การเสริมสร้างรูปแบบการเรียนรู้ด้วยกระบวนการธรรมสากัจฉาของนักศึกษา สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • ดร.สุมานพ ศิวารัตน์ อาจารย์ประจำหลักสูตร สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา มหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย
  • ดร.สุภาพรรณ กลิ่นนาค
  • ดร.กิตติวัจน์ ไชยสุข

คำสำคัญ:

การเสริมสร้าง/การเรียนรู้/ปรโตโฆสะกัลยาณมิตร/ธรรมสากัจฉา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ๒) เพื่อศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการเรียนรู้ปรโตโฆสะด้วยหลักกัลยาณมิตร และการเรียนรู้ด้วยกระบวนการธรรมสากัจฉา   ๓) เพื่อนำเสนอรูปแบบการเรียนรู้ด้วยกระบวนการธรรมสากัจฉาของนักศึกษา สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษาบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย   

ประชากรที่ศึกษาคือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทั้งระดับปริญญาโทและปริญญาเอก อาจารย์ผู้สอน ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญด้านองค์ความรู้ทางด้านพระไตรปิฎก โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยไม่อาศัยความน่าจะเป็น (nonprobability) และเป็นการเลือกแบบเจาะจงจำนวน ๕๐ รูป/คน ประกอบด้วยผู้ทรงวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ๕ รูป/คนคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ๕ รูป/คนอาจารย์ผู้สอน ๑๐รูป/คนนักศึกษาปริญญาเอก ๑๕ รูป/คนนักศึกษาปริญญาโท ๑๕ รูป/คน

ผลการวิจัยพบว่า 

๑.รูปแบบการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยพบว่า โดยการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ศึกษาและค้นคว้าและทำงานร่วมกัน มีการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้เรียนด้วยกันและผู้เรียนกับอาจารย์เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน ให้ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์ ตัดสิน และแก้ปัญหาอย่างมีระบบโดยการกระตุ้นการคิด การวิเคราะห์และการแก้ปัญหา ด้วยกระบวนการกัลยาณมิตรและการเรียนรู้ด้วยกระบวนการธรรมสากัจฉา ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในด้านพระพุทธศาสนาและปรัชญามีวิสัยทัศน์สามารถนำหลักธรรมมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับชีวิตในสถาพสังคมปัจจุบันผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษา

๒. รูปแบบการเรียนรู้ปรโตโฆสะด้วยหลักกัลยาณมิตรและการเรียนรู้ด้วย ซึ่งถือว่าเป็นการบูรณาการเรียนรู้กระบวนการธรรมสากัจฉาเพื่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิหรือปัญญา ดังนั้นปัญญาจะเกิดเมื่อนำปัจจัยภายนอกเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดศรัทธาขึ้นเป็นสิ่งแรกของปัจจัยภายในและปัจจัยภายในคือโยนิโสมนสิกาเกิดขึ้นและผ่านการนำไปปฏิบัติให้มากขึ้นจะส่งให้เกิดปัญญาในที่สุด จึงสามารถสรุปลำดับกระบวนธรรมของปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในที่ทำให้เกิดปัญญา

๓.รูปแบบการเรียนรู้ด้วยกระบวนการธรรมสากัจฉาเมื่อพิจารณาปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในที่ทำให้เกิดสัมมาทิฏฐิทำให้ทราบถึงหลักการและเป้าหมาย กล่าวคือ ปัจจัยภายนอกหรือ ปรโตโฆสะ ได้แก่กัลยาณมิตร (การคบคนดี) การเสวนาธรรม และการฟังธรรม ถือเป็นปัจจัยเบื้องต้นที่มีความสำคัญต่อการศึกษาของบุคคล  

ส่วนปัจจัยภายในได้แก่ศรัทธาและโยนิโสมนสิการ มีความสำคัญต่อการศึกษา เมื่อบุคคลได้รับการพัฒนาทั้งปรโตโฆสะและโยนิโสมนสิการตามหลักปัญญาวุฒิธรรมแล้วการกระทำนั้นจะสำเร็จต้องมีกัลยาณมิตรร่วมด้วยในผลสำเร็จนั้น กระบวนการธรรมสากัจฉาโดยการนำหลักสัมปชัญญะ สัปปายะ และสัมมัปปธานที่เข้ามาบูรณากับหลักปัญญาวุฒิธรรมแล้วย่อมได้ปัญญาที่เป็นสัมมาทิฏฐิในกระบวนการศึกษาแบบธรรมสากัจฉา

References

กรมการศาสนา. พระไตรปิฎกฉบับหลวง. เล่มที่ ๑๑, ๑๓, ๑๕, ๒๑, ๒๒, ๒๓, ๒๕. กรุงเทพมหานคร
: โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๓๐.
คัมภีร์มิลินทปัญหาอรรถกถาภาษาไทย. พระติปิฏกจูฬาภยเถระ รจนา, ฉบับ มจร, ๒๕๕๙.
ทิศนา แขมณี และคณะ. กระบวนการเรียนรู้ : ความหมายแนวทางการพัฒนาและปัญหาข้องใจ,
กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์พัฒนาคุณภาพวิชาการ, ๒๕๔๙.
ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี. โครงการธรรมศึกษาวิจัย. พุทธวิธีในการสอน : ศึกษาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก
อรรถถา ฎีกาตลอดจนคัมภีร์ทางพระพุทศาสนา. มูลนิธีเบญจนิกาย, ๒๕๕๐.
ดุษฎี ลีตลวรางค์. “การศึกษาในสังคมพระพุทธศาสนาตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎก”,
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. คณะครุศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๗.
ดิเรก ฤกษ์หร่าย. “การประยุกต์ใช้แนวทางพระพุทธศาสนาในการพัฒนาคุณภาพชีวิต”. วารสาร
เกษตรศาสตร์ (สังคม), ๒๕๓๐ หน้า.๑๔๓-๑๕๔.
พระมหาวิสิษฐ์ ปญฺาวฑฺฒโน (กฤษวี), การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องอุปมากถาในมิลินทปัญหา.
บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๕.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-29