ศึกษาวิเคราะห์คุณค่าของสังเวชนียสถาน ๔ ตำบลที่มีต่อผู้จาริกแสวงบุญในพระพุทธศาสนา
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง ศึกษาวิเคราะห์คุณค่าของสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ที่มีต่อผู้จาริกแสวงบุญในพระพุทธศาสนาเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ ๑)เพื่อศึกษาสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ๒) เพื่อศึกษาการจาริกแสวงบุญในพระพุทธศาสนาและ ๓)เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของสังเวชนียสถาน๔ตำบลที่มีต่อผู้จาริกแสวงบุญในพระพุทธศาสนา
ผลการวิจัยพบว่า
๑. สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิในพระพุทธศาสนามีความเกี่ยวเนื่องด้วยพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นสถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพานทรงกำหนดไว้ให้เป็นศูนย์รวมชาวพุทธควรตามไปสังเวชนียสถานทั้ง ๔ ผู้เดินทางจาริกแสวงบุญ ตายไปจะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
๒. การจาริกแสวงบุญเริ่มต้นมาจากความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนานั้นมีปรากฏมาตั้งแต่ก่อนพุทธปรินิพพานต่อมาสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชได้เสด็จธรรมยาตราด้วยความศรัทธาเพื่อสืบค้นพุทธสถานทั้ง ๔ นำโดยพระโมคัลลีบุตรติสสะเถระ(พระอุปคุต)ยุคพระถังซัมจั๋งก็ตั้งศรัทธามั่นไม่หวั่นไหว เดินทางมาอินเดียเพื่อศึกษาพระศาสนา และคัดลอกคัมภีร์พระไตรปิฎก เพื่อนำกลับประเทศจีน
๓. คุณค่า ๔ ประเด็น ๑) คุณค่าด้านธรรมสังเวช พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาความไม่เที่ยงของสังขารด้วยบท อิทัปปจยตา ปฏิจจสมุปบาท และทรงพิจารณาการเกิด-ดับของสังขาร ๒)คุณค่าด้านการเสริมสร้างความศรัทธาในพระรัตนตรัยชาวพุทธควรมีศรัทธามั่นไม่หวั่นไหวในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และศรัทธา ๔ เชื่อกรรม เชื่อวิบาก เชื่อผลของกรรมเชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ๓) คุณค่าด้านเสริมสร้างคุณธรรมกับการปฏิบัติหน้าที่ของชาวพุทธ คือบุคคลผู้มีศีลย่อมแสดงออกทางกาย วาจา ใจ ด้วยการซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรมช่วยเหลือผู้อื่น ๔) คุณค่าของการเสริมสร้างการอนุรักษ์สัญลักษณ์หลากฐานทางพระพุทธศาสนาชาวพุทธทุกคนควรตระหนักว่าตนมีหน้าที่ปกป้องพระศาสนา
References
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). จนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ ๓๔
กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิเพื่อสันติภาพ, ๒๕๕๙.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), จำริกบุญ–จารึกธรรม. จังหวัดนครปฐม : มูลนิธิวัดญาณเวศกวัน.
๒๕๓๙.
พระศักรินทร ธมฺมาลโย (เจริญครบุรี). ผลงานวิจัยเรื่อง ศึกษาเปรียบเทียบ การจาริกแสวงบุญ : การ
นมัสการสังเวชนียสถาน ๔ ตําบล และ การประกอบพิธีฮัจญ. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชา
ศาสนาเปรียบเทียบ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๖.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความวิชาการและบทความวิจัยในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศาส์น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์