพัฒนากฎหมายซื้อขายนี้เข้าเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างจริงจังและเร่งด่วนต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้

References

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
1.กำชัย จงจักรพันธ์. (2543). ‘ข้อสังเกตคำพิพากษาฎีกาคดีสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ’, ดุลพาห, 47 (2).

2.ไผทชิต เอกจริยากร. (2560). การแยกคดีแพ่งออกจากคดีพาณิชย์. ดุลพาห, เล่ม 3 ปีที่ 54.

3.พฤกษา เครือแสง. (2557). แนวทางการปฏิรูปประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน.สำนักผู้ตรวจการแผ่นดิน, ปีที่ 7.

4.เปมิกา วิวัฒนพงศ์พันธ์. (2550). ผลกระทบของนิติกรรมและสัญญาอันเนื่องมาจากการไม่แยกกฎหมายแพ่งออกจากกฎหมายพาณิชย์. สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายธุรกิจ, มหาวิทยาลัยศรีปทุมวิทยาเขตชลบุรี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-29