บรรยากาศองค์กรที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • นางสาวสรณ์สิริ วสุพรวณิชย์ นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
  • ดร.ดำรงค์ เบญจคีรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

บรรยากาศองค์กรของการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย, การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบรรยากาศองค์กรของการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดนนทบุรี 2) เพื่อศึกษาการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดนนทบุรี และ 3) เพื่อศึกษาบรรยากาศองค์กรที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดนนทบุรี รวมทั้งหมด 368 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับบรรยากาศองค์กรของการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดนนทบุรี และการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดนนทบุรี สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป

ผลการวิจัยพบว่า

1. บรรยากาศองค์กรของการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดนนทบุรี มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านการมีขวัญสูง ด้านการไว้วางใจ ด้านการผนึกกำลัง ด้านการมีโอกาสในการทำงาน ด้านการยอมรับนับถือ ด้านความเอื้ออาทรต่อกัน ด้านความเติบโตทางวิชาการและสังคมอย่างต่อเนื่อง และด้านการปรับปรุงสถานศึกษา ตามลำดับ

2.การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดนนทบุรี มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านการประเมินถึงประสิทธิภาพ ด้านการวางจุดมุ่งหมายและกำหนดวัตถุประสงค์ ด้านการเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด ด้านการตัดสินใจปฏิบัติ ด้านการประเมินทางเลือก ด้านการรวบรวมข้อมูลข่าวสาร ด้านการทำความเข้าใจปัญหา และด้านการสร้างทางเลือก ตามลำดับ

3.บรรยากาศองค์กรส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดนนทบุรี เรียงตามลำดับความสำคัญ คือ ด้านความเอื้ออาทรต่อกัน ด้านการผนึกกำลัง ด้านการยอมรับนับถือ ด้านการมีโอกาสในการทำงาน ด้านความเติบโตทางวิชาการและสังคมอย่างต่อเนื่อง และด้านการปรับปรุงสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์ การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 67.90 (R2 = 0.679) โดยเขียนเป็นสมการวิเคราะห์การถดถอยได้ ดังนี้ 

สมการคะแนนดิบ  = 0.897 + 0.261 (ด้านความเอื้ออาทรต่อกัน) + 0.159 (ด้านการผนึกกำลัง) + 0.128 (ด้านการยอมรับนับถือ) + 0.088 (ด้านการมีโอกาสในการทำงาน) + 0.086 (ด้านความเติบโตทางวิชาการและสังคมอย่างต่อเนื่อง) + 0.076 (ด้านการปรับปรุงสถานศึกษา)

สมการคะแนนมาตรฐาน = 0.344 (ด้านความเอื้ออาทรต่อกัน) + 0.225 (ด้านการผนึกกำลัง) + 0.166 (ด้านการยอมรับนับถือ) + 0.107 (ด้านการมีโอกาสในการทำงาน) + 0.109 (ด้านความเติบโตทางวิชาการและสังคมอย่างต่อเนื่อง) + 0.102 (ด้านการปรับปรุงสถานศึกษา

References

1. ภาษาไทย
1) หนังสือทั่วไป
อุบล เลี้ยววาริณ. (2556). เอกสารคำสอนชุดวิชาพื้นฐานทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา, 2552, หน้าคำนำ) และในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561).
จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2555). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: วี. พริ้นท์ (1991).
ขวัญสุมน สีเหลือง. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาในหลักสูตรภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของนักศึกษาสาธารณรัฐประชาชนจีนระดับปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุทธานุช เจนโชติสุวรรณ. (2555). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร อ.เมือง จ.นครปฐม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรหาบัณฑิต. สาขาวิชาการประกอบการ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดนนทบุรี, 2559, หน้า 25).
สำนักงาน เลขาธิการสภาการศึกษา, 2559, หน้า 12-13).
วิเชียร วิทยอุดม**, พฤติกรรมองค์การ, กรุงเทพฯ : ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์. 2547, หน้า 294-297.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2554). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญ บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
เฉลิมศรี อรรจนกุล. (2558). การวิจัยนิเทศศาสตร์. สงขลา : คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ สงขลา.
2) วารสาร
ฟอกซ์และคณะ (Fox and others, 1973, pp. 7-9).
สุวกจิ ศรีปัดถา. (2555). “ภาวะผู้นำกับการตัดสินใจ The Leadership and the Decision Making”. วารสารรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์. 1(1), 1-23.
3) วิทยานิพนธ์ / สารนิพนธ์ / รายงานการวิจัย
กนิษฐา เปรมปรีชาญาณ. (2554). บรรยากาศองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อรวรรณ เข็มสม. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-29