การใช้นิทานชาดกเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนวัดสุขกร อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • พิสาขา อ้วนสะอาด นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา
  • ดร.บุญร่วม คำเมืองแสน อาจารย์ประจำหลักสูตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

นิทานชาดก, เสริมสร้างคุณธรรม, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพการเรียนการสอนนิทานชาดก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดสุขกร จังหวัดสมุทรปราการ ๒) เพื่อวิเคราะห์ผลการนำคุณธรรม ที่ได้จากการเรียนรู้ เรื่องนิทานชาดกไประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดสุขกร จังหวัดสมุทรปราการ และ ๓) เพื่อวิเคราะห์ผลลัพธ์ของการมีหรือไม่มีคุณธรรมด้วยการนำใช้ให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง กับนิทานชาดกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนวัดสุขกร จังหวัดสมุทรปราการ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสังเกตและการสัมภาษณ์เชิงลึก

ผลการศึกษาพบว่า

๑. การจัดการศึกษาเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ มุ่งปลูกฝังและสร้างลักษณะที่พึงประสงค์ให้กับผู้เรียน เน้นความรู้ คุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม โดยใช้กระบวนการ เชื่อมโยงความรู้ ที่เกิดจากตนเอง รู้จักคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาจากประสบการณ์จริง ที่ได้จากการปฏิบัติ จนเกิดทักษะและนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ในการอยู่ร่วมกับบุคคลในสังคมได้อย่างมีความสุข 

๒. ผลการนำคุณธรรมที่ได้จากการเรียนรู้นิทานชาดกเรื่อง ตติรชาดก อัมพชาดก มิตตวินทุชาดก ที่สอนคุณธรรมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และเข้าใจในการแสดงความเคารพ กราบไหว้ การรู้จักบุญคุณ เชื่อฟังบิดา มารดาและญาติผู้ใหญ่ และการเรียนรู้จากนิทานชาดก เรื่อง ราโชวาทชาดก นันทิวิสาลชาดก สุวัณหังชาดก ได้ให้คำสอนคุณธรรม ในเรื่องความประพฤติปฏิบัติตนทั้งทางกาย วาจา ใจ ความไม่โลภ ซึ่งนำไปสู่แบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตในสังคม

๓. จากการวิเคราะห์การนำนิทานชาดกทั้ง ๖ เรื่อง มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน พบว่า ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และเกิดความตระหนักถึงความสำคัญจากการนำคุณธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างรู้คุณค่า โดยมีความกตัญญูรู้คุณ เคารพเชื่อฟัง บิดา มารดา ญาติผู้ใหญ่ รู้จักการใช้วาจา ที่เหมาะสม รู้จักกาลเทศะ ไม่มีความโลภ เบียดเบียนผู้อื่น อันเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับบุคคลอื่นได้

References

๑) หนังสือทั่วไป
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. รายงานประจำปี ๒๕๕๗.กรุงเทพมหานคร : บริษัท๒๑เซนจุรี
จำกัด, ๒๕๔๗.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.รายงานของคณะกรรมการปฏิรูปค่านิยม ศิลปะ วัฒนธรรม
จริยธรรมและการศาสนา วาระการพัฒนา : ระบบค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม เพื่อความ
เป็นพลเมืองดีและมนุษย์ที่สมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร, ๒๕๕๘.
๒) บทความจากวารสาร
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. “ภาพอนาคตและคุณลักษณะของเด็กไทยที่พึงประสงค์”วารสารการ
บริหารและพัฒนา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ๒๕๕๒.
๓) บทความจากเว็บไซต์ (Web Site)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิกฤติการศึกษาไทยในปัจจุบัน . สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม
2561, จาก www.lasallechote.ac.th.
๔) วิทยานิพนธ์
พิเชษฐ ยังตรง. “กลยุทธ์การพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ใน
ศตวรรษที่ ๒๑”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธุรกิจ
บัณฑิตย์, ๒๕๖๐.
พระครูสมุห์ศรัณย์ ปญฺาวชิโร.“การส่งเสริมคุณธรรมนักเรียน ระดับประถมศึกษาโรงเรียนวัดเปา
โรหิตย์ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร”. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขา
บริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๖.
วีระพงศ์ ถิ่นแสนดี. การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โรงเรียนสิงห์สะอาด อำเภอสหัสขันธ์
จังหวัดกาฬสินธุ์.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, ๒๕๔๐.
สุรีย์พร แซ่เอี๊ยบ.“การศึกษาวิเคราะห์หลักธรรมจากนิทานชาดกที่ปรากฏในภาพจิตรกรรมพระ
วิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวราราม” วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
พระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๔.
อนุชิต จิตนุกูล. “วิเคราะห์คุณธรรมจากนิทานชาดก ฉบับกรมวิชาการ”, วิทยานิพนธ์ภาษาศาสตร
มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยทักษิณ, ๒๕๕๐.
๕) เอกสารอื่น ๆ ที่ไม่ได้ตีพิมพ์
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ หน้า ๑ - ๒๓ เล่ม๑๑๖ ตอนที่ ๗๔ ก ราชกิจจานุเบกษา
๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๒.
ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) กระทรวงวัฒนธรรม. เอกสารประกอบการประชุมงานสมัชชา
คุณธรรมภาคเหนือ “รวมพลังประชารัฐขับเคลื่อนสังคมคุณธรรม : พอเพียงวินัยสุจริตจิต
อาสา” วันที่ ๒๒-๒๓ มิถุนายน ๒๕๖. ณ ศาลาสภาบริหารคณะสงฆ์จังหวัดพิจิตร วัดท่าหลวง
พระอารามหลวง จังหวัดพิจิตร, ๒๕๖๐.
เอแบคโพล : เอแบคโพลล์ : เสียงสะท้อนของเด็กและเยาวชนต่อผู้ใหญ่ในสังคม เนื่องในวันเยาวชน
แห่งชาติ : กรณีศึกษาต้วอย่างผู้นำเด็กและเยาวชนจาก ๗๗ จังหวัดทั่วประเทศ
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ. ๒๕๕๘.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-29