การศึกษาเชิงวิเคราะห์การพัฒนาพรรคการเมืองไทยตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
คำสำคัญ:
การเมือง, พรรคการเมือง, ระบอบประชาธิปไตยบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้นี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้1) เพื่อศึกษาการพัฒนาพรรคการเมืองไทย 2) เพื่อศึกษาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การพัฒนาพรรคการเมืองไทยตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพวิเคราะห์เอกสารและวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า1.ศึกษาพรรคการเมืองไทย พบว่า พรรคการเมืองไทยเกิดขึ้นมาภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อ พุทธศักราช 2475 และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน พรรคการเมืองไทยคือกลุ่มคนที่มีแนวคิดและอุดมการณ์เดียวกันมุ่งหวังที่จะจัดตั้งรัฐบาล2. ศึกษาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย พบว่าระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยคือการที่ถือเสียงประชาชนส่วนใหญ่เป็นสำคัญในการตัดสินใจที่จะเลือกผู้แทนโดยการผ่านสมาชิกของพรรคการเมืองเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้งนำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาล 3. ศึกษาวิเคราะห์การพัฒนาพรรคการเมืองไทยตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย พบว่า พรรคการเมืองไทยเป็นพรรคการเมืองที่สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยแบบสากล และทางด้านการส่งผู้รับสมัครลงเลือกตั้งของไทยและอเมริกามีความสอดคล้องกันคือการส่งผู้รับสมัครลงเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งเป็นระยะเวลานาน ส่วนทางด้านพรรคการเมืองของอังกฤษการส่งผู้รับสมัครลงเลือกตั้งใช้ระยะเวลากระชั้นชิด และระบบพรรคการเมืองของสหรัฐอเมริกาและของอังกฤษจัดอยู่ในระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรค ส่วนของพรรคการเมืองไทยมีแนวโน้มเป็นระบบสองพรรค การพัฒนาพรรคการเมืองไทยตามระบอบประชาธิปไตย พรรคการเมืองไทย ได้นำวิธีการในแบบสหรัฐอเมริกาและแบบอังกฤษมาปรับประยุกต์ใช้ คือ ให้ระยะเวลาในการส่งผู้สมัครเลือกตั้งหาเสียงเป็นเวลานานเช่นสหรัฐอเมริกา และใช้ระบอบการปกครองประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเช่นเดียวกับอังกฤษ
References
สุภางค์ จันทวานิช. (2542).วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่16. กรุงเทพมหานคร: บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์.
บรรหาร ศิลปะอาชา. (2538).การพัฒนาพรรคการเมืองไทยศึกษาเฉพาะกรณี เงินอุดหนุนพรรคการเมือง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความวิชาการและบทความวิจัยในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศาส์น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์