วิเคราะห์ปัญหาบางประการในกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำละเมิด ต่อหน่วยงานของรัฐตามที่กำหนดไว้ ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติ เกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

ผู้แต่ง

  • ตรีเพชร์ จิตรมหึมา อาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม (Docteur en droit, Droit public, Université Paul Cézanne–Aix-Marseille III, Très honorable avec félicitations du jury) Lecture of Law Faculty, Sripatum University

คำสำคัญ:

การละเมิด, ความรับผิด

บทคัดย่อ

พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มีบทบัญญัติเพียง 15 มาตรา (ตั้งแต่มาตรา 1 ถึง มาตรา 15) ซึ่งมาตรา 13 กำหนดให้อำนาจคณะรัฐมนตรีจัดให้มีระเบียบเพื่อให้เจ้าหน้าที่ซึ่งต้องรับผิดตามมาตรา 8 และมาตรา 10 สามารถผ่อนชำระเงินที่จะต้องรับผิดนั้นได้โดยคำ นึงถึงรายได้ ฐานะครอบครัวและความรับผิดชอบ และพฤติการณ์แห่งกรณี ดังนั้นจึงได้มีการออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันที่ 16พฤศจิกายน 2539 โดยมีผลใช้บังคับห่างไปเพียงหนึ่งวันหลังจากวันที่พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มีผลใช้บังคับซึ่งเป็น
วันที่ 15 พฤศจิกายน 2539ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ. 2539 มีการกำหนดหลักเกณฑ์ที่นอกเหนือและเกินกว่าหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ. 2539 และมีการวางหลักเณฑ์ที่มีเนื้อหาเกินกว่าขอบเขตอำนาจที่พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ซึ่งเป็นกฎหมายลำดับศักดิ์
ที่สูงกว่าบัญญัติไว้หากนำกรณีของพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535โดยนำมาเปรียบเทียบกับพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 แล้วจะเห็นได้ว่า กรณีนี้อาจนำแบบอย่างของการพัฒนาปรับปรุงกฎหมายที่มีการยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และนำไปบัญญัติเป็นระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ซึ่งกรณีนี้ก็อาจนำไปใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงกฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดขึ้นจากระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ที่ได้กลา่วมาแล้ว้โดยอาจยกเลกิ ระเบียบสำนัก นายกรฐั มนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และนำข้อกำหนดต่าง ๆในระเบียบนี้ไปบัญญัติรวมไว้ใพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ซึ่งจะทำให้มีการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนากฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อันจะก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่ และยังเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานของเจ้าหน้าที่อันจะส่งผลให้เจ้าหน้าที่กล้าตัดสินใจดำเนินงานอันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารงานแผ่นดิน ทำให้หลักเกณฑ์และการพิจารณาเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความเป็นธรรมและเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของรัฐ

References

1.กมลชัย รัตนสกาววงศ์, กฎหมายปกครอง : พร้อมด้วย พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542, พิมพ์ครั้งที่ 2 (แก้ไขและเพิ่มเติม), กรุงเทพฯ: กองทุนสวัสดิการกองวิชาการ, 2542.

2.จิ๊ด เศรษฐบุตร, หลักกฎหมายแพ่งลักษณะละเมิด, พิมพ์ครั้งที่ 6, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา, 2550.

3.จิตติ ติงศภัทิย์ และ ยล ธีรกุล, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 2 มาตรา 241 ถึง มาตรา 452,พระนคร: เนติบัณฑิตยสภา, 2503.

4.จิตติ ติงศภัทิย์, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 2 มาตรา 354 ถึงมาตรา 452, พิมพ์ครั้งที่ 4(แก้ไขเพิ่มเติม), กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2523.

5.ชาญชัย แสวงศักดิ์, คำอธิบายกฎหมายปกครอง, พิมพ์ครั้งที่ 11, กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2549.

6.ชาญชัย แสวงศักดิ์, คำอธิบายกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่, พิมพ์ครั้งที่ 6, กรุงเทพฯ:วิญญูชน, 2550.

7.นันทวัฒน์ บรมานันท์, สัญญาทางปกครอง, พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2554.

8.ประยูร กาญจนดุล, คำบรรยายกฎหมายปกครอง, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538.

9.ปรีชา สุขะ, ปัญหาการควบคุมและตรวจสอบการออกกฎของหน่วยงานทางปกครอง: ศึกษากรณีการเพิกถอนกฎตามกฎหมายจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง, สารนพิ นธน์ ติ ศิ าสตรมหาบณั ฑติ , กรงุ เทพฯ:คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2557.

10.พลประสิทธิ์ ฤทธิ์รักษา, คำอธิบายหลักกฏหมายพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539,พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2539.

11.เพ็ง เพ็งนิติ, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยละเมิด ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวเนื่อง, พิมพ์ครั้งที่ 2 (แก้ไขเพิ่มเติม), กรุงเทพฯ: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2545.

12.ไพจิตร ปุญญพันธ์, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะละเมิด: พร้อมด้วยภาคผนวกตารางความรับผิดต่าง ๆ ค่าสินไหมทดแทนและนิรโทษกรรม พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และหลักกฎหมายลักษณะละเมิดข้อสันนิษฐานความผิดทางกฎหมาย พร้อมด้วยภาคผนวก, พิมพ์ครั้งที่ 12 (แก้ไขเพิ่มเติม), กรุงเทพฯ: นิติบรรณการ, 2551.

13.มนัส แจ่มเวหา, การพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ (Legal development aboutliability for wrongful act of official law), กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการยุติธรรม ส?ำนักงานศาลยุติธรรม,2551.

14.มานิตย์ จุมปา, คำอธิบายกฎหมายปกครองว่าด้วยการกระทำทางปกครองและการควบคุมการกระทำทางปกครอง,พิมพ์ครั้งที่ 2 (แก้ไขเพิ่มเติม), กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551.

15.มานิตย์ จุมปา, คู่มือศึกษาวิชากฎหมายปกครอง, กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด, 2546.

16.วรเจตน์ ภาคีรัตน์, กฎหมายปกครอง ภาคทั่วไป, กรุงเทพฯ: นิติราษฎร์, 2554.

17.วรเจตน์ ภาคีรัตน์, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายปกครอง: หลักการพื้นฐานของกฎหมายปกครองและการกระทำทางปกครอง, พิมพ์ครั้งที่ 3 (แก้ไขเพิ่มเติม), กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2549.

18.วิชญ์ชัย ธรรมประดิษฐ์, สาระน่ารู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539,กรุงเทพฯ: สวัสดิการสำนักงานศาลปกครอง, 2544.

19.ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธ์, คำอธิบายกฎหมายลักษณะละเมิด จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ (มูลหนี้ 2)พร้อมคำอธิบายในส่วนของพระราชบัญญัติว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 และกฎหมายใหม่ที่เกี่ยวข้อง, พิมพ์ครั้งที่ 2 (แก้ไขเพิ่มเติม), กรุงเทพฯ:วิญญูชน, 2552.

20.ศักดิ์ สนองชาติ, คำอธิบายโดยย่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยละเมิดและความรับผิดทางละเมิดตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539, พิมพ์ครั้งที่ 4 (แก้ไขเพิ่มเติม),กรุงเทพฯ: นิติบรรณาการ, 2540.

21.สถิตย์ เล็งไธสง, ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ (พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539), กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2540.

22.สมยศ เชื้อไทย, ความรู้กฎหมายทั่วไป คำอธิบาย วิชากฎหมายแพ่ง : หลักทั่วไป, พิมพ์ครั้งที่ 16 (แก้ไขเพิ่มเติม),กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2553.

23.สำนักงานศาลปกครอง, กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น,กรุงเทพฯ: ร้านสวัสดิการสำนักงานศาลปกครอง, 2547.

24.สุมาลี วงษ์วิฑิต, กฎหมายว่าด้วยละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้ (Law of tort, management ofaffairs without mandate undue enrichment), พิมพ์ครั้งที่ 5, กรุงเทพฯ: ภาควิชากฎหมายแพ่งคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2548

25.สุษม ศุภนิตย์, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยลักษณะละเมิด, พิมพ์ครั้งที่ 3 (แก้ไขเพิ่มเติม),กรุงเทพฯ: นิติบรรณการ, 2543.

26.อนุชา ฮุนสวัสดิกุล, แนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่: ปัญหาในทางปฏิบัติและหลักปฏิบัติราชการจากคำวินิจฉัยของศาลปกครอง, นนทบุรี: วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่นสถาบันพระปกเกล้า.

27.อำพน เจริญชีวินทร์, หลักกฎหมายละเมิดทางปกครอง : ละเมิดทางปกครอง การกระทำละเมิดทางปกครองของเจ้าหน้าที่ของรัฐ การกระทำละเมิดทางปกครองของหน่วยงานทางปกครอง ความรับผิด กำหนดเวลาฟ้องคดี, พิมพ์ครั้งที่ 2 (แก้ไขเพิ่มเติม-ปรับปรุงใหม่), กรุงเทพฯ: นิติธรรม, 2549.

28.กมลชัย รัตนสกาววงศ์, ”สรุปคำบรรยายพิเศษ เรื่อง พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539”,เอกสารคำบรรยาย, วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ 2540, นนทบุรี: สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงานข้าราชการพลเรือน, 2540.

29.โกมล จิรชัยสุทธิกุล, ”ปัญหาการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ในการทุจริตต่อหน้าที่”, เอกสารสำนักกฎหมายปกครอง,สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, 2553.

30.ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์, “บันทึก เรื่อง ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ (เอกสารประกอบการพิจารณาคำร้องทุกข์ของนายวิชัย วิทยากูล)”, วารสารกฎหมายปกครอง, เล่ม 5, พ.ศ. 2529.

31.ฐิติพร ลิ้มแหลมทอง, ”การแบ่งแยกความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่จากการปฏิบัติหน้าที่และมิใช่การปฏิบัติหน้าที่”, ดุลพาห, เล่ม 2, ปีที่ 52 พฤษภาคม-สิงหาคม 2548.

32.ตรีเพชร์ จิตรมหึมา, ”หลักเกณฑ์การวินิจฉัยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539„, วารสารนิติพัฒน์นิด้า, ปีที่ 1, ฉบับปฐมฤกษ์, มิถุนายน, 2555, กรุงเทพฯ:คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2555.

33.พัชฌา จิตรมหึมา, ”ทิศทางแห่งการพัฒนากฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่„, เอกสารสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, เผยแพร่ในเว็บไซต์ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, 2558.

34.วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, ”กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่„, วารสารนิติศาสตร์, ปีที่ 28, ฉบับที่ 2,มิถุนายน 2541.

35.ฤทัย หงส์สิริ, ”ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539„,วารสารการพาณิชยนาวี, ปีที่ 19, ฉบับที่ 2, สิงหาคม 2543.

36.Edward Arkwright, Franck Baron, Jean-Luc Boeuf, et al., Les institutions de la France, Paris:la Documentation française, Dalloz, Coll. « Découverte de la vie publique », 2004.

37.Georges Dupuis, Marie-José Guédon et Patrice Chrétien, Droit administratif, 7e édition, Paris:Armand Colin, Coll. « U. Droit », 2007.

38.Jean-Claude Ricci, Droit administratif, 6e édition, Paris : Hachette supérieur, DL., Coll. « LesFondamentaux. Droit-Sciences politiques », 2008.

39.Jean-François Lachaume, Droit administratif, 13e édition, Paris : Presses Universitaires de France,Coll. « Thémis. Les Grandes décisions de la jurisprudence », 2002.

40.Jean Rivero et Jean Waline, Droit administratif, 18e édition, Paris : Dalloz, Coll. « Précis Dalloz.Droit public-Science politique », 2000.

41.Joël Mekhantar, Droit politique et constitutionnel, 2e édition, Paris : Éditions ESKA, Coll. « Droitpublic et sciences politiques », 1998.

42.John G. Fleming, The law of torts, 6th edition, Sydney:

43.Pierre-Laurent Frier et Jacques Petit, Droit administratif, 10e édition, Issy-les-Moulineaux : Lextensoédition, Coll. « Domat droit public », 2015.

44.Pierre Lerat, Vocabulaire du juriste débutant : décrypter le langage juridique, Paris : Ellipses, 2007.

45.Pierre Serrand, Droit administratif, Tome I, Les actions administratives, Paris : Presses universitairesde France, Coll. « Droit administratif », 2015.

46.The Law Book, 1983. Marcel Sousse, Droit public des contrats de construction, Paris : Librairiegénérale de droit et de jurisprudence, Coll. « Systèmes », 1998.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-29