พระพุทธศาสนาเพื่อสังคม : กรณีศึกษาวัดพระธรรมกาย กับโครงการช่วยเหลือชาวพุทธใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

ผู้แต่ง

  • นิสิตปริญญาโทจรรยา โฉมศิวะพันธ์
  • รศ.ดร.ประเวศ อินทองปาน
  • ผศ.ดร. ธวัชชัย ทะราศรี ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

พระพุทธศาสนาเพื่อสังคม, วัดพระธรรมกาย, 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดพระพุทธศาสนาเพื่อสังคม 2) เพื่อศึกษาแนวคิดโครงการช่วยเหลือชาวพุทธใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของวัดพระธรรมกาย 3) เพื่อวิเคราะห์แสดงให้เห็นความสอดคล้องกันของแนวคิดพระพุทธศาสนาเพื่อสังคมกับแนวคิดโครงการช่วยเหลือชาวพุทธใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของวัดพระธรรมกาย วิธีดำเนินการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมุ่งที่จะศึกษาเรื่องพระพุทธศาสนาเพื่อสังคม: กรณีศึกษาวัดพระธรรมกายกับโครงการช่วยเหลือชาวพุทธใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเพื่อศึกษาวิธีการและกิจกรรมในการช่วยการเหลือชาวพุทธใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้ วิธีการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร โดยศึกษาจากหนังสือ รายงานข่าว วารสาร เอกสาร ต่าง ๆ รวมไปถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการศึกษาวิจัยภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูลกับกลุ่มประชากร 10 ท่าน

ผลการวิจัยพบว่า  1) แนวคิดพระพุทธศาสนาเพื่อสังคม มีมิติทางสังคมมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล จุดเริ่มต้นจากดำริของพระพุทธองค์ในการประกาศธรรมเพื่อเป็นประโยชน์แก่ชาวโลก แนวคิดพระพุทธศาสนาเพื่อสังคม คือ แนวคิดที่เห็นว่าพระพุทธศาสนากับสังคมต้องผูกพันเป็นอันหนึ่งเดียวกัน และการนำเอาพระพุทธศาสนาเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสังคมทั้งหลายในยุคปัจจุบัน และนำธรรมะในพระพุทธศาสนาไปใช้เป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เพื่อให้คนในสังคมมีแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องตามคำสอนในพระพุทธศาสนา  2) แนวคิดโครงการช่วยเหลือชาวพุทธใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของวัดพระธรรมกายเกิดขึ้นจากดำริของพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) ที่มีความห่วงใยพุทธบุตรภาคใต้ และชาวไทยพุทธที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบภาคใต้ จึงส่งความช่วยเหลือไปให้ ด้วยการจัดกิจกรรมถวายสังฆทาน มอบทุน จัดตักบาตร ฯลฯ จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน 15 ปี เป็นการสืบทอดและรักษาพระพุทธศาสนาให้อยู่ในภาคใต้สืบไป ด้วยวิถีทางแห่งสันติสุข 3) แนวคิดโครงการช่วยเหลือชาวพุทธใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีหลักแนวคิดสอดคล้องกับหลักธรรมเพื่อการสงเคราะห์สังคมในพระไตรปิฎก คือพรหมวิหาร 4, สังคหวัตถุ 4, ทิศ 6 และยังสอดคล้องกับแนวคิดพระพุทธศาสนาเพื่อสังคม เนื่องจากมีแนวคิดที่เอาพระพุทธศาสนาเข้าไปผูกพัน เข้าไปมีส่วนร่วม สงเคราะห์ช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาสังคม เริ่มจากความตระหนักรู้ ทำตนให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับโลก และลงมือกระทำ  เมื่อเห็นผู้อื่นมีความทุกข์ ก็ยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือทันที

References

เชษฐา พวงหัตถ์. (2548). โครงสร้าง-ผู้กระทำการ. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
ดวงพร สาระศาลิน. (2545). การศึกษาการบริหารจัดการองค์กรวัดพระธรรมกาย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์ (พัฒนาชนบทศึกษา), มหาวิทยาลัยมหิดล.
บายฮียะ เจ๊ะด๊ะ และชนิษฎา ชูสุ. (2558). เหตุการณ์ความไม่สงบ ที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ของเทศบาลตำบลตันหยง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
พระทรงเกียรติ ศรีจันทร์. (2552). การศึกษาวิถีชีวิตชาวพุทธในสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้: กรณีศึกษาชาวพุทธในอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาพุทธศาสนศึกษา, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พระธรรมโกศาจารย์. (2550). พระพุทธศาสนาแห่งความสมานฉันท์แห่งชาติ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร. ม.ป.ป. พระพุทธศาสนาเพื่อสังคม (Online).
https://www.gotoknow.org/posts/396077, 5 กุมภาพันธ์ 2562.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มูลนิธิธรรมกาย. (2541). เจาะลึกวัดพระธรรมกาย. กรุงเทพมหานคร: ฐานการพิมพ์.
___________. (2542). 29 ปี แห่งการสร้างคนดี วัดพระธรรมกาย. กรุงเทพมหานคร: ยงวราการพิมพ์จำกัด.
___________. (2551). 2 ปีแห่งการหยัดสู้ เคียงข้างพุทธบุตร 266 วัด 4 จังหวัดภาคใต้. ปทุมธานี: รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1997) จำกัด.
___________. (2551). วารสารกัลยาณมิตรฉบับ พระสังฆาธิการ ฉบับที่ 11. ปทุมธานี: พีวีพี ซัพพลายส์ จำกัด.
___________. (2553). รู้จักวัดพระธรรมกาย. ปทุมธานี: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์ จำกัด
___________. (2557). Sharing is Great 10 ปี 100 ครั้ง สังฆทาน 323 วัด 4 จังหวัดชาวแดนภาคใต้. ปทุมธานี: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน).
___________. (2561). 48 ปีวัดพระธรรมกาย : MISSIONS FOR PEACE (ปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ). กรุงเทพมหานคร: รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977) จำกัด.
สโรชา คุณาธิปพงษ์. (2553). การศึกษาวิเคราะห์พระพุทธศาสนาเพื่อสังคมที่ปรากฏในพระไตรปิฎก. สารนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุจิตรา พูนพิพัฒน์. (2539). บทบาทวัดพระธรรมกายในสังคมไทยปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์สังคม, มหาวิทยาลัยเกริก.

Bernard, Glassman. (1997). Engaged Buddhism in the West. Harward Divinity School licture (January 20, 1997) อ้างใน Christopher S. Quenn (ed.)
Bevir, Mark. (1996). The Individual and Society . Political Studies.
Jones, Ken. (2006). Buddhism and Social Action. (Kandy; Buddhist Publication Society, 1981) BPS Online Edition.
Keown, Damien. (2003). A Dictionary of Buddhism. New York : Oxford University Press.
Kratf, Kenneth (ed.). (1996). Engaged Buddhism In Engaged Buddhism Reader. Arnold Kotler (ed.) Berkeley, CA: Parallax Press
McMahan L David. (2012). Buddhism in the Modern World. London. Routledge.
Nhat Hanh, Thich. (1991). Peace Is Every Step. New York: Bantam.
Queen , Christopher S. (ed.). (2000). Engaged Buddhism in the West. Boston: Wisdom Publications.
Rahula, Walpola. (1974). The Heritage of the Bhikkhu: A Short History of the Bhikkhu in Educational. Cultural, Social and Political Life. New York: Grove Press.
Webber, Max. (1958). The Religion of India: The Sociology of Hinduism and Buddhism, (Glencoe, III. Free Press)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-29