คุณภาพชีวิตเกษตรกรปลูกยางพาราในรอบทศวรรษ (พ.ศ. 2551 - 2561)

ผู้แต่ง

  • จิฑาภรณ์ ยกอิ่น พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต อาจารย์พยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
  • สุธาสินี เจียประเสริฐ
  • วัลลภา ดิษสระ
  • บุญประจักษ์ จันทร์วิน
  • สิงห์ กาญจนอารี

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, เกษตรกร, ยางพารา

บทคัดย่อ

คุณภาพชีวิตเป็นคำที่นักวิชาการสาขาต่างๆ กล่าวถึงกันอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากคุณภาพชีวิตเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิต อีกทั้งยังเป็นเป้าหมายหลักในการพัฒนาประชากร โดยมีความเชื่อที่ว่าคนที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีนั้น การพัฒนาในด้านต่างๆ ก็จะทำได้ดีด้วย บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายวิถีชีวิตเกษตรกรปลูกยางพาราไทย คุณภาพชีวิต การประเมินคุณภาพชีวิต รวมถึงสาระจากการการศึกษาวิจัยคุณภาพชีวิตเกษตรกรปลูกยางพาราในรอบทศวรรษที่ผ่านมา (พ.ศ. 2551 - 2561) เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนให้การดูแลเกษตรกรปลูกยางพาราเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีและการมีสุขภาวะที่ดีต่อไป

References

กุสุมา โกศล. (2556). คุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยางในยุคเศรษฐกิจถดถอย : ศึกษากรณีจังหวัดสุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 6(1), 63-72.
จิฑาภรณ์ ยกอิ่น. (2561). คุณภาพชีวิตเกษตรกรปลูกยางพาราในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 34(1), 130-140.
ชุติมา รักษ์บางแหลม และคณะ. (2551). วิถีชีวิตและสุขภาพของคนกรีดยางในบริบทภาคใต้. สงขลา: เทมการพิมพ์.
นุจรี ประทีปะวณิช จอห์นส. (บรรณาธิการ). (2552). คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ : การประเมินและการนำไปใช้. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ภัทรพร สุทธสนธิ์. (2552). สภาพแวดล้อมในการทำงานและสภาวะสุขภาพของเกษตรกรทำสวนยางพารา ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการสุขภาพภาคประชาชน ภาคอีสาน, 23(7), 1-8.
วัลลภา ช่างเจรจา. (2555). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการวิเคราะห์กลวิธีพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวสวนยางพาราแถบลุ่มน้ำโขง จังหวัดบึงกาฬ. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 30(2), 166-174.
สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2556). การจัดการสวนยางอย่างยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุดาพร วงษ์พล. (2555). การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากกิจกรรมการทำสวนยางพาราของเกษตรกรสวนยางพารา อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(1), 13-20.
WHOQOL Group. (1995). The World Health Organization quality of life assessment (WHOQOL): Position paper from The World Health Organization. Social Science & Medicine, 41(10), 1403-1409.
________. (1996). WHOQOL-BREF introduction, administration, scoring and genetic version of the assessment. Field trial version, Geneva: WHO.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-29